ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขได้อย่างบ้าง?

ผมร่วง

ปัญหาผมร่วงเป็นเรื่องที่หลายคนเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเครียด หรือสุขภาพของหนังศีรษะ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุของผมร่วงและอาการที่เกิดขึ้น แนวทางการป้องกัน และวิธีลดผมร่วง เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพเส้นผมได้อย่างถูกวิธี



ผมร่วงเกิดจากอะไรได้บ้าง

ผมร่วงเกิดจากอะไร

ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และมีปัจจัยที่หลากหลาย ซึ่งอาจแบ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงเกิดจากอะไร ได้ดังนี้ค่ะ

- พันธุกรรม: เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้ชาย มักมีประวัติครอบครัวที่มีปัญหาผมร่วง
- ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ การหมดประจำเดือน หรือการใช้ยาคุมกำเนิด สามารถทำให้ผมร่วงได้ชั่วคราว
- ความเครียด: ความเครียดทางกายหรือจิตใจสามารถกระตุ้นให้ผมเข้าสู่ช่วงพักตัว ทำให้ผมร่วงหนักมากขึ้น
- ภาวะเจ็บป่วย: โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ผิดปกติ โรคโลหิตจาง โรคผิวหนังบางชนิด หรือการติดเชื้อ สามารถทำให้ผมร่วงได้
- การขาดสารอาหาร: การขาดโปรตีน ธาตุเหล็ก หรือวิตามินบางชนิด อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม
- ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดไขมัน หรือยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง
- การดูแลเส้นผมไม่ถูกวิธี: การใช้ความร้อนสูงในการจัดแต่งทรงผม การยืดผม หรือการทำสีผมบ่อยๆ อาจทำลายเส้นผมและหนังศีรษะ
- อายุ: การเข้าสู่วัยสูงอายุ ทำให้เส้นผมมีวงจรชีวิตสั้นลงและร่วงง่ายขึ้น



รีบเช็ค! อาการผมร่วงมีลักษณะอย่างไร

อาการผมร่วง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทั้งผู้ชายและผู้หญิง อาการที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ การพบเส้นผมหลุดร่วงจำนวนมากในอ่างอาบน้ำ หรือบนแปรงหวีผม หรืออาจสังเกตเห็นว่าเส้นผมบางลง หรือมีรอยโหว่บนหนังศีรษะ

ประเภทของผมร่วงมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. ผมร่วงแบบไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
- ผมร่วงแบบ เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ทำให้ผมร่วงเป็นแบบปรกติ เช่น ผมร่วงตรงกลางศีรษะ หรือไรผมบางลง
- ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงเป็นวงกลมหรือวงรี โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายรากผม
- ผมร่วงแบบเฉียบพลัน เกิดจากความเครียด การผ่าตัด การเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
- ผมร่วงจากการดึง เกิดจากการดึงผมซ้ำๆ จนผมขาด
- ผมร่วงจากยา เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดไขมัน

2. ผมร่วงแบบทิ้งรอยแผลเป็น อาจเกิดจากโรคผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไลเคนแพลนัส หรือเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย บางรายอาจถึงขั้นอักเสบเรื้อรังได้



ขั้นตอนวินิจฉัยอาการผมร่วงเบื้องต้น

การตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเอง
- สังเกตปริมาณผมที่ร่วง นับจำนวนเส้นผมที่ร่วงในแต่ละวัน โดยเก็บเส้นผมที่ร่วงลงมาในที่ต่างๆ เช่น อ่างอาบน้ำ แปรงหวี หรือหมอน นำมาเปรียบเทียบกับปริมาณปกติ
- สังเกตลักษณะเส้นผม สังเกตว่าเส้นผมที่ร่วงมีลักษณะเป็นอย่างไร มีปลายผมแตกปลาย หรือมีรากผมติดมาด้วยหรือไม่
- สังเกตหนังศีรษะ สังเกตว่าหนังศีรษะมีรอยแดง คัน หรือมีสะเก็ดหรือไม่

การตรวจโดยแพทย์ผิวหนังอย่างละเอียด
- การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจสอบหนังศีรษะและเส้นผมโดยละเอียด เพื่อหาสัญญาณของการอักเสบ การติดเชื้อ หรือความผิดปกติอื่นๆ
- การดึงเส้นผม แพทย์จะดึงเส้นผมออกมาเล็กน้อยเพื่อตรวจสอบว่ามีเส้นผมหลุดร่วงง่ายผิดปกติหรือไม่
- การตรวจชิ้นเนื้อ ในบางกรณี แพทย์อาจนำชิ้นเนื้อจากหนังศีรษะไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อหาสาเหตุของผมร่วง
- การส่องกล้อง แพทย์อาจใช้กล้องส่องเพื่อขยายหนังศีรษะและตรวจสอบเซลล์รากผม
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาภาวะขาดสารอาหาร โรคโลหิตจาง หรือโรคอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคผมร่วง

การตรวจสอบอาการผมร่วงเบื้องต้นสามารถทำได้เองที่บ้าน แต่เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและครอบคลุมจะดีที่สุด



วิธีดูแลรักษาอาการผมร่วง

รักษาผมร่วง

- การรักษาผมบางทางการแพทย์ ซึ่งจะทำการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาผมร่วงของคุณได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
- การใช้ยา แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาสาเหตุของผมร่วง เช่น ยาต้านภูมิแพ้ ยาฮอร์โมน
- การปลูกผม เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงรุนแรง แพทย์อาจแนะนำวิธีการปลูกผมบางผมร่วง เพื่อทดแทนผมที่ร่วงไป
- การรักษาด้วยเลเซอร์ อาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม

อย่างไรก็ตาม มีการดูแลเส้นผมเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองที่บ้าน เพื่อแก้ผมร่วงด้วยวิธีธรรมชาติ ดังนี้
- เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อหนังศีรษะ ใช้แชมพูและครีมนวดที่เหมาะกับสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่รุนแรง
- สระผมเบาๆ ไม่ควรสระผมบ่อยเพราะจะทำให้ผมร่วง และควรสระผมเบาๆ หลีกเลี่ยงการขยี้หนังศีรษะแรงๆ
- หวีผมเบาๆ ใช้หวีซี่ห่างและหวีผมเบาๆ โดยเฉพาะเมื่อผมเปียก
- หลีกเลี่ยงความร้อน ลดการใช้เครื่องเป่าผม ไดร์ และเครื่องดัดผม
- ปกป้องเส้นผมจากแสงแดด สวมหมวกปีกกว้างเมื่อออกไปกลางแจ้ง
- นวดหนังศีรษะเบาๆ การนวดหนังศีรษะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
- กินอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ เพียงพอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ลดความเครียด หาเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย



สังเกต! ผู้หญิงผมร่วงเยอะกว่าผู้ชายจริงหรือไม่

ผมร่วงผู้หญิง

ผมร่วงเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ว่าลักษณะและสาเหตุของผมร่วงอาจแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้หญิงอาจมีปัญหาผมร่วงเยอะมากกว่าผู้ชายในบางกรณี สาเหตุผมร่วงของผู้หญิงที่มากกว่าผู้ชาย คือ

1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มากกว่าผู้ชาย เช่น ช่วงมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หลังคลอด หรือช่วงวัยทอง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อวงจรชีวิตของเส้นผม ทำให้ผมร่วงได้ง่ายขึ้น

2. การดูแลเส้นผม: ผู้หญิงมักดูแลเส้นผมมากกว่าผู้ชาย เช่น ยืดผม ดัดผม ทำสีผม ซึ่งการทำเคมีกับเส้นผมบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมเสียและร่วงได้

3. ความเครียด: ผู้หญิงมักเผชิญกับความเครียดจากหลายปัจจัย เช่น การทำงาน การเลี้ยงลูก ความสัมพันธ์ ซึ่งความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมร่วง

4. โรคประจำตัว: โรคบางชนิดที่มักพบในเพศหญิงมากกว่า เช่น โรคไทรอยด์ผิดปกติ โรคโลหิตจาง โรคภูมิต้านทานตัวเอง



ผมร่วงปัญหาที่สร้างความเครียดให้ใครหลายคน

ปัญหาผมร่วงเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนกังวลใจ แต่การเกิดผมร่วงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากเกินจนเกิดเหตุ เพราะผมร่วงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน การดูแลรักษาผมร่วงนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและได้รับการรักษาที่เหมาะสม