ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เจี๊ยบ เรียบด่วน

หน้า: [1]
1


     หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่หลายๆคนเห็นอยู่ทั่วๆไปนั้น แท้จริงแล้วตัวเจ้าของทรัพย์นสินทางปัญญานั้น สามารถนำออกมาประเมินมูลค่าเพื่อที่จะทราบมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองได้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้สรุปวิธีการประเมินค่าไว้ดังนี้

 

1. การประเมินมูลค่าจากต้นทุน (Cost approach)

     การประเมินมูลค่าจากต้นทุนของทรัพยสินทางปัญญา เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค่าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค่าแรง ค่าบุคลากร ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า/บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย

 

     เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้ การประเมินมูลค่าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค้าที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง

 

2. การประเมินมูลค่าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach) 

     การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช้าในตลาด วิธีการดังกล่าวค้อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาค่อนข้างเป็นความลับ

 

     ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค่า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

 
AP101
 
 

3. การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีรายได้ (Income approach)

     การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช่ในการประเมินมูลค่าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าวอาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต

 

     อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค่าจากรายได้คือ ความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว่งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้น การประเมินมูลค่าจากรายได้จึงจำเป็นต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value)

 

     ดังนั้นจากข้อกำหนดดังกล่าว ทาง บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (www.area.co.th) มีบริการประเมินค่าทรัพย์สินที่ครบวงจร สามารถที่จะทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญหาให้กับท่านได้ หรือแม้แต่ทรัพย์สินอื่นๆก็สามารถที่จะประเมินค่าได้เช่นกัน

 

AREA

 

สนใจติดต่อและสอบถามรายละเอียดบริการได้ที่

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

ID: @areavaluation หรือคลิก https://lin.ee/eGUPGtv

Email: Lek2@area.co.th

Web: www.area.co.th

 
ขอขอบคุณที่มา:  AREA แถลง ฉบับที่ 483/2565: วันพฤหัสบดีที่ 07 กรกฎาคม 2565


[Tag] : ประเมินค่าทรัพย์สิน , นักประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ , ประเมินค่าทรัพย์สินมืออาชีพ , ประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา

2
ขอประกาศข่าวดี‼️ เพื่อเชิญท่านเจ้าของโครงการร่วมส่งโครงการของท่านเข้าประกวดในรางวัล #อสังหาฯดีเด่น ประจำปี 2022 ในงาน
FIABCI-THAI PRIX D’EXCELLENCE AWARDS 2022
.
เพื่อรางวัลแห่งเกียรติยศแด่โครงการและองค์กรของท่าน และมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวินาทีประวัติศาสตร์พร้อมๆกัน
.
หมดเขตรับสมัคร วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565
รับรางวัล : วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565
ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ
.
 สามารถเข้าดูรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
Link: https://bit.ly/3E859xw

3

 

หลายครั้งที่การนำทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของตนเองออกมาขาย เช่น บ้าน, ที่ดิน, คอนโด, อาคารต่างๆ เป็นต้น แต่หลายคนเคยตั้งคำถามไหมว่า นานแล้วนะทำไมยังขายไม่ได้สักที แน่นอนว่าการตั้งราคาก็มีส่วน เพราะบางคนก็ลดเร็วก็มี บางคนก็อาจจะตั้งราคาสูงจนเกินไป วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงขอนำเคล็ดลับหรือเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน รวมถึงวิธีการตั้งราคาที่ยุติธรรมและเจ้าของก็ยังคงได้กำไรอยู่

 

ราคาของอสังหาริมทรัพย์ นั้นมีหลายราคาและมีความหลากหลายมาก เช่น

 

1. ราคาของคนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ยิ่งราคาต่ำได้ยิ่งดี)

2. ราคาของคนจะขายอสังหาริมทรัพย์ (ยิ่งราคาสูงได้ยิ่งดี)

3. ราคาเพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ (ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาด)

4. ราคาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาด)

5. ราคาตลาด คือราคาที่ผู้คนทั่วไปซื้อขายกัน ก.ล.ต. ได้เคยประกาศไว้ว่า “ราคาตลาด” หมายถึง ราคาซื้อขายทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในตลาด เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในทันทีที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น โดยเป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและ/หรือผู้ขายให้กับทรัพย์สินในสภาวการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะเท่ากับ มากกว่า หรือน้อยกว่ามูลค่าตลาดก็ได้

6. มูลค่าตลาด คือ มูลค่าเป็นตัวเงินซึ่งประมาณว่า เป็นราคาของทรัพย์สินที่ใช้ตกลงซื้อขายกันได้ระหว่างผู้เต็มใจขายกับผู้เต็มใจซื้อ ณ วันที่ประเมิน ภายใต้เงื่อนไขการซื้อขายปกติที่ผู้ซื้อผู้ขายไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องกัน โดยได้มีการเสนอขายทรัพย์สินในระยะเวลาพอสมควร และโดยที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงซื้อขายด้วยความรอบรู้อย่างรอบคอบและปราศจากภาวะกดดัน ทั้งนี้ ให้ถือด้วยว่าสามารถโอนสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินได้โดยทั่วไป

 

ราคานั้นคือสิ่งที่จับต้องได้ มีการซื้อขายจริง (Objective) แตกต่างจากมูลค่าที่ค่อนข้างจะเป็นเฉพาะทรัพย์สินนั้นๆ (Subjective) แต่ราคาที่ซื้อขายกันอาจไม่สะท้อนมูลค่าเพราะว่า

 

1. อาจไม่ใช่ราคาที่ “เต็มใจ” ซื้อหรือขายกัน อาจจำเป็นต้องซื้อหรือจำเป็นต้องขาย

2. ราคาในบางกรณีอาจเป็นการซื้อขายกันระหว่างญาติหรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติ

3. ราคาอาจเป็นสิ่งที่เกิดการซื้อขายกันทันที จึงจำเป็นต้องขายลดเป็นพิเศษ หรือเป็นราคาที่ซื้อขายกันมาเนิ่นนานแล้ว ไม่ใช่มูลค่าในปัจจุบัน

4. ราคาที่ซื้อขายกันอาจเกิดจากความไม่รู้ อาจเกิดภาวะกดดัน เป็นต้น

 

            ก่อนที่เราจะซื้อขายทรัพย์สินด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เราพึงเริ่มต้นที่การสำรวจราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่าของทรัพย์สินของเราให้ชัดเจนว่า มูลค่าตลาดเป็นเงินเท่าไหร่สำหรับทรัพย์สินของเราเองนี้ เช่น ห้องชุดของเรา สามารถประเมินได้เป็นเงิน 1,000,000 บาท นี่คือมูลค่าตลาดที่พึงซื้อขายกันในตลาดเปิด

 

            อย่างไรก็ตามในกรณีจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้นด่วน เพราะผู้ขายจำเป็นต้องใช้เงิน การเปิดขายตามราคาตลาด ซึ่งผู้ซื้อนั้นอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์ที่จะใช้เงิน  ดังนั้น จึงต้องมีการคิดลดราคาลงมา เราจะลดราคาเท่าไหร่ จึงจะจูงใจให้มีผู้ซื้อ ตัดสินใจซื้อได้ไวกว่าเดิม

 

หลักในการตั้งราคาที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เกิดความสนใจ ดังนี้

 

1. มาจากการประมูลทรัพย์ ซึ่งตามสถิติที่เคยสำรวจไว้ ราคาที่ขายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ของมูลค่าตลาดที่ประเมินไว้อย่างถูกต้อง หมายความว่าถ้าต้องการขายให้ได้โดยเร็ว ควรขายในราคาดังกล่าว เช่น ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เป็นต้น

 

2. อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์แบบด่วนพิเศษ เช่น ตั้งเป้าที่จะขายให้ได้ภายในเวลา 3 เดือน ราคาก็คงต้องลดลงไปอีกหน่อย เช่น ลดเหลือประมาณ 70%  ทั้งนี้มาจากฐานของการขายฝาก ซึ่งมักตั้งราคาขายฝากไว้ไม่เกิน 70% ของมูลค่าตลาด

 

3. แต่ถ้าต้องการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นให้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ก็คงต้องคิดลดเหลือเพียง 60% เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม จะลดลงราคาขายอสังหาริมทรัพย์จำนวนเท่าไหร่กันแน่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างด้วยไม่ใช่เพียงแต่อาศัยความพึงพอใจอย่างเดียวว่าจะลดเพื่อต้องการให้ทรัพย์นั้นขายได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักๆมีดังนี้

 

1. ประเภททรัพย์สิน เช่น ที่อยู่อาศัย เพราะมีโอกาสที่จะขายได้มากกว่าทรัพย์สินอื่น

2. มูลค่าของทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง ย่อมหาผู้ซื้อได้ยากกว่าทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่า

3. ภาวะตลาดของทรัพย์สินนั้น เช่น ณ กลางปี 2565 ราคาขายของโรงแรมก็ยังอาจจะต่ำอยู่ เพราะพิษของโรคระบาดโควิด-19 เป็นต้น

4.  อนาคตของธุรกิจนั้นๆ เช่น ในกรณีสนามกอล์ฟก็คงสร้างใหม่ได้ยากเพราะความต้องการน้อย และราคาที่ดินแพงขึ้น ในขณะที่ค่าสมาชิกก็อาจไมได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนนัก

           

ดังนั้นการจะขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดไหนก็ตาม การตั้งราคามีส่วนสำคัญมากในทำให้ทรัพย์ชิ้นนั้นสามารถขายได้รวดเร็วหรือว่าช้า ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการที่จะช่วยในการตั้งราคาได้คือการประเมินค่าทรัพย์สิน ซึงทาง AREA (บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) ได้มีบริการส่วนนี้เพื่อนช่วยให้ผู้ที่ต้องการจะตั้งราคาขายอสังหาริมทรัพย์ได้เห็นราคาตลาดก่อนที่จะเพิ่มหรือลด เพื่อที่จะได้มาซึ่งความคุ้มค่าและไม่ขาดทุนจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

 



 

สนใจติดต่อและสอบถามรายละเอียดบริการได้ที่

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

ID: @areavaluation

Email: Lek2@area.co.th

Web: www.area.co.th

 

ขอขอบคุณที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 396 ตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะขายได้ทันทีและไม่เสียเปรียบ, วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565

 

 

4

 

หลายครั้งที่การนำทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของตนเองออกมาขาย เช่น บ้าน, ที่ดิน, คอนโด, อาคารต่างๆ เป็นต้น แต่หลายคนเคยตั้งคำถามไหมว่า นานแล้วนะทำไมยังขายไม่ได้สักที แน่นอนว่าการตั้งราคาก็มีส่วน เพราะบางคนก็ลดเร็วก็มี บางคนก็อาจจะตั้งราคาสูงจนเกินไป วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงขอนำเคล็ดลับหรือเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน รวมถึงวิธีการตั้งราคาที่ยุติธรรมและเจ้าของก็ยังคงได้กำไรอยู่

 

ราคาของอสังหาริมทรัพย์ นั้นมีหลายราคาและมีความหลากหลายมาก เช่น

 

1. ราคาของคนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ยิ่งราคาต่ำได้ยิ่งดี)

2. ราคาของคนจะขายอสังหาริมทรัพย์ (ยิ่งราคาสูงได้ยิ่งดี)

3. ราคาเพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ (ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาด)

4. ราคาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (ซึ่งมักต่ำกว่าราคาตลาด)

5. ราคาตลาด คือราคาที่ผู้คนทั่วไปซื้อขายกัน ก.ล.ต. ได้เคยประกาศไว้ว่า “ราคาตลาด” หมายถึง ราคาซื้อขายทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในตลาด เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในทันทีที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น โดยเป็นมูลค่าของทรัพย์สินที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและ/หรือผู้ขายให้กับทรัพย์สินในสภาวการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะเท่ากับ มากกว่า หรือน้อยกว่ามูลค่าตลาดก็ได้

6. มูลค่าตลาด คือ มูลค่าเป็นตัวเงินซึ่งประมาณว่า เป็นราคาของทรัพย์สินที่ใช้ตกลงซื้อขายกันได้ระหว่างผู้เต็มใจขายกับผู้เต็มใจซื้อ ณ วันที่ประเมิน ภายใต้เงื่อนไขการซื้อขายปกติที่ผู้ซื้อผู้ขายไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องกัน โดยได้มีการเสนอขายทรัพย์สินในระยะเวลาพอสมควร และโดยที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงซื้อขายด้วยความรอบรู้อย่างรอบคอบและปราศจากภาวะกดดัน ทั้งนี้ ให้ถือด้วยว่าสามารถโอนสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินได้โดยทั่วไป

 

ราคานั้นคือสิ่งที่จับต้องได้ มีการซื้อขายจริง (Objective) แตกต่างจากมูลค่าที่ค่อนข้างจะเป็นเฉพาะทรัพย์สินนั้นๆ (Subjective) แต่ราคาที่ซื้อขายกันอาจไม่สะท้อนมูลค่าเพราะว่า

 

1. อาจไม่ใช่ราคาที่ “เต็มใจ” ซื้อหรือขายกัน อาจจำเป็นต้องซื้อหรือจำเป็นต้องขาย

2. ราคาในบางกรณีอาจเป็นการซื้อขายกันระหว่างญาติหรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติ

3. ราคาอาจเป็นสิ่งที่เกิดการซื้อขายกันทันที จึงจำเป็นต้องขายลดเป็นพิเศษ หรือเป็นราคาที่ซื้อขายกันมาเนิ่นนานแล้ว ไม่ใช่มูลค่าในปัจจุบัน

4. ราคาที่ซื้อขายกันอาจเกิดจากความไม่รู้ อาจเกิดภาวะกดดัน เป็นต้น

 

            ก่อนที่เราจะซื้อขายทรัพย์สินด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เราพึงเริ่มต้นที่การสำรวจราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่าของทรัพย์สินของเราให้ชัดเจนว่า มูลค่าตลาดเป็นเงินเท่าไหร่สำหรับทรัพย์สินของเราเองนี้ เช่น ห้องชุดของเรา สามารถประเมินได้เป็นเงิน 1,000,000 บาท นี่คือมูลค่าตลาดที่พึงซื้อขายกันในตลาดเปิด

 

            อย่างไรก็ตามในกรณีจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้นด่วน เพราะผู้ขายจำเป็นต้องใช้เงิน การเปิดขายตามราคาตลาด ซึ่งผู้ซื้อนั้นอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์ที่จะใช้เงิน  ดังนั้น จึงต้องมีการคิดลดราคาลงมา เราจะลดราคาเท่าไหร่ จึงจะจูงใจให้มีผู้ซื้อ ตัดสินใจซื้อได้ไวกว่าเดิม

 

หลักในการตั้งราคาที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เกิดความสนใจ ดังนี้

 

1. มาจากการประมูลทรัพย์ ซึ่งตามสถิติที่เคยสำรวจไว้ ราคาที่ขายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ของมูลค่าตลาดที่ประเมินไว้อย่างถูกต้อง หมายความว่าถ้าต้องการขายให้ได้โดยเร็ว ควรขายในราคาดังกล่าว เช่น ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เป็นต้น

 

2. อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์แบบด่วนพิเศษ เช่น ตั้งเป้าที่จะขายให้ได้ภายในเวลา 3 เดือน ราคาก็คงต้องลดลงไปอีกหน่อย เช่น ลดเหลือประมาณ 70%  ทั้งนี้มาจากฐานของการขายฝาก ซึ่งมักตั้งราคาขายฝากไว้ไม่เกิน 70% ของมูลค่าตลาด

 

3. แต่ถ้าต้องการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นให้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ก็คงต้องคิดลดเหลือเพียง 60% เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม จะลดลงราคาขายอสังหาริมทรัพย์จำนวนเท่าไหร่กันแน่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างด้วยไม่ใช่เพียงแต่อาศัยความพึงพอใจอย่างเดียวว่าจะลดเพื่อต้องการให้ทรัพย์นั้นขายได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักๆมีดังนี้

 

1. ประเภททรัพย์สิน เช่น ที่อยู่อาศัย เพราะมีโอกาสที่จะขายได้มากกว่าทรัพย์สินอื่น

2. มูลค่าของทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง ย่อมหาผู้ซื้อได้ยากกว่าทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่า

3. ภาวะตลาดของทรัพย์สินนั้น เช่น ณ กลางปี 2565 ราคาขายของโรงแรมก็ยังอาจจะต่ำอยู่ เพราะพิษของโรคระบาดโควิด-19 เป็นต้น

4.  อนาคตของธุรกิจนั้นๆ เช่น ในกรณีสนามกอล์ฟก็คงสร้างใหม่ได้ยากเพราะความต้องการน้อย และราคาที่ดินแพงขึ้น ในขณะที่ค่าสมาชิกก็อาจไมได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนนัก

           

ดังนั้นการจะขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดไหนก็ตาม การตั้งราคามีส่วนสำคัญมากในทำให้ทรัพย์ชิ้นนั้นสามารถขายได้รวดเร็วหรือว่าช้า ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการที่จะช่วยในการตั้งราคาได้คือการประเมินค่าทรัพย์สิน ซึงทาง AREA (บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) ได้มีบริการส่วนนี้เพื่อนช่วยให้ผู้ที่ต้องการจะตั้งราคาขายอสังหาริมทรัพย์ได้เห็นราคาตลาดก่อนที่จะเพิ่มหรือลด เพื่อที่จะได้มาซึ่งความคุ้มค่าและไม่ขาดทุนจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

 



 

สนใจติดต่อและสอบถามรายละเอียดบริการได้ที่

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

ID: @areavaluation

Email: Lek2@area.co.th

Web: www.area.co.th

 

ขอขอบคุณที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 396 ตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะขายได้ทันทีและไม่เสียเปรียบ, วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565

 

5
9 ข้อสำคัญก่อนซื้อที่ดิน เช็คให้ครบก่อนซื้อ


 

หลายคนยังไม่ทราบว่าก่อนที่เราจะซื้อที่ดินเราต้องเช็คอะไรบ้าง !!!!!   มีข้อควรระวัง !!!  มีข้อสำคัญอย่างไรบ้าง !!! ในขณะที่ราคาที่ดินก็มีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จะซื้อที่ดินก็ต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องตัวต่ำ ดังนั้นก่อนเราจะซื้อที่ดินสักแปลงเราก็ควรจะตรวจสอบศักยภาพของที่ดิน ก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย  ทำเลดี  อาจจะไม่สามารถสร้างมูลค่าตามที่เราตั้งราคาขายไว้ก็ได้ หรือที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าสูงขึ้นได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย(TREBS) จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน มีอะไรบ้าง ดังนี้

 

ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบก่อนซื้อที่ดินคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซด์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

 

ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไป ที่เราจะซื้อที่ดิน คือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อเราซื้อที่ดินมาแล้วที่ของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ !   ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตผ่านทางเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกที่รถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

 

สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง การจะซื้อที่ดินใจกลางเมือง หรือจะซื้อที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า ดังนั้นก่อนเราจะซื้อที่ดินนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสีผังเมืองให้ดีด้วย เช่น หากเราม่ีที่ดินขนาด 2 ไร่

 



 

 

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง  10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 4,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

 

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม ควรระวังก่อนจะซื้อที่ดิน หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้ที่นี่ "สีผังเมืองกรุงเทพฯฉบับล่าสุด ออกแล้ว!!"

 

การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ

 

พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้หรือไม่

 



 

เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

 

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

 

การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

 

การรอนสิทธิ

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาทีดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง

 

หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยง

เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ

 



 

 

สามารถติดต่อและสอบถามรายละเอียดของบริการได้ที่

โทร.02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)

Email : lek@trebs.ac.th

Line ID : @trebs หรือคลิก  https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

ขอขอบคุณ: www.feasyonline.com

 

[Tage] ที่ดิน , ซื้อที่ดิน , ราคาที่ดิน , ผังเมือง , แนวเวนคืน , พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

หน้า: [1]