ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ใบ 50 ทวิ คือ? สำคัญอย่างไร ใครเป็นผู้ออกให้เรา !!!


เมื่อเกิดรายได้สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ การจ่ายภาษี แต่หากรัฐจะเก็บภาษีทีเดียวปีละหนึ่งครั้งก็ดูจะเป็นเงินก้อนใหญ่มากเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษี อาจทำให้เกิดการเลี่ยงภาษี หรือจ่ายล่าช้า รัฐจึงหาวิธีที่จะช่วยผู้เสียภาษี ให้ไม่ต้องเสียเงินเงินก้อนใหญ่ทีเดียว รัฐจึงทำการหักภาษีล่วงหน้าเอาไว้ส่วนนึงแล้ว และทำการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือก็คือใบ 50 ทวิ นั่นเอง แต่ใบ 50 ทวิเราจะได้จากใคร แล้วเราจะได้เมื่อไหร่ มาหาคำตอบภายในบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ


ใบ 50 ทวิคืออะไร?
ใบ 50 ทวิคือ เอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ และเป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้จะได้รับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี
 

สำคัญอย่างไร
1. เมื่อถึงเวลายื่นภาษี ใบ 50 ทวิ สามารถนำไปยื่นลดหย่อนจากภาษีที่ต้องจ่ายได้ เนื่องจากถือว่าได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้ว
2. ในกรณีที่ถูกหักภาษีไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระทั้งปี ก็สามารถใช้ใบ 50 ทวิ ยื่นเพื่อขอคืนภาษีได้ หรือก็คือรัฐต้องจ่ายคืนค่าภาษีให้เรานั้นเอง
3.ในบางกรณีใบ 50 ทวิสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงฐานะหรือความมั่นคงทางการเงินให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ  อีกด้วย
ดังนั้นเมื่อได้รับเอกสารมากแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้อวของข้อมูลให้เรียบร้อยและเก็บรักษาให้ดีด้วยนะคะ


ใครที่ต้องออกใบให้เรา
ในกรณีของลูกจ้างบริษัท นายจ้างหรือบริษัทที่เราทำงานอยู่ที่มีหน้าที่ออก 50 ทวิให้เรา โดยอาจจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าหากจัดทำเป็นภาษาอื่นๆ จะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย
กรณีฟรีแลนซ์ที่รับค่าจ้าง ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไปตามเนื้องานแต่ละประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด อย่างค่าจ้างบริการทั่วไป เช่น จ้างรีวิวสินค้า จ้างทำกราฟฟิค ก็จะถูกกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 3% เป็นต้น และถ้ายอดที่จ่ายเป็นจำนวนไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

เพิ่มเติม : ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ คือเอกสารที่ผู้จ่ายเงินได้สามารถจัดทำขึ้นเองได้ โดยจำเป็นต้องมีข้อความตามที่กรมสรรพากรกำหนดทั้งหมด และจะต้องจัดทำขึ้น 2 ฉบับ โดยมีข้อความบนหัวกระดาษแต่ละฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บ ไว้เป็นหลักฐาน”
 

1. กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯ
ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปี ถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี ใบ 50 ทวิ จะถูกออกให้แก่ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
 
2. กรณีจ่ายเงินได้อื่น ๆ ฟรีแลนซ์
ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เพิ่มเติม : หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ใบ 50 ทวิเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องใช้ในการคำนวณภาษี และเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภ.ง.ด. 91/90) หากคุณไม่ได้รับใบ 50 ทวิ ให้รีบแจ้งผู้ที่มีหน้าที่ออกใบให้เราทันที แต่หากไม่แน่ใจว่าต้องขอจากใคร ให้ติดต่อผู้ที่จ่ายเงินให้เราโดยตรงเท่านั้น


ถ้าหายทำอย่างไร
-ถ้าเราทำใบ 50 ทวิหายสามารถแจ้งผู้จ่ายเงินให้ออกให้ใหม่ได้ แต่จะต้องติดต่อขอรับจากผู้จ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถติดต่อขอที่กรมสรรพากได้
-หรือหากใบ 50 ทวิ ฉีดขาด/ชำรุด ผู้รับเงินสามารถขอให้ผู้จ่ายเงินออกใบแทนใบ 50 ทวิให้ได้ โดยถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์เอกสารสําเนาคู่ฉบับ ซึ่งผู้ออกใบ 50 ทวิ เก็บไว้ และเขียนข้อความว่า "ใบแทน" ไว้ด้านบนของเอกสาร จากนั้นลงลายมือชื่อรับรอง

ใบ 50 ทวิเป็นเอกสารหลักฐานที่สำคัญที่จะแสดงว่าเราถูกหักเงิน ณ ที่จ่ายไปแล้วเท่าไหร่ แล้วจะต้องเสียเพิ่มอีกเท่าไหร่ หรืออาจจะได้กลับคืนมาก็ได้ ดังนั้นอย่าลืมเก็บรักษาใบ 50 ทวิให้ดีด้วยนะคะ


ติดตามนรินทร์ทองเพื่อที่จะไม่พลาดข่าวสารเกี่ยวกับการเงิน
อย่าลืมกดติดตามเพจ นรินทร์การบัญชีและภาษี เพื่อจะได้ไม่พลาดข่าวสารดี ๆ และความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ การบัญชี ภาษีและกฎหมาย และหากคอนเทนต์นี้มีประโยชน์อย่าลืมแชร์หรือบอกต่อเพื่อน ๆ กันด้วยนะคะ และหากใครต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมหรือบทความอื่น ๆ


ใครมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
Facebook : นรินทร์ การบัญชีและภาษี
Website : นรินทร์ทอง