ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ต้อหิน หนึ่งในโรคภัยเงียบ อาการผิดปกติดวงตาที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยไว้

ต้อหิน การมองเห็น

ต้อหิน คือ กลุ่มโรคตาที่พบได้บ่อย สาเหตุมักเกิดจากความดันในลูกตาสูง น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลเวียนไม่สะดวก ไม่สามารถระบายออกได้ ส่งผลเสียหายต่อเส้นประสาทตา

หนึ่งในโรคร้าย ภัยเงียบ ที่ไม่มีสัญญาบ่งบอกการเกิดของโรค สำหรับโรคทางดวงตาอย่าง ต้อหิน ที่ผู้ป่วยมักจะไม่ทันได้สังเกต คิดว่าเป็นอาการทั่วไปสักพักก็หาย จนมารู้สึกตัวอีกทีก็เกิดอาการ ตาพร่ามัว มองไม่เห็นแล้ว เพราะต้อหิน มีผลต่อการมองเห็นของดวงตา ต้อหินมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 - 70 ปีขึ้นไป

ล่าสุดจากผลสำรวจพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เป็นโรคต้อหินมากกว่า 2 ล้านคนขึ้นไป และมีแนวโน้มผู้ป่วยต้อหินเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ดังนั้นแล้วเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้อหินที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการของต้อหิน สาเหตุการเกิดขึ้นต้อหิน วิธีรักษาต้อหิน และสาระอื่น ๆ ที่ควรรู้

ต้อหิน (Glaucoma) คืออะไร

glaucoma คืออะไร

ต้อหิน คือ หนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตา หรือการมองเห็น โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตนเองกำลังเริ่มเป็น หรือดวงตาเป็นต้อหินแล้ว เพราะต้อหินเป็นโรคที่ไม่บ่งบอก หรือส่งสัญญาณใด ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ทราบอย่างชัดเจน เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกมีความผิดปกติที่ดวงตา และจะทราบภายหลังว่าตนเองกำลังเป็นต้อหินตรงบริเวณดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไป ต่อให้ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีใดก็ตามก็ไม่อาจจะกลับมามองเห็นได้อย่างปกติ เนื่องจากรักษาต้อหินทำได้แค่เพียงประคองการลุกลามของต้อหินเพียงเท่านั้น แนะนำให้ทุกคนหมั่นสังเกตดวงตา หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ และตรวจเช็กสุขภาพดวงตากับจักษุแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันเกิดของต้อหิน

สาเหตุของต้อหินเกิดจากอะไร

ต้อหิน เกิดจากความผิดปกติที่ขั้วประสาทตา หรือความดันในตาสูงผิดปกติ จนทำให้เส้นประสาทของตาเกิดความเสียหาย และน้ำหล่อเลี้ยงดวงตามีหน้าที่สำคัญในการช่วยรักษาแรงดันภายในลูกตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเกิดน้ำขังในดวงตา จึงทำให้มีความดันตาสูง เป็นที่มาของต้อหิน แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อหิน เช่น ต้อหินมักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน และโรคไทรอยด์ หากมีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นต้อหินโอกาสเป็นจะมากกว่าคนที่ไม่เคยมีปประวัติของคนในครอบครัวเป็นต้อหินมากกว่า 4 เท่า เพราะว่าต้อหินสามารถถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์ได้ และผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงมีโอกาสเป็นต้อหินได้เช่นเดียวกัน

ชนิดของต้อหินมีทั้งหมดกี่ชนิด

ชนิดของต้อหินที่เกิดกับผู้ป่วยมีตาต้อหินสามารถแบ่งออกทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

ต้อหินชนิดมุมปิด

ต้อหินชนิดมุมปิดเรียกว่า ต้อหินปฐมภูมิ เกิดจากมุมตาถูกม่านตาปิดกั้น เป็นสาเหตุที่น้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ ทำให้เกิดความดันลูกตาเพิ่มขึ้นสูงตามมา ส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลาย เป็นการเกิดขึ้นของต้อหินเฉียบพลัน หรือต้อหินเรื้อรัง อาการของผู้ป่วยชนิดมุมปิดมักจะแสดงออกอาการ เช่น ปวดดวงตา ตาแดง ตาพร่ามัว คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และอาเจียน ส่วนของต้อหินเรื้อรังมักไม่มีอาการในระยะแรก เนื่องจากการเกิดของโรคเป็น ๆ หาย ๆ รวมกับวิงเวียนศีรษะ ต่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวดก็ไม่หาย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ในทันทีเพื่อเข้ารับตรวจวินิจฉัยอย่างถูกได้ และได้รักษาต้อหินอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความเลี่ยงการลุกลามของต้อหินได้ แต่จะไม่หายขาด ต้อหินชนิดมุมปิดจะพบเจอร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด

ต้อหินชนิดมุมเปิด

ต้อหินชนิดมุมเปิด เกิดจากท่อน้ำเลี้ยงตาอุดตัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ขั้วประสาทตาถูกทำลาย ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก ปล่อยให้โรคต้อหินเป็นระยะสุดท้าย จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ต่อให้รักษาด้วยวิธีใดก็ตามก็จะไม่สามารถกลับมามองเห็นได้อย่างปกติ ต้อหินชนิดมุมเปิดจะพบเจอร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด

ต้อหินแต่กำเนิด

ต้อหินแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่ในครรภ์ น้ำเลี้ยงตามีความผิดปกติ ลักษณะของเด็กที่เป็นตาต้อหิน มีดวงตาขนาดใหญ่กว่าเด็กทั่วไป ดวงตาไม่สู้แสง กระจกตา หรือตาดำมีสีขุ่น ไม่ใส และมีน้ำตาไหลออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้อหินเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดจากพันธุกรรมจากแม่สู่ลูกได้ หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้ตาบอดได้

อาการของต้อหินที่เกิดขึ้น

ต้อหิน อาการ

ลักษณะของอาการผู้ป่วยที่เป็นต้อหินในระยะแรก ผู้ป่วยต้อหิน จะไม่แสดงอาการเริ่มต้นอย่างได้ออกมให้ผู้ป่วยได้รับรู้ จนกว่าผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียการมองเห็นที่ละนิด รวมกับอาการของต้อหิน เช่น

  • มองเห็นเหมือนมีหมอกบังอยู่ที่ดวงตา
  • มองเห็นภาพได้แคบลง
  • มองเห็นสายรุ้งรอบดวงไฟ
  • กระจกตาขุ่นมากขึ้น
  • ตาพร่ามัว
  • มีน้ำตาไหลออกมา
  • ปวดตา วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

ตรวจวินิจฉัยของโรคต้อหินทางจักษุแพทย์จะตรวจวัดต่าง ๆ  และวิเคราะห์อาการต้อหินของผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยตรวจวินิจฉัยของโรคต้อหิน มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันตา จักษุแพทย์จะใช้เครื่องมือวัดความดันตาที่เรียกว่า TONOMETER ในการวัดความดันตา
  • ตรวจวัดความหนาของกระจกตา ตรวจสอบดูว่ากระจกตาที่บางลงอาจทำให้การวัดความดันตาคลาดเคลื่อน
  • ตรวจจอประสาทตา ตรวจสอบดูว่าเส้นประสาทตาได้รับความเสียหายหรือไม่
  • ตรวจลานสายตา ตรวจสอบว่าผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นในบริเวณใดบ้าง

วิธีรักษาต้อหินมีอะไรบ้าง

ยารักษาต้อหิน

โรคต้อหินเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคต้อหิน วิธีรักษาจะช่วยได้แค่ควบคุมการลุกลามของต้อหิน ลดความดันในดวงตา และลดความรุนแรงของอาการต้อหิน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่สูญเสียการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต วิธีรักษาต้อหิน มีดังนี้

  • ใช้ยารักษา ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาหยอดตา ยาเม็ด และฉีดยา จักษุแพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • ใช้เลเซอร์รักษา ใช้เลเซอร์เพื่อสร้างรูเล็กๆ ที่มุมตา เพื่อช่วยให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลเวียนได้ดีขึ้น
  • ผ่าตัดรักษา ผ่าตัดปลูกถ่ายท่อน้ำเลี้ยงดวงตา เป็นการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กเข้าไปในดวงตา เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลเวียนออกจากดวงตาได้ดีขึ้น

วิธีป้องกันหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคต้อหิน

วิธีป้องกันต้อหิน และหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคต้อหิน ดังนี้

  • ควรตรวจวัดความดันตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งกับทางจักษุแพทย์
  • ระมัดระวังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้กระทบที่ดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความดันอากาศต่ำ เช่น บนเครื่องบิน บนภูเขาสูง
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • หลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินซี และโอเมก้า 3
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง เดินเร็ว

ต้อหิน ภัยเงียบที่เป็นอันตรายต่อดวงตา

ถึงต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกการเป็นโรคต้อหินก็ตาม แต่ก็ยังมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ คือการตรวจเช็กความดันตาอย่างน้อยปีละครั้ง  หากเกิดความผิดปกติที่ดวงตา ไม่ว่าจะ ตาแดง ตาพร่ามัว เป็นต้อหิน หรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและถูกวิธี