ในการติดตั้งฟิล์มติดกระจกบ้านนั้นนอกจากเราจะต้องมีงบประมาณในการติดตั้งที่เหมาะสมแล้ว การเลือกบริษัทติดฟิล์มกระจกบ้านที่มีประสบการณ์ก็จำเป็น รวมถึงการที่จะต้องทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารกันก่อนว่ามันมีกี่ประเภทหรือกี่ชนิดเพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ทำให้คุณนั้นสูญสิ้นเงินไปโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง และวันนี้บทความของเราก็ได้นำเอา 5 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารมาแนะนำให้คุณดูกันว่าแบบไหนที่จะเหมาะสมกับบ้านของคุณได้ดี
ฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารมีกี่ชนิด เลือกยังไงให้เข้ากับบ้านหรืออาคาร
ฟิล์มติดกระจกบ้านและอาคารเป็นรูปแบบของฟิล์มที่มีอยู่ด้วยกันอย่างหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปดังนี้
1.ฟิล์มปรอท
เป็นฟิล์มที่มีความมันวาวคล้ายกับกระจก ซึ่งก็ผ่านการฉาบด้วยโลหะต่าง ๆ ทำให้คนที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเข้ามาเห็นภายในได้ และยังสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี โดยสามารถลดอุณหภูมิภายในอาคารได้ประมาณ 10–30% ขึ้นอยู่กับความเข้มของฟิล์ม ยิ่งมีความเข้มสูง ก็ยิ่งลดความร้อนได้มาก แต่ก็จะทำให้แสงสว่างภายในอาคารลดลงด้วย
ซึ่งนอกจากคุณสมบัติในการกันความร้อนและความเป็นส่วนตัวแล้ว ฟิล์มปรอทยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ป้องกันรังสียูวี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตา, ป้องกันแสงจ้า ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น
รวมไปถึงการเพิ่มความหรูหราให้กับอาคาร ทำให้ในปัจจุบันฟิล์มปรอทได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีข้อเสียบางประการอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง หรือคุณสมบัติในการสะท้อนแสงที่อาจรบกวนผู้อยู่อาศัยในอาคารฝั่งตรงข้าม และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากได้รับสารปรอทปนเปื้อน
2.ฟิล์มกรองแสง (Light Filtering Film)
เป็นฟิล์มที่สามารถกรองแสงได้ดีและยังป้องกันรังสียูวีไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีความสามารถในการป้องกันรังสีนี้ได้ถึง 99% กันเลยทีเดียว และยังทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตและผิวของคนในภายบ้านได้
ซึ่งฟิล์มกรองแสง (Light Filtering Film) ถูกเรียกอีกชื่อว่าเป็นฟิล์มป้องกันแสง (Light Blocking Film) เพราะมักถูกใช้เพื่อปรับระดับความสว่างในห้องหรือพื้นที่ต่าง ๆ โดยการลดหรือบล็อกแสงที่เข้ามาผ่านทางกระจก ถือเป็นฟิล์มที่มีประโยชน์ในการควบคุมแสงได้อย่างง่าย ๆ ชอบสว่างมากก็เลือกระดับความเข้มน้อยหน่อย แต่ถ้าชอบมืด ๆ ก็เข้มจัดเต็มไปเลย
อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนจากแสงได้โดยที่ไม่ต้องใช้ระดับความเข้มที่มืดมากเท่าฟิล์มแบบปกติ แต่น่าเสียดายที่ประสิทธิภาพในส่วนนี้ยังไม่สามารถทำได้มากเท่ากับฟิล์มป้องกันความร้อนโดยตรง
อ่านต่อได้ที่
https://thaifilmsb.com/blog/many-types-window-film-are-there/