ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว ไม่ต้องกลัวรักษาให้ดีขึ้นได้

  ไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว
 

ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตในประจำวันเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้ผลกระทบแก่ร่างกาย และก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ เช่น ไบโพลาร์ ผู้ป่วยที่กำลังต้องเผชิญกับโรคไบโพล่า มักจะพบว่ามีความผิดปกติทางด้านอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงสลับไปมา หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ลักษณะทางด้านอารมณ์ของผู้ป่วยไบโพลาร์ คืออารมณ์ดีแบบสุดขั้ว หรือ อารมณ์ซึมเศร้า ส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้ป่วย และคนรอบข้าง

จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว มีอยู่ 60 ล้านคนในทั่วโลก และในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยอยู่ที่ 5 แสนรายได้เข้ารับการรักษาไบโพล่าแค่เพียง 2 หมื่นกว่ารายเท่านั้น จากผลสำรวจกรมสุขภาพจิต

ในบทความนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว รวมถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น อาการของผู้ป่วยไบโพลาร์ และวิธีดูแลรักษาผู้ป่วย

สาระน่ารู้ โรคไบโพลาร์ คืออะไร?
ไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าร์มักจะมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์เป็นหลัก ลักษณะของอารมณ์ที่แสดงออกมาจะแบ่งออกเป็น 2 อารมณ์ เช่นภาวะแมเนีย (Mania) คืออารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน และอารมณ์ซึมเศร้า (Depress) คือ ซึมเศร้า เสียใจ ร้องไห้ เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม และสาเหตุอื่น ๆ เช่นความเครียด  ผู้ป่วยไบโพลาร์ จะแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ขั้วตรงข้ามของตนเองสลับไปมา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะแสดงพฤติกรรมและอาการที่เปลี่ยนแปลงสลับไปมาเกือบทั้งวัน หรืออาจจะติดต่อกันเป็นสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผมกระทบทางด้านจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม และร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ควรรีบพบแพทย์ด้านจิตเวช เพื่อหาวิธีรักษาโรคไบโพล่าได้อย่างถูกวิธี และหายจากโรคนี้

สาเหตุของไบโพลาร์
สาเหตุของไบโพลาร์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่สาเหตุทำให้ผู้ป่วยเป็นไบโพล่า มักจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุรวม ๆ กัน โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นไบโพลาร์ มีดังนี้

  • เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ในส่วนของระบบสื่อสารเกิดความไม่สมดุล เช่น  สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารโดพามีน (Dopamine) และสารนอร์อารีนาลิน (Noradrenaline) ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม
  • พันธุกรรม พบว่าถ้าหากคนในครอบครอบไม่ว่าจะเป็น พ่อ หรือ แม่เคยมีประวัติเป็นโรคไบโพล่า มีความสุ่มเสี่ยงที่ลูกจะเป็นไบโพลาร์มากกว่าคนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้
  • ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด อุบัติเหตุที่ได้รับอาการบาดเจ็บตรงบริเวณศีรษะ ใช้สารเสพติด ความสูญเสีย และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไบโพลาร์หรือทำให้อาการของโรคอาจรุนแรงขึ้นได้

อาการที่เกิดขึ้นของไบโพลาร์

  ไบโพลาร์ อาการ
 

ช่วงซึมเศร้า (Depressive Episode)
ช่วงซึมเศร้า (Depressive Episode) เป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้าที่ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีลักษณะทางด้านอารมณ์เศร้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ความรุนแรงของช่วงซึมเศร้า จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ช่วงซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็ได้ ระยะเวลาของช่วงซึมเศร้าอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยแล้วมักประมาณ 2 สัปดาห์ หรือ 6 - 8 เดือน และในบางรายอาจจะเป็นปี

ลักษณะอาการของผู้ป่วยไบโพลาร์ ในช่วงซึมเศร้า (Depressive Episode) มีดังนี้

  • ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกหดหู่ ชอบเก็บตัวอยู่ตัวคนเดียว ไม่อยากพูดคุยกับคนอื่น เมื่อมีสิ่งที่ทำให้กระทบจิตใจก็จะทำให้เสียใจ และร้องไห้ได้ง่าย
  • ไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับตัว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไบโพลาร์ในช่วงซึมเศร้า การตัดสินใจของผู้ป่วยจะลดลง ทำให้ตัดสินใจได้ช้า ลังเลในการตัดสินใจ ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งได้สิ่งหนึ่งได้นาน
  • มองโลกในแง่ลบอยู่เสมอ มีความวิตกกังวลกับสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเอง และประเมินคุณค่าของตัวเองต่ำ รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า
    ผู้ป่วยไบโพลาร์ในช่วงซึมเศร้าหากพบว่าตัวเอง หรือมีคนรอบตัวมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ในทันที โดยผู้ป่วยอาจจะต้องประทานยารักษาโรคไบโพล่า ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ช่วงคึกคักระยะสั้น (Hypomania Episode)
ช่วงคึกคักระยะสั้น (Hypomania Episode) เป็นช่วงที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มีอาการอารมณ์ดีผิดปกติ เช่น  กระวนกระวาย พูดมาก คิดเร็ว นอนน้อย ขาดสมาธิ ตัดสินใจเร็วโดยไม่คำนึงถึงผลเสีย และมีอารมณ์ที่ก้าวร้าวเปลี่ยนสลับไปมา ซึ่งจะแตกต่างจากช่วงซึมเศร้าโดยสิ้นเชิง ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีอาการช่วงคึกคักระยะสั้นติดต่อกันประมาณ 4 วัน

ลักษณะอาการของผู้ป่วยไบโพลาร์ช่วงคึกคักระยะสั้น (Hypomania Episode) มีดังนี้

  • อารมณ์ดีผิดปกติ รู้สึกมีความสุข กระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
  • ผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์จะไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ ต้องเคลื่อนไหวตัวเองอยู่ตลอดเวลา และกระวนกระวาย
  • ชอบพูดคุยกับคนอื่น พูดไม่หยุด หากห้ามอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้าได้ในทันที
  • ตัดสินใจเร็ว ชอบคิดเร็วแล้วลงมือทำทันที จะไม่คิดก่อนทำจึงไม่มีความรอบคอบในการตัดสินใจ
  • ไม่มีสมาธิ ผู้ป่วยไบโพลาร์จะไม่สามารถจ่อจอกับสิ่งใดได้เลย จะวอกแวกอยู่ตลอดเวลา

ช่วงคึกคักระยะยาว (Mania Episode)
ช่วงคึกคักระยะยาว (Mania Episode) เป็นช่วงที่ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีอารมณ์ที่ผิดปกติ โดยมีช่วงซึมเศร้าสลับเปลี่ยนกับช่วงที่อารมณ์ดี หรือ คึกคักมากกว่าปกติ ระยะเวลาของอาการช่วงคึกคักระยะยาวจะพบได้ติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบให้กับผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน และกับคนรอบข้าง

ลักษณะของอาการผู้ป่วยไบโพลาร์ช่วงคึกคักระยะยาว (Mania Episode) มีดังนี้

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงสลับไปมา ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีอารมณ์ร่าเริง ดูมีความสุข คนรอบตัวมักจะสังเกตเห็นได้ว่าอารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนผิดแปลกไปจากเดิม ผู้ป่วยจะมีอาการติดต่อกันทุกวันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • ปัญหาการเรื่องของการพักผ่อน ผู้ป่วยจะนอนพักผ่อนได้น้อยลง หรือผู้ป่วยบางรายอาจจะนอนหลับได้แค่ 3 - 4 ชม.เพราะรู้สึกว่าตัวเองนอนเต็มอิ่มแล้ว
  • มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยไบโพลาร์จะรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ มั่นใจตัวเอง ด้วยกระบวนการทางความคิดของผู้ป่วยมีความผิดปกติอาจจะทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ และบางรายคิดว่าตัวเองมีพลังพิเศษ

จะรักษาไบโพลาร์ที่ไหนดี?

  ยารักษาโรคไบโพลาร์
 

ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงแบบขั้วตรงข้ามของตนเองที่เกิดจากสารเคมีในสมองระบบสื่อสารผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นที่ต้องกินยารักษาไบโพล่า เพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น โรคไบโพลาร์รักษาที่ไหนดี ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่มีแผนกด้านจิตเวช และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตเวช เพราะเนื่องจากไบโพลาร์เป็นโรคที่เกี่ยวกับจิตเวช ทางแพทย์ที่คอยดูแลรักษาผู้ป่วยจะเข้าใจผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์ได้อย่างดี และสามารถหาดูแลวิธีที่รักษาให้ผู้ป่วยหายจากอาการป่วยได้

วิธีดูแลคนใกล้ชิดที่เป็นไบโพลาร์
ก่อนจะรู้วิธีดูแลคนใกล้ชิดที่เป็นไบโพลาร์ ครอบครัว หรือคนรอบตัวที่ใกล้ชิดผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและวิธีการรักษาให้ดีเสียก่อน ถึงจะสามารถรู้ว่าควรปฏิบัติตัว ดูแลผู้ป่วยอย่างไร เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีอาการดีขึ้นและค่อย ๆ หายจากโรคอารมณ์สองขั้วนี้ สำหรับวิธีดูแลคนใกล้ชิดที่เป็นไบโพลาร์ จะทำอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน

  • ผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิดควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตบำบัดอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หมั่นเช็กเวลาที่ผู้ป่วยทานยาว่า ทานยาแต่ละวันครบไหม ห้ามให้ผู้ป่วยหยุดยาเอง
  • ให้ความรักและความกำลังใจเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรให้กำลังใจและการสนับสนุนผู้ป่วยอยู่เสมอ คอยอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือผู้ป่วยในทุก ๆ เรื่อง
  • ผู้ดูแลควรเข้าใจว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นผลมาจากอาการของโรคไบโพล่า ไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดีของผู้ป่วย ควรพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างใจเย็นและอดทน

วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยไบโพลาร์
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยไบโพลาร์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาและควบคุมอาการของโรค ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้

  • เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาอาการและป้องกันอาการโรคไบโพลาร์กำเริบ
  • ดูแลสุขภาพทั่วไปให้ดี เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • เรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์แปรปรวนของตนเอง นำคำแนะนำของนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์มาใช้เป็นแนวทางในการเปลี่ยนความคิด และเข้าใจอาการป่วยของตนเองเพื่อรับมืออาการที่เกิดขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ความเครียดจากเรื่องต่าง ๆ และการนอนหลับไม่เพียงพอ
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ผู้ป่วยไบโพลาร์อาจประสบปัญหาในการใช้ชีวิต เช่น ปัญหาในการทำงาน การเรียนจึงควรขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ใกล้ชิด

ไบโพลาร์ โรคทางใจรักษาได้
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคไบโพลาร์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และไม่ว่าจะเป็นปัจจัยใดก็ตามผู้ป่วยควรที่จะเข้ารับการรักษาเมื่อรู้ว่าตนเองมีอาการของโรคไบโพลาร์ การรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต