ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เงินชราภาพประกันสังคมจะได้เท่าไหร่และคำนวณอย่างไรเรามาดูกัน

สำหรับใครก็ตามที่ทำงานและมีการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมอยู่ตลอดตามมาตรา 44 ทั้งแน่นอนว่ามันจะมีเงินอยู่หลายอย่างซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเหลือเราในกรณีที่ไม่สามารถทำงานได้หรือเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาหรือในกรณีที่เราเกษียณออกจากงานแล้วเราก็จะยังได้เงินชราภาพประกันสังคมคืนมาให้เราอีกด้วยในทุกๆเดือนแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะเป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุนประกันสังคมซึ่งได้มีการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ในตอนแรกแล้ว
ซึ่งเงินชราภาพประกันสังคมนั้นก็ต้องยอมรับว่าหลายๆคนอาจจะลืมเงื่อนไขไปแล้วเนื่องจากว่ากว่าที่เราจะได้ใช้สิทธิ์นี้ก็จำเป็นที่จะต้องมีอายุครบถึง 55 ปีบริบูรณ์แล้วฉะนั้นหากใครที่เพิ่งเริ่มทำงานมามาตั้งแต่อายุ 20 ต้นๆนั้นเงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ก็อาจจะมีหลงลืมไปบ้างฉะนั้นสำหรับในวันนี้ใครที่อยากรู้ว่าเงินชราภาพประกันสังคมนั้นเราจะได้เท่าไหร่และมีการทำงานอย่างไรนั้นเราก็มีคำตอบมาฝากเพื่อนๆทุกคนด้วย
ซึ่งโดยปกติแล้วนะเราจะมีการนำเงินส่งใจเข้าในกองทุนประกันสังคมอยู่ที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนในทุกๆเดือน ซึ่งเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ฉะนั้นมันก็หมายความว่า หากเรามีเงินเดือนถึง 20000 บาท เราก็จะส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 15,000 x 5% = 750 บาท โดยเงิน 5% ซึ่งเราได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมนั้นไม่ใช่เงินเพื่อเก็บเอาไว้เป็นเงินชราภาพประกันสังคมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าเงินเกษียณเพื่อจ่ายเรางั้นจะมีแค่เพียง 3% เท่านั้น หรือ 450 บาท โดยถ้ารวมกับที่นายจ้างสมทบและรัฐบาล จะเป็น 7% หรือ 1,050 บาทถ้าเงินเดือนเราเกิน 15,000 บาทนั่นเอง และสำหรับการคํานวณเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมนั้นก็มีรายละเอียดดังนี้
1.   ถ้าหากเราจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้นเราจะได้เงินบำนาญชราภาพโดยใช้สูตรคำนวณ 20% + [(จำนวนเดือนสมทบ-180) ÷ 12×1.5]% คูณกับเงินเดือนค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ ถ้าหากผู้ประกันตนอายุ 30 ปี เงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบทั้งหมดก่อนเกษียณ 300 เดือน คาดว่าจะมีเงินเดือน ก่อนเกษียณเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลังอยู่ที่ 70,000 บาท แต่ก็จะโดนจำกัดที่ 15,000 บาทเหมือนเดิม ดังนั้นเงินเดือนค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือน จะเท่ากับ 15,000 บาท ดังนั้นเงินเกษียณเป็นบำนาญจะได้เท่ากับ เดือนละ 15,000 x (20%+((300-180)/12)*1.5% = 5,250 บาทต่อเดือน
2.   ถ้าหากจ่ายเงินสมทบไม่เกิน 180 เดือน และไม่เกิน 12 เดือน เราจะได้เป็นบำเหน็จจำนวนที่ตัวเองจ่ายเท่านั้น เช่น จ่ายเงินสมทบของตัวเอง 450 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 11 เดือน ก็จะได้เงินคือ 450x 11 = 4,590 บาท
3.   ถ้าเราจ่ายเงินสมทบไม่เกิน 180 เดือน และเกิน 12 เดือน เราจะได้เงินสมทบตัวเอง นายจ้าง และรัฐบาล + ผลประโยชน์ ซึ่งก็หมายถึงกำไรจากที่ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุน ซึ่งอาจจะอยู่ราว 3-6% โดยที่ในปี 2557 จะอยู่ที่ 3.66%
ฉะนั้นแล้วหากเราดูจากเงินที่เราจะได้จากการส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับเงินชราภาพประกันสังคมนั้นอาจจะเป็นจำนวนที่น้อย ฉะนั้นถ้าหากว่าใครมีการวางแผนเรื่องการเงินของเราไว้เป็นอย่างดีนั้นมันก็จะช่วยทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้น