ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ควรทำภายในเวลากี่นาที และมีวิธีการอย่างไร?

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจากสาเหตุใด อาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือรุนแรงถึงขั้นผู้ประสบเหตุหยุดหายใจ และมีแนวโน้มถึงขั้นเสียชีวิต (ใส่เครื่องประดับที่มีทองแดงจะถูกฟ้าผ่าหรือไม่? https://www.smk.co.th/newsdetail/2792) การช่วยผู้ประสบเหตุให้ฟื้นคืนชีพ หรือการทำ CPR เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่หยุดหายใจกลับมาฟื้นคืนชีพได้อีกครั้ง แล้วการทำ CPR ที่ถูกต้องมีวิธีการอย่างไร? และควรทำภายในเวลากี่นาที เพื่อป้องกันไม่ให้สมองขาดออกซิเจน
 
CPR คืออะไร? ควรทำภายในเวลากี่นาที?

CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้นในเบื้องต้น จากอุบัติเหตุ เช่น จมน้ำ หัวใจวาย หรือสำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ ให้กลับมาหายใจหรือมีลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ เพื่อที่จะช่วยชีวิตคนป่วยให้ปลอดภัยผ่านวิกฤตไปได้ ก่อนรถพยาบาลจะมาถึง และส่งถึงมือหมอได้อย่างทันท่วงที ความสำคัญของการทำ CPR อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้
 
การช่วยฟื้นคืนชีพ ควรปฏิบัติอย่างไรในขั้นตอนแรก

1.   ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป ให้เรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือ

2.   หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง โดยการตีที่ไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ หายใจเองได้ ให้จับนอนตะแคง รอการช่วยเหลือ โทร 1669 ไม่ควรทำ CPR ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ

3.   หากไม่ได้สติ ไม่ลืมตาจริงๆ และหยุดหายใจ ให้รีบโทรหา 1669 เช่นกัน แจ้งทีมงานว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ หยุดหายใจ ให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย

4.   เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

•   กดให้ลึก หมายถึงกดหน้าอกจากหน้าอกโดยปกติให้ลึกลงไป 2 ถึง 2.4 นิ้ว
•   กดให้ร้อย หมายถึงอัตราความเร็วในการกด 100 ถึง 120 ครั้งต่อ 1 นาที
•   ปล่อยให้สุด หมายถึงเมื่อกดหน้าอกยุบลงไป 2ถึง 2.4 นิ้วแล้วให้ปล่อยให้อกกลับมาฟูเหมือนปกติทุกครั้งก่อนกดใหม่
•   อย่าหยุดกด หมายถึงอย่าทำการหยุดการกดหน้าอกจนกว่าจะมีทีมมาช่วยเหลือหรือผู้ช่วยนั้นไม่สามารถกดต่อได้เนื่องจากเหนื่อยล้า

5.   สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ของสุนทราภรณ์, “Staying Alive” ของ Bee Gees หรือ “Imperial March” เพลงธีมของ Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ได้

6.   ควรทำ CPR ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยจะมา หากไม่เคยเข้ารับการฝึกทำ CPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อย ๆ หากเคยทำ CPR แล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง

7.   ในกรณีที่มีคนอยู่ด้วยหลายคน สามารถสลับให้คนอื่นมาช่วยปั๊มหัวใจแทนได้
 
เมื่อไรควรหยุดทำ CPR?

ควรทำ CPR ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทีมกู้ภัย หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมา แล้วเข้าช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED อีกครั้ง ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ระหว่างการทำ CPR เราควรเรียกคนมาช่วย รีบโทร. 1669 / 1745 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เร็วที่สุด หากสามารถนำส่งโรงพยาบาลด้วยตัวเองได้ ก็สามารถทำ CPR ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกัน

CPR ในเด็ก ทำอย่างไร?

ในกรณีที่เป็นเด็ก การทำ CPR จะคล้ายกับผู้ใหญ่ แต่ของเด็กจะเน้นการเรื่องทางเดินหายใจเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่การเสียชีวิตในเด็กจะมาจากทางเดินหายใจอุดตัน เช่น การกินอาหารติดคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดหลอดลม ซึ่งการช่วยชีวิตในขั้นตอนแรกให้ดูว่ามีอะไรอุดในลำคอ หรือในปากหรือไม่ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมที่เอาออกได้ให้เอาออก แต่ถ้าไม่เห็นหรือไม่มั่นใจ “ห้าม” เอานิ้วล้วงเข้าไปในปากเด็กเพราะ อาจจะทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นเข้าไปลึกยิ่งขึ้น
 
CPR ในเด็กและผู้ใหญ่ต่างกันอย่างไร?

การทำ CPR ในเด็กและผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันเนื่องจาก วิธีการกด ความลึก จะต้องดูจากอายุและขนาดร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

1.   เด็ก จะใช้วิธีดูความหนาของลำตัวและกดเพียง 1 ใน 3 ของลำตัวเด็กเท่านั้น
2.   ทารก ให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางทำการกดบริเวณตำแหน่งคือ กึ่งกลางอกส่วนล่าง
3.   สุภาพสตรี ให้วัดจากลิ้นปี่ขึ้นมา 2 นิ้ว

เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ให้ใช้ฝ่ามือทั้งสองฝั่งประสานทับกัน แล้วเลือกใช้บริเวณส้นมือวางไปตรงตำแหน่งที่ระบุไว้ แขนทั้งสองข้างเหยียดตึงไม่งอข้อศอก รวมน้ำหนักจากลำตัวมาสู่หัวไหล่ และกดพุ่งตรงบริเวณจุดที่มาร์กไว้ โดยที่จะไม่ใช้ข้อมือหรือข้อศอกเป็นตัวกด แต่จะใช้กำลังทั้งตัวในการกดลงไป ขณะที่นั่งให้ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วย โดยการนั่งไม่นั่งทับบนส้นเท้า กางหัวเข่าออกให้ได้หลัก แล้วกดลงบริเวณที่มาร์กจุดไว้
 
อุบัติเหตุ มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือจากความประมาทของบุคคลอื่น ให้ประกันรถยนต์ตามเวลา สู้ภัยโควิด-19 เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 12 เดือน จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพื่อความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/premotor หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/