ยุคนี้สมัยนี้ต่างก็มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังต้องใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวก แต่จะใช้แค่นวัตกรรมเครื่องจักรอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องมีระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ
ระบบ PLC ที่ใช้กันในโรงงาน ว่าคืออะไร และมีข้อดีอย่างไรกับโรงงานอุตสาหกรรม
ทำความรู้จักระบบ PLC ในโรงงานระบบ PLC ที่นิยมใช้ในโรงงาน มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า “โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์” (Programmable logic Control : PLC) ซึางระบบนี้เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและกระบวนการทำงานภายในอุตสาหกรรม โดยมี Microprocessor ที่ทำหน้าที่เป็นมันสมองหลัก คอยทำหน้าที่สำคัญอย่างการสั่งการระบบ PLC ให้ทำหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะมีส่วน Input-Output ที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ในทันที ซึ่ง Output จะใช้สำหรับต่อออกไปควบคุมการทำานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรในโรงงาน
ทั้งนี้ระบบ PLC ในโรงงาน คุณสามารถสร้างวงจรหรือแบบการควบคุมการทำงานโดยการป้อนโปรแกรมคำสั่งที่สร้างขึ้นเองเข้าไปได้ นอกจากนี้ PLC ยังสามารถใช้งานกับอุปกรณ์อื่น ๆ นอกเหนือจากเครื่องจักรได้ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) ได้แล้ว ยังสามารถต่อเครื่อง PLC หลาย ๆ เครื่องเพื่อเชื่อมต่อการทำงานแบบเครือข่าย (Network )ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าระบบ PLC สร้างประโยชน์ในโรงงานได้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
ข้อดีของโรงงานที่ใช้ระบบ PLC คุ้มค่าแก่การลงทุน
ระบบ PLC จัดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของระบบการทำงานในโรงงาน เพราะนอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของไลน์ผลิตแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีระบบเป็นตัวกลาง หรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบเป็นเครือข่ายโดยมีแบบแผนของตัวเอง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุนหลาย ๆ รอบ เพราะแค่ระบบ PLC ในโรงานแค่ตัวเดียวก็สามารถใช้งานกันได้ยาวนาน
ครอบคลุมทุกการทำงาน
อย่างที่เห็นกันว่าระบบ PLC สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างมีประสทิธิภาพ และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี เพียงสั่งการผ่านโปรแกรมที่เป็นสื่อกลางโดยเชื่อมต่อ PLC เข้ากับคอมพิวเตอร์ เท่านี้ ก็สามารถสั่งงานได้อย่างครอบคลุม ทันใจ และไร้ข้อผิดพลาด
ประยุกต์การทำงานได้อย่างหลากหลาย
เพราะระบบ PLC ในโรงงานยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันไปจนถึงอนาคตจะมีเวอร์ชั่นที่รองรับการทำงานร่วมกับ Hardware และ Software ได้หลากหลายและครอบคลุมมากกว่าเดิม ทั้งนี้ PLC ยังสามารถเลือกรูปแบบของระบบให้เข้ากับอุตสาหกรรมได้อย่างหยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ PLC ควบคุมงานระบบคำนวน หรือ ให้ควบคุมการทำงานอัตโนมัติก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน