สนใจกด LIKE และติดตามข่าวสารกับหัวข้ออื่นๆสำหรับธุรกิจSMEได้ที่www.facebook.com/ThailandOnlineFocusก่อนจะเขียน ยิงเป็นโดน ตอนที่ 6 ต่อไปนั้น ผมเหลือบไปเห็นผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่บอกว่าเอสเอ็มอีไทยมีเพียง 7% เศษๆเท่านั้นที่เตรียมตัวรับเออีซี ที่เหลืออีก 60% เศษๆ ไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ
อ่านข่าวนี้แล้ว พยากรณ์ไปได้เลยว่าถึงปี 2558 เมื่อไหร่ เอสเอ็มอีไทยวิกฤตแน่ๆ
เกิดเป็นเอสเอ็มอีจึงต้องเตรียมพร้อมรับวิกฤตอยู่ตลอดเวลา
ปรับตัวเก่งและต้องอดทน
จำได้ว่าหลายปีก่อน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในการปาฐกถาครั้งหนึ่งว่า ภาษาจีนคำว่า ?อดทน? เป็นอักษรภาพที่มีมีดเล่มเล็กปักไปในใจ ดังนั้นเมื่ออดทนก็ต้องเจ็บปวดเป็นธรรมดา
แต่โบราณว่าไว้เมื่อฟ้ายังไม่เปิด ทะเลยังไม่โอเพ่น ให้เล็งโอกาสไว้ ต่อเมื่อฟ้าเปิด ทะเลอ้า ให้พุ่งทะยานออกไปอย่ารอช้า
จงตระเตรียมในห้วงแห่งความยากลำบาก ต่อเมื่อโอกาสมาถึง จงทะลุทะลวงออกไปอย่าได้รอช้า
ดูเหมือนคำจีนโบราณที่เป็นหลักยึดของขุนคลังกำลังเหมาะสมต่อสถานกาณ์อย่างยิ่ง
ฟิลิป คอตเลอร์ อาจารย์ของ ดร.สมคิด เป็นกูรูการตลาดที่คิดเชิงบวก เพราะนักการตลาดย่อมต้องคิดสร้างสรรค์หากลยุทธ์และทิศทางใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่เขาก็พร่ำเตือนในหนังสือ ?คิดใหม่เพื่ออนาคต? ว่าจงเตรียมการณ์รับสิ่งที่ไม่คาดฝันตลอดเวลา
ดังนั้น หากไม่รู้ว่าจะเชื่อคอตเลอร์ตรงไหน ก็ขอให้เลือกเชื่อ Planning for Unexpected เอาไว้ก่อนค่อนข้างจะปลอดภัย
เพราะในยามนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้
จริงเรื่องเออีซี ก็ไม่ถึงทำให้เอสเอ็มอีมองไม่ออก แต่ผมจะไม่กล่าวถึงกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อสู้เออีซีตอนนี้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่มาก
สำหรับเอสเอ็มอีที่ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ที่จะรองรับเออีซี ตอบได้เลยว่าอยู่ยาก ยกเว้นจะเป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับเออีซีเลย
แต่ถึงจะไม่เกี่ยวทางตรง ก็น่าจะเกี่ยวทางอ้อม
อย่างไรก็ตามถึงเออีซีจะมาถึงในอีกสองปีข้างหน้า
ถึงแม้ว่าเอสเอ็มอีจะไม่มีแผนการรับมือ จนอาจนำไปสู่วิกฤต
ก็จงอย่า Overreact?
มองสถานการณ์อย่างที่มันเป็นจริง?
ไม่ใช่อย่างที่สื่อกระพือฮือโหม?
มิเช่นนั้นอาจตกขบวนรถไฟได้?
จงแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส ดังเช่น เครือซีพี ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้อย่างยิ่ง
ครั้งที่นักศึกษาจีนเดินขบวนประท้วงรัฐบาลที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรง
บรรดานักลงทุนต่างประเทศและเหล่าบรรษัทข้ามชาติ ตบเท้ากลับประเทศตนเอง แต่เครือซีพียังยืนหยัดและทุ่มงบลงทุนในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง
มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน
เมื่อวิกฤตการณ์สงบ ซีพีกลายเป็นกลุ่มทุนต่างชาติอันดับหนึ่งในประเทศจีน
จะเอาอะไรในแผ่นดินมังกร ไม่มีใครขัด
อย่างไรก็ตาม ในยามศึกสงครามย่อมไม่มีใครคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ
เออีซีก็เสมือนเป็นสมรภูมิใหม่ ที่ใหญ่กว่าเดิม
ดร.สมคิด ได้กล่าวถึงผลกระทบของเออีซีว่า
สำหรับบริษัทเอกชนนั้นจะมีผลกระทบในสองมิติ
หนึ่ง-ขอบเขตของโอกาส เพราะไม่ได้มีแค่สิบประเทศอาเซี่ยนเท่านั้นแต่จะบวกประเทศอื่นๆเข้ามาด้วย(คือจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ซึ่งก็หมายความว่าสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน(Competitive Environment) เปลี่ยนแปลงไป รวมตัวเป็น AEC มีประเทศใหญ่อื่นๆมาแจมด้วยตามกำหนดการที่วางไว้
เอสเอ็มอีจักต้องประเมินสมรภูมิการแข่งขันในการทำธุรกิจเสียใหม่
ซึ่งตรงนี้ อ.สมคิด ได้กล่าวไว้ว่าเป็นประการที่สอง ก็คือ Business Approach หรือวิถีทางในการทำธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะการทำธุรกิจในระดับ AEC ต้องตอบโจทย์ 4 ด้าน
....ลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นใคร
....คู่แข่งที่เพิ่มขึ้นมาจากประเทศไหน
....กฎระเบียบในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร
...ต้นทุนที่ต้องเพิ่มขึ้นนั้นอยู่ในระดับใดและมาจากรายการใดบ้าง
ซึ่งท่านผู้อ่านโปรดติดตามเรื่อง AEC กับเอสเอ็มอีต่อไป
ผมจะนำเสนอเป็นระยะๆ
มันส์อย่างมีสาระแน่นอนครับท่าน.....