ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ภ.ง.ด. 90 คืออะไร? เตรียมยื่นแบบอย่างไร ยื่นวิธีการไหนดี

ภ.ง.ด. 90

ภ.ง.ด. 90 คืออะไร? บุคคลประเภทไหนต้องยื่น? ใช้เอกสารอะไรบ้าง มีวิธีการยื่นกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ต้องยื่นภายในกี่วัน เตรียมตัวอย่างไรดี

การยื่นภาษีถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มีเงินได้ต้องศึกษารายละเอียดการยื่นภาษีอย่างถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใครบ้างที่ต้องยื่นแบบภาษี ต้องทราบว่าจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องยื่นภาษีประเภทไหน  ภ.ง.ด. 90 กับ 91  ภ.ง.ด. 90 ยื่นเมื่อไหร่ รวมถึงเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการเป็นหลักฐานลดหย่อนภาษี เรามาทำความรู้จักวิธียื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ไปพร้อมกันเลย

ไขข้อข้องใจ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ต่างกันอย่างไร?

ภ.ง.ด. 90 กับ 91

ใครหลาย ๆ คน อาจจะมีข้อข้องใจว่า ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 คืออะไร มีข้อแตกต่างกันอย่างไร ผู้มีเงินได้จัดอยู่ในกลุ่มประเภทไหน  แต่ละรูปแบบมีข้อกำหนดการยื่นภาษีต่างกัน มาทำความรู้จัก ภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 เป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรรู้และต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง 

  • ภ.ง.ด. 90
ภ.ง.ด. 90 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ที่มีเงินได้กรณีทั่วไป ตามมาตรา 40 ( 1 ) ถึง ( 8 ) หลายประเภทหรือประเภทเดียว สำหรับ ภ.ง.ด. 90 มีประเภทเงินได้จากรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากงานประจำ ได้แก่ เงินได้จากการจ้างทั่วไป, เงินประจำตำแหน่งงาน, ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา, เงินจากดอกเบี้ยและเงินปันผล, ค่าวิชาชีพอิสระ, ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ, เงินค่าให้เช่าทรัพย์สิน รวมไปถึงเงินได้จากการธุรกิจ การอุตสาหกรรม การขนส่ง การเกษตร และอื่น ๆ

  • ภ.ง.ด. 91
ภ.ง.ด. 91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการจ้างงาน ตามมาตรา 40 (1) เพียงประเภทเดียว ซึ่งเงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จและบำนาญ, เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

จะเห็นได้ว่าแบบภ.ง.ด. 90 กับ ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกัน เพียงแค่แตกต่างที่ประเภทของเงินได้เท่านั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องทราบที่มาของรายได้ว่าตนเองจัดอยู่ประเภทไหนเป็นอันดับแรก จึงจะเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ให้ตรงกับที่มาของเงินได้

ใครบ้างที่ต้องส่งภ.ง.ด. 90?

หลาย ๆ คนสงสัยว่า ใครกันบ้างที่ต้องยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 มาดูกันว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด. 90 มีดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีเงินได้ไม่เกิน 60,000 บาท
  • บุคคลธรรมดาที่เป็นคู่สมรส ที่มีเงินได้จากฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
  • ทรัพย์สินมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้ 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมาย ที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้ในปีภาษีมาแล้วเกิน 60,000 บาท

วันเวลา และวิธีการยื่นภ.ง.ด. 90

ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการการชำระภาษี ภ.ง.ด. 90 ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผู้มีเงินได้สามารถยื่น
 ภ.ง.ด. 90 ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล โดยการยื่นภาษีมี 2 รูปแบบ ดังนี้

1. การยื่นภาษีแบบกระดาษ

โดยผู้มีเงินได้ ต้องทำการยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 พร้อมทั้งเอกสารประกอบการยื่นภาษีอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ดังนั้น จะต้องทำการกรอกภ.ง.ด. 90 และภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

2. การยื่นภาษีทางออนไลน์

ปัจจุบันผู้มีเงินได้ สามารถยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยภ.ง.ด. 90 และ 91 ยื่นภาษีออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ ระยะเวลาการยื่นภาษีทางออนไลน์ขึ้นอยู่ตามกำหนดเวลาของสรรพากร

เอกสารที่ต้องใช้เพื่อยื่นภ.ง.ด 90 มีอะไรบ้าง ยื่นได้ที่ไหน?

เอกสารประกอบการยื่น ภ.ง.ด. 90 โดยส่วนใหญ่เอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ยื่นแบบภาษี มีดังนี้

1. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากนายจ้าง เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงรายได้
2. เอกสารประกอบการลดหย่อนประเภทต่าง ๆ ของแบบยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 มีดังนี้

  • ประเภทประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ได้แก่ เอกสารรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา, เอกสารรับรองค่าเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพของตนเอง
  • ประเภทกองทุนต่าง ๆ ได้แก่ เอกสารรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, เอกสารรับรองการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, เอกสารรับรองค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นต้น
  • ประเภทการบริจาคและการลดหย่อนอื่น ๆ ตามเกณฑ์การยื่นของ ภ.ง.ด. 90 ได้แก่ เอกสารรับรองการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย, ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศล, ใบกำกับภาษีตามโครงการของรัฐบาลที่เข้าร่วมการลดหย่อนภาษี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขอคืน เป็นต้น

3. เอกสารของคู่สมรส จำเป็นต้องใช้เอกสารของคู่สมรสมาประกอบการยื่นแบบภ.ง.ด. 90 ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นใบทะเบียนสมรสและเอกสารรับรองบุตร

หากไม่ยื่นภ.ง.ด. 90 มีความผิดหรือไม่?

หากไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภายในกำหนดเวลา มีโทษตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทั้งนี้ สามารถขอลดค่าปรับได้ ดังนั้น หากไม่ยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 เกินกำหนดเวลา
 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นย้อนหลังได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษีพร้อมเงินอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมถึงชำระค่าปรับด้วย กรณีที่ไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ก็เพียงแค่ยื่นแบบพร้อมทั้งชำระค่าปรับเท่านั้น
 
สรุปการเตรียมพร้อมยื่น ภ.ง.ด. 90
 
ภ.ง.ด. 90 คือ

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือ ภ.ง.ด. 90 เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้มีเงินได้ต้องทราบและศึกษารายละเอียดให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพราะการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาให้เป็นไปตามกฎหมาย หากผู้มีเงินได้ทราบถึงประเภทการชำระภาษีของตนเอง วิธีกรอกภ.ง.ด. 90 รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการลดหย่อนภาษี ทำให้การยื่น ภ.ง.ด. 90 ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แล้วยังเป็นไปตามระยะเวลากำหนดของสำนักงานสรรพากรอีกด้วย ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับการยื่น ภ.ง.ด. 90 สำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้ส่งภ.ง.ด. 90 ยื่นภายในกำหนดเวลา ไม่ต้องวุ่นวายเสียค่าปรับตามมาด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2024, 04:50:14 AM โดย พรสัก ส่องแสง »