เวลาที่หลาย ๆ คนขับรถเข้ากรุงเทพมหานคร ก็คงเคยสังเกตเหมือนกันใช่ไหมว่า มีการเขียนป้ายว่ากรุงเทพอีก กิโลเมตรนั่นเอง สำหรับคนที่สงสัยว่ากิโลเมตรที่อยู่ไหน สีลม หรือสยาม คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนสงสัยอยู่ไม่น้อย และอยากรู้ความเป็นมาอย่างมากนั่นเอง
จากข้อมูลของกรมทางหลวงได้มีการอธิบายเอาไว้ว่า หลักกิโลเมตรที่ ของกรุงเทพมหานครนั้น อยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยฝั่งตรงข้ามนั้นเป็นโรงเรียนสตรีวิยา การวัดระยะทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย จะมีการวัดจากหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพมหานครเสียก่อน
หลักกิโลเมตรเป็นเครื่องหมายในการกำกับด้วยตัวอักษรและตัวเลข ทำจากหินหรือปูนมีลักษณะเตี้ย ๆแล้วจะสลักหรือเขียนด้วยสี และติดเอาไว้ในระยะห่างที่มีความเท่ากัน อยู่บริเวณริมถนนโดยระยะโดยเฉลี่ย จะเท่ากันทุกหนึ่งกิโลเมตร สิ่งสำคัญในการสร้างหลักกิโลเมตร ก็คือจุดประสงค์ในการบอกกับคนที่เดินทางรอนแรมมาไกลว่าเดินทางมาเท่าใดแล้ว และไกลแค่ไหนถึงจะไปสู่จุดหมายได้ โดยขึ้นอยู่กับว่าในประเทศนั้นใช้หลักใดในการวัดความยาว แบบเมตร หรือแบบไมล์
อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว หลายคนก็คงอยากรู้ใช่ไหมว่าหลักกิโลเมตรของไทยนั้นจะเริ่มที่ยุคใด ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นพร้อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่คนที่ใช้รถใช้ถนนนั่นเอง โดยคาดว่ามีการสร้างหลักกิโลเมตร พร้อมกับการสร้างถนนพหลโยธิน โดยใช้เพื่อกำหนดค่าบำรุงรักษาเส้นทางของกรมทางหลวง และใช้รหัสแขวงเป็นการแบ่งความรับผิดชอบ
นอกเหนือไปจากการใช้ในการสร้างหลักฐาน ในการออกฉโนดหรือเวนคืนที่ดิน โดยในปัจจุบันนั้นจะมีการปรับปรุงถนนหรือสร้างทางก็ตามที หลักกิโลเมตรนั้นอาจจะมีการคลาดเคลื่อนไปได้ โดยมีการวัดระยะเพื่อวางหลักใหม่ ซึ่งส่งผลให้ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งเกี่ยวกับที่ดินไม่ได้ นั่นเอง
ลักษณะเบื้องต้นของหลักกิโลเมตรเป็นแบบเสาปูน หรือเสาเหลี่ยม มียอดเป็นสามเหลี่ยม หรือพีระมิด ทาสีขาว โดยหลักกิโลเมตรมีตัวเลขบอกสามด้าน ด้านหน้า ด้านขวาและด้านซ้าย โดยด้านหน้าจะเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานใดที่รับผิดชอบ ทำให้ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ทำให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ตราครุฑ ในตัวครุฑมีหมายเลขทางหลวงอยู่ เป็นเลขที่บอกหลักกิโลเมตรว่าหลักที่เท่าใด
โดยเส้นทางที่อยู่ในความรับปิดชอบของกรมโยธาจะใช้รูปเทวดาสามองค์ ทำให้พบตามเส้นทางหลวงจากแผ่นดินไปหมู่บ้านต่าง ๆ ระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร
ในส่วนของถนนบางแห่งอาจจะไม่สมารถติดตั้งหลักกิโลเมตรได้ เช่นสะพาน จะใช้ป้ายกิโลเมตรแทน โดยเป็นป้ายห้าเหลี่ยม คล้าย ๆ กับหลักกิโลเมตรหากมองจากด้านหน้า แต่มีรายละเอียดก็คือสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หรือเลขหลักกิโลเมตรเท่านั้น โดยถนนบางสายติดตั้งหลักร้อยเมตรหรือป้ายร้อยเมตรก็ได้เช่นกัน ถนนแต่ละเส้นนับกิโลเมตรที่ 0 จากปากทางของถนนเส้นนั้น ๆ
หากว่าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่อยากทำความรู้จักกับ
หลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย แนะนำว่าให้ไปเที่ยว กทม.ก่อนอันดับแรก และไปที่อนุสาวรีย์ชัย แค่นี้เราก็ได้ไปเยือนหลักกิโลเมตรแรกของไทยแล้ว