ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - อครเดช

หน้า: [1]
1
สุขภาพ | Health / ตาปลาที่เท้า เกิดจากสาเหตุอะไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2022, 06:52:29 AM »
ตาปลา คือผิวหนังที่ได้รับการเสียดสีบ่อย ๆ หรือกดทับเป็นเวลานาน ซ้ำ ๆ ณ จุดเดิม ๆ  มักจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการรับน้ำหนัก เช่นการนั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาด เป็นประจำ บางทีก็เกิดจากการใส่รองเท้าที่คับเกินไป มักจะเจอบริเวณที่เป็นบ่อยก็คือ ฝ่าเท้า ใต้นิ้วเท้า ด้านข้างของเท้า ตาปลา ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือเป็นโรค ไม่มีการติดต่อกัน ไม่มีอาการแทรกซ้อน ยกเว้นผู้ป่วยเบาหวาน
ถ้าหากเป็นตาปลาแล้วไม่รักษาอาจมีอาการอักเสบที่รุนแรง จนทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรัง  หากมีขนาดที่ใหญ่อาจทำให้มีอาการเจ็บปวดได้ หรือแตกเป็นแผล ถ้าหากเป็นที่ฝ่าเท้า เวลาใส่รองเท้า เกิดการกดทับ จะทำให้เวลาเดิน จะเจ็บมาก  อีกอย่าง การเป็นตาปลา จะทำให้ผู้ที่เป็นเกิดความรำคาญเวลาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากมีการกระทบหรือกดทับ มีแผลแตก ก็จะทำให้เจ็บจี๊ด จนรำคาญ
ตาปลาเกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดตาปลานั้น ที่พบได้บ่อยก็คือการที่ใส่รองเท้าที่ไม่ได้ขนาด คับมากไป ไม่พอดีกับเท้า หรือการเดินที่ผิดท่าบ่อย ๆ การลงน้ำหนักที่ไม่ได้สัดส่วนในการเดิน ทำให้เกิดการกดทับบริเวณใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้านาน ๆ หรือการนั่งในท่าเดิมนาน ๆ ก็จะทำให้เกิด การสร้างเนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดแข็ง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับพื้นที่นั้นแทนผิวหนังหรือเนื้อ จึงทำให้เกิดการเป็นก้อนแข็ง เวลาเกิดการกดทับ ก็จะเกิดอาการเจ็บ หรือถ้าเกิดตรงบริเวณข้างเท้าก็จะทำให้เท้าไม่สวย ไม่มีความมั่นใจในรูปเท้าของเจ้าของ ซึ่งก็จะสร้างความรำคาญใจเป็นอันมาก
การรักษาตาปลา
การรักษาตาปลา นั้นขั้นตอนแรกก็ต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นก่อน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในการเดิน นั่ง ต้องเดินให้ถูกท่าทางลักษณะที่เหมาะสม ไม่เดินแบบลงน้ำหนักจุดเดียวเป็นเวลานาน หรือนั่งในท่าพับเพียบหรือท่าขัดสมาดเป็นเวลานานจนเกินไป
ถ้าเป็นตาปลาที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้า เวลาหารองเท้ามาใส่ก็ต้องเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า ไม่คับแน่นจนเกินไป จนเกิดการบีบรัดนิ้วเท้า ซึ่งก็จะทำให้เกิดตาปลาที่นิ้วเท้าได้ ถ้าเป็นรองเท้าที่หลวมเกินไป ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีในเวลาที่เราเดิน ควรใช้แผ่นรองเท้ารองรับส่วนที่เป็นตาปลาเอาไว้เพื่อป้องกันแรงกดทับ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดทับมากในบางจุดของเท้า  ควรอย่างยิ่งที่จะใส่รองเท้าพื้นเรียบ และพื้นของรองเท้าที่นุ่มพอดี ๆ ในการรักษาอีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดผิวหนังที่เป็นตาปลาทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วแกะพลาสเตอร์ออก เอาเท้าแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาทีแล้วขัดถูเบา ๆ ตาปลาก็จะค่อย ๆ ลอกหลุดออกไป ถ้ายังไม่หายหมดก็ให้ทำซ้ำอีก จนกว่าตาปลาบริเวณนั้นจะหาย 
อีกหนึ่งวิธีอาจจะใช้ยากัดตาปลา ซึ่งมีกรดซาลิไซลิกผสม เช่น Collomack, Duofilm และ Free zone ก่อนใช้ยาทานั้นต้องแช่เท้าในน้ำอุ่น ๆ ก่อน สัก 15-20 นาที แล้วซับให้แห้ง ขัดถูบริเวณตาปลาเบา ๆ ให้ผิวหนังหลุดออกไป แล้วหาวาสลินมาทารอบ ๆ ผิวหนังที่เป็นตาปลา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยาทาไปกัดผิวหนังที่เป็นปกติ ให้ทาวันละ 1-2 ครั้ง ตาปลาก็จะหายไป 
ข้อดีของการทายาเพื่อรักษาก็คือ 
ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีแผลเป็น แต่ข้อเสียคือต้องขยันทำ ถ้าไม่ขยันทำ ก็จะไม่หาย  หรือจะรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาตาปลาเท่านั้น เราจะใช้มีดมากรีดเอง หรือจี้ด้วยธูปนั้นไม่ได้โดยเด็ดขาด อาจทำให้แผลติดเชื้อเกิดการอักเสบ
นอกนั้นยังมีวิธีในการรักษา โดยการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือการใช้เลเซอร์ในการรักษา ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษาซับซ้อน และมีการดูแลแผลเพื่อป้องกันการอักเสบหรือติดเชื้อ จึงต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเช่นเดียวกัน
ตาปลาที่นิ้วมือเกิดจากอะไร
ตาปลาที่นิ้วมือ มักจะพบบ่อยด้วยการเกิดจากผิวหนังที่นิ้วมือมีการเสียดสีบ่อย ๆ   จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น แข็งเป็นตุ่มนูน ตาปลาที่นิ้วมืออาจเกิดจากการเขียนหนังสือเพราะมีการจับปากกาหรือดินสอเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสียดสีหรือกดทับ การใช้นิ้วหิ้วของหนักอยู่เป็นประจำ ผู้ที่มีการใช้มือ นิ้วมืออย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อย่างเช่น ช่างกล ชาวนา ชาวสวน คนงานก่อสร้าง นักกีฬา นักดนตรี  ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีโอกาสที่จะเกิดตาปลาที่มือ หรือนิ้วมือมากยิ่งขึ้น
ตาปลาที่นิ้วมือและมือเมื่อกดดูก็จะทำให้เจ็บ ตาปลาที่นิ้วมือไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย แต่อาจมีผลต่อสุขภาพจิต ที่มองมือแล้วไม่สวย และยังทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเจ็บเมื่อเวลาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ตาปลาที่มือก็จะหายไปในเวลาไม่นาน
การรักษา ตาปลาที่นิ้วมือ
เริ่มด้วยการรักษาตาปลาด้วยตัวเอง โดยเอามือหรือนิ้วมือที่เป็นตาปลาแช่ลงในน้ำอุ่น ๆ  สัก 5-10 นาที หรือสังเกตว่าตุ่มตาปลาอ่อนหรือนุ่มลง ให้ใช้ผ้านุ่ม ๆ ขัดผิวหนังบริเวณตาปลาให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ต้องขัดด้วยความเบามือ อย่าทำให้เกิดแผล เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ และทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) แอมโมเนียม แลคเตท (ammonium lactate) หรือยูเรีย (Urea) ซึ่งจะทำให้ผิวหนังตุ่มตาปลาหลุดออกไป ควรทาเป็นประจำเพื่อการรักษาตาปลาที่นิ้วให้หายขาด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดตาปลาที่นิ้วหรือมือ
อีกวิธีที่แนะนำคือสวมใส่ถุงมือเวลาทำงาน เพื่อป้องกันการเสียดสีจากการที่ใช้อุปกรณ์ในการทำงาน ใช้ผ้าพันแผลหรือแผ่นรองปิดตาปลาเพื่อป้องกันและลดการระคายเคืองหรืออาการเจ็บ หากต้องมีการกดทับหรือเสียดสีขึ้น และหมั่นทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมบำรุงผิว ให้ผิวได้รับความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  แต่ถ้าต้องการรักษาที่ใช้เวลาไม่นานและมีความปลอดภัย ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยเลเซอร์หรือผ่าตัดเอาออกก็ได้

หน้า: [1]