ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


“โรคเครียด” โรคที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว!

 โรคเครียด

ปัญหาชีวิต สภาวะกดดัน เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาการเครียดวิตกกังวลกับเรื่องที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเครียดเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องส่วนตัว ปัญหาเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์ นั่นส่งผลให้คนส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่ามีโอกาสเป็นโรคเครียดได้โดยไม่รู้ตัว แล้วโรคเครียดนั้นเป็นอย่างไร ต้องเครียดแค่ไหนถึงเรียกว่าเป็นโรคเครียดและเราจะมีวิธีในการรับมือกับโรคเครียดได้อย่างไร มาทำความเข้าใจกันเลย

โรคเครียด คืออะไร

โรคเครียด (Adjustment Disorder) คือ สภาวะที่มีการสะสมความกดดันทั้งจากภายในและภายนอก ที่เข้ามาคุกคามทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย อาการเครียดสะสมจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ มีอาการเศร้าหมองไม่สดใส ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้

แต่ละคนจะมีความสามารถในการรับมือกับอาการเครียดที่แตกต่างกัน บางคนอาจสามารถจัดการกับอาการเครียดได้อย่างรวดเร็ว แต่บางคนไม่สามารถรับมือหรือจัดการกับความกดดันที่เกิดขึ้นได้จนอาจส่งผลให้เป็นโรคเครียดสะสมหรือโรคเครียดวิตกกังวลได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเครียด มีอะไรบ้าง?

สาเหตุความเครียด มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยงแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถรับมือได้ทันหรือไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถาณการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันสะสมจนเกิดเป็นภาวะเครียดสะสมขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคเครียดแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

1.ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกเช่น ความเครียดจากที่ทำงาน การเรียน การเงิน ปัญหาการเมือง สังคม คนในครอบครัว เป็นต้น

2.ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกิดจากสภาพร่างกายและจิตใจเช่น โรคจากทางจิตเวชอย่าง วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความบกพร่องของสารเคมีในสมอง ความเหนื่อยล้า การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

สังเกตอาการของโรคเครียด

อาการวิตกกังวลเครียดมักเกิดขึ้นโดยทันทีหลังจากที่ได้เผชิญกับสถาณการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดหรือประสบกับปัญหาต่าง ๆ โดยอาการคนเครียดอาจมีระยะเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ก็เป็นได้ ดังนั้นการตรวจโรคเครียดโดยเบื้องตันสามารถทำได้ด้วยตัวเองด้วยวิธีสังเกตุลักษณะของอาการความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเอง โดยโรคเครียดอาการจะมีลักษณะดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้า
  • มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อตามตัวและศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว เมือเท้าเย็น หายใจไม่ทั่วท้อง บางรายอาจมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก
  • มีพฤติกรรมในการทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างจากปกติ
  • จะนึกถึงภาพเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเครียดซ้ำ ๆ วนไปมา
  • ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
  • มีปัญหาในการนอนหลับ นอนหลับไม่สนิท
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเช่น หม่นหมอง ไม่สดใสร่าเริง หรืออาจจะหงุดหงิดได้ง่ายกว่าปกติ

ซึ่งอาการของโรคเครียดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ระดับด้วยกันคือ

1.Acute Stress
เป็นความเครียดระดับแรกที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น สภาพอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหรือสูงเกินไป การตกใจหรือกลัวต่อสิ่งเร้า ซึ่งความเครียดในลักษณะจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการตอบสนองจากสมองในทันที โดยการหลั่งฮอโมนที่ส่งผลให้เกิดความเครียดออกมา แต่เมื่อความเครียดหรือความกังวลหมดไปร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะปกติทันที

2.Episodic Acute Stress
เป็นความเครียดระดับที่สองที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นพร้อมกันหรือมีปัญหาหลาย ๆ เรื่องมารวมกันเช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการเงิน หรือปัญหาการทะเลาะภายในครอบครัว

3.Chronic Stress
เป็นความเครียดระดับที่สามที่จะเกิดขึ้นจากความกังวลที่มีระยะเวลายาวนานต่อเนื่องมาจนถึงขั้นกลายเป็นอาการเครียดสะสม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจและสภาพร่างกายในระยะยาว

การรักษาโรคเครียด ทำได้อย่างไร

รักษาโรคเครียด

โรคเครียดรักษาได้ไม่ยาก หลัก ๆ สามารถรักษาโรคเครียดได้โดยไม่ต้องใช้ยาอย่างเช่น การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด (Psychotherapy) เพื่อให้เข้าถึงต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะโรคเครียด นำไปสู่การเข้าใจตนเอง สามารถรับมือกับปัญหาและจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น
สำหรับอีกวิธีหนึ่งคือการรักษาโดยการใช้ยา

แพทย์บางท่านอาจจะพิจารณาให้ยากับผู้ที่มีอาการเครียดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์เจ้าของไข้ ยาที่ได้รับจะเป็นยาที่ช่วยให้คลายกังวลเช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines แต่ในบางรายแพทย์อาจจ่ายยาในกลุ่ม SSRI ร่วมด้วย

โดยส่วนใหญ่แล้วยาที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ที่มีอาการเครียดคือ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) ยาตัวนี้จะช่วยยับยั้งการหลั่งฮอโมนที่ส่งผลให้เกิดอาการเครียด และยาไดอะซีแพม (Diazepam) ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยา Benzodiazepines ซึ่งเป็นยาที่มีผลระงับประสาท แพทย์จึงไม่ค่อยนิยมนำยาตัวนี้มาใช้รักษาผู้ที่เป็นโรคเครียด เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา Diazepam

เมื่อเป็นโรคเครียดจะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อพบว่าตัวเองมีลักษณะอาการคล้ายกับโรคเครียด ทั้งที่อาจเกิดจากปัญหาชีวิตหรืออาจเกิดจากการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณืที่ไม่ได้คาดคิด สามารถดูแลตนเองได้ไม่ยากดังนี้

  • ทำกิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลายให้กับตัวเองเช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ
  • ทำกิจกรรมสังสรรค์ ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อน คนในครอบครัว ระบายปัญหาในกับคนรอบข้างได้ฟัง ช่วยให้รู้สึกโล่งใจและผ่อนคลายขึ้น อีกทั้งยังอาจได้รับความคิดเห็นดี ๆ ที่อาจช่วยแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้
  • มองโลกในแง่ดี เปลี่ยนมุมมองความคิด พยายามคิดว่าทุกปัญหามีทางออกอยู่เสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอนอกจากจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่แล้ว การพักผ่อนยังช่วยให้สมองปลอดโปร่งยังช่วยลดภาวะกดดันกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้

โรคเครียดป้องกันอย่างไร

หากต้องการป้องกันไม่ให้ตัวเองมีโอกาสเผชิญกับโรคเครียด สามารถป้องกันได้โดยทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้

  • แบ่งเวลาในการผ่อนคลายตัวเอง ให้เวลาตัวเองในแต่ละวันได้ทำในสิ่งที่ชอบอย่างเช่น การทำงานอดิเรก เล่นเกม นั่งสมาธิเป็นต้น
  • มองโลกในแง่บวก ฝึกจิตใจปรับแนวคิด ให้มีสติอยู่ตลอดเวลาและเชื่อว่าเราสามารถรับมือและแก้ไขกับปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยการมีสติ
  • เมื่อเจอปัญหาหรือเรื่องเครียด ให้ลองระบายหรือพูดคุยกับคนใกล้ตัวสามารถช่วยให้ผ่อนคลายขึ้นได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้สารเคมีในสมองสามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • หมั่นออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดหรือการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา เพราะอาจมีผลต่อการทำงานของสารเคมีในร่างกายได้
  • สำหรับคนที่ประกอบอาชีพที่มีความจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับสถาณการณ์อันตรายเช่น ทหารหรือตำรวจ ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ และปรึกษาจิตแพทย์หากเผชิญเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคเครียดและโรคอื่น ๆ ทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้

สรุปโรคเครียดจะมีวิธีรับมืออย่างไร

โรคเครียดอาการที่ไม่มีใครอยากเป็นแต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด ซึ่งเราสามารถป้องกันไม่ให้อาการของโรคเครียดรุนแรงขึ้นได้ แต่ในบางครั้งโรคเครียดก็อาจมีอาการที่รุนแรงหรือมีระยะเวลาที่ยาวนาน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุที่ร้ายแรงหรือเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเครียดตามมา