ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


5 ประโยชน์ของดนตรีเปลี่ยนชีวิต จากทักษะสู่ความสำเร็จ

เล่นดนตรี

เล่นดนตรีมีความสำคัญต่อร่างกายและจิตใจ ประโยชน์มากมายของการเรียนดนตรีต่อการพัฒนาในหลายด้าน โดยเริ่มต้นเล่นดนตรีง่าย ๆ ด้วยตัวเองเปลี่ยนเสียงเพลงให้เป็นพลัง

เคยรู้สึกไหมว่า เสียงเพลงสามารถพาเราไปได้ทุกที่ ทุกอารมณ์ หรือสามารถสร้างความประทับใจให้กับใครบางคนได้อย่างไร? เล่นดนตรีเป็นกิจกรรมมีความสำคัญและมีประโยชน์ของดนตรีอย่างมากต่อทั้งบุคคลและสังคม

นอกจากจะเป็นการแสดงออกทางศิลปะที่สร้างความเพลิดเพลินหรือความสุขแล้ว การเล่นดนตรียังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ ดนตรีเปรียบเสมือนอาหารหล่อเลี้ยงหัวใจ  ภาษาสากลที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นใคร  มาจากไหน ล้วนสามารถสัมผัสกับพลังอันมหัศจรรย์ของเสียงเพลงได้

บทความนี้  จะพาไปสัมผัสกับโลกของดนตรี  เรียนรู้ประโยชน์ดี ๆ  มากมายที่การเล่นดนตรีนั้นมอบให้ เตรียมพร้อมเปิดใจ เปิดหูและเปิดประตูสู่โลกแห่งดนตรีอันไพเราะกันได้เลย!

การเล่นดนตรีสำคัญอย่างไร ช่วยในเรื่องไหนบ้าง

การเล่นดนตรี

การเล่นดนตรีนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งในด้าน ร่างกาย จิตใจ และ สังคม  ดังนี้

1. ด้านร่างกาย

  • พัฒนาสมอง: เล่นดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองหลายส่วน ช่วยให้ความจำดีขึ้น พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ยังช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก: การเล่นเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น เปียโน ไวโอลิน กีตาร์ ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณนิ้วมือ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลดีต่อทักษะการเขียน วาดภาพ หรือทำงานประณีตอื่น ๆ
  • พัฒนาประสาทสัมผัส: เล่นดนตรีช่วยฝึกการประสานงานระหว่างมือ ตา หู ช่วยให้การรับรู้ของประสาทสัมผัสดีขึ้น
  • พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว: เล่นดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่ต้องใช้มือหรือนิ้วมือ จะช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
  • เสริมสร้างสุขภาพ: การเล่นดนตรีช่วยลดความเครียด บรรเทาอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยลดความดันโลหิต และส่งเสริมสุขภาพร่างกายโดยรวม

2. ด้านจิตใจ

  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: เล่นดนตรีช่วยให้กล้าแสดงออก คิดนอกกรอบ ช่วยให้จินตนาการบรรเจิด สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
  • พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: เล่นดนตรีจะช่วยพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์
  • เพิ่มความมั่นใจ: การฝึกฝนหรือเล่นดนตรีช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา รวมทั้งกล้าแสดงออกมากขึ้น
  • ผ่อนคลายความเครียด: เสียงดนตรีมีพลังในการบำบัด ช่วยให้จิตใจสงบรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด หรือความวิตกกังวล
  • ฝึกสมาธิ: ดนตรีสามารถช่วยฝึกสมาธิ การเล่นดนตรี ต้องมีการนับจังหวะเพื่อไม่ให้ผิดจังหวะ หากเล่นเป็นวงแล้วยิ่งต้องมีสมาธิกว่าเดิม ไม่งั้นจะพาลให้คนอื่นเสียจังหวะไปด้วย
  • พัฒนาทักษะทางสังคม: เล่นดนตรีร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทำงานเป็นทีม รวมถึงการเข้าสังคม

3. ด้านสังคม

  • สร้างมิตรภาพ: เล่นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้คนได้พบปะ พูดคุย เล่นดนตรีร่วมกับผู้อื่นช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
  • เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร: ดนตรีเป็นภาษาสากล สามารถใช้สื่อสารความรู้สึก อารมณ์ รวมถึงความคิด
  • สร้างความบันเทิง: เล่นดนตรีช่วยสร้างความบันเทิง ความสนุกสนาน หรือรอยยิ้ม ให้กับผู้ฟัง
  • ส่งเสริมวัฒนธรรม: ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เล่นดนตรี ช่วยให้เรียนรู้ เข้าใจ สืบทอดวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรม ทำให้สังคมมีความหลากหลาย มีชีวิตชีวา
  • สร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์: การเข้าร่วมวงดนตรีหรือกิจกรรมทางดนตรีช่วยสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายทางสังคม

โดยสรุปแล้ว การเล่นดนตรีนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่งผลดีต่อสุขภาพ  พัฒนาสมอง  เสริมสร้างทักษะ  รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

5 ประโยชน์ของการเรียนดนตรี ที่ไม่ได้ให้แค่ความบันเทิง

ประโยชน์ของการเรียนดนตรี

ดนตรีช่วยสร้างความบันเทิง ความสนุก หรือความเศร้าได้ เรียกได้ว่าสามารถสร้างอารมณ์ให้กับทุกคนได้ ทั้งผู้ฟังหรือผู้เล่นดนตรีได้รับความบันเทิงเช่นกัน  ประโยชน์ของการเล่นดนตรีนั้น ไม่ได้มีดีแค่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ยังส่งผลดีต่อผู้เรียนในหลาย ๆ ด้าน

หัวข้อนี้ขอเน้น 5 ประโยชน์ของการเรียนดนตรี ที่จะทำให้รักการเล่นดนตรี หรือเสียงเพลงมากขึ้น มีดังต่อไปนี้

1. พัฒนาสมองและทักษะการเรียนรู้

เรียนดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน ช่วยให้ความจำดีขึ้น พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น มีความสามารถประมวลผลข้อมูลและการเรียนรู้ที่ดี และช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยพบว่า เด็กที่เรียนดนตรีจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี การเรียนดนตรีช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ รวมถึงความจำ

2. ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก

การเล่นเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น เปียโน ไวโอลิน กีตาร์ ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณนิ้วมือ ส่งผลดีต่อทักษะการเขียน วาดภาพ หรือทำงานประณีตอื่น ๆ การฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กยังช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสและการประสานงานระหว่างมือและตา

3. พัฒนาทักษะด้านภาษา

การเรียนดนตรีช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษา เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการรับรู้เสียง จังหวะ จำคำศัพท์ ออกเสียงที่ถูกต้อง ร้องเพลงช่วยฝึกการออกเสียง การใช้คำ และ การเรียบเรียงประโยคในภาษาใหม่ ทำให้การออกเสียงถูกต้องและชัดเจนขึ้น เรียนดนตรีบางประเภท เช่น เล่นดนตรีคลาสสิก ช่วยให้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศทำให้สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

4. เสริมสร้างวินัยและความรับผิดชอบ

การเรียนดนตรีต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้เด็กมีวินัย ความรับผิดชอบ ความอดทน
เล่นดนตรียังช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานเป็นทีม เคารพกฎระเบียบ เรียนรู้ที่จะระบุหรือแก้ไขข้อผิดพลาด การฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาและปรับปรุงตนเอง ยังช่วยพัฒนาความรับผิดชอบต่อหน้าที่

5. พัฒนาอารมณ์และจิตใจ

การเรียนดนตรีช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด หรือความวิตกกังวล เสียงดนตรีมีพลังในการบำบัด ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมีความสุข สดชื่น มีพลัง การเรียนดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม ช่วยให้กล้าแสดงออก สื่อสาร รวมทั้งเข้าสังคมได้ดีขึ้น

นอกจาก 5 ประโยชน์หลักๆ ที่กล่าวมาแล้ว การเรียนดนตรียังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย  เช่น  ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์  พัฒนาความมั่นใจ รวมถึงส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา

ดังนั้น การเรียนดนตรีจึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เหมาะสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย

สรุป

การเล่นดนตรีมีประโยชน์หลากหลาย ทั้งพัฒนาการทางสมอง เสริมสร้างทักษะทางสังคมและอารมณ์ เพิ่มความมั่นใจในตนเอง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยลดความเครียด ทำให้เป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีทั้งต่อบุคคลและสังคมโดยรวม ดังนั้นการเล่นดนตรีจึงเป็นกิจกรรมควรได้รับการส่งเสริมในทุกช่วงวัย