ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ สัญญาณอันตรายหรือเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด - http://www.tha

ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ สัญญาณอันตรายหรือเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

       เด็กอ่อนร้องไห้งอแงเป็นเรื่องปกติในช่วงวัยแรกเกิด การร้องไห้เป็นวิธีแรกของทารกในการสื่อสารให้รู้ถึงความต้องการ ทารกที่มีอายุมากกว่า 1 เดือนจะร้องไห้หลายรูปแบบเพื่อบอกความต้องการ เช่น ร้องเพราะหิว หงุดหงิด ผ้าอ้อมเปียก ท้องผูก ท้องเสีย รู้สึกเหงาหวาดกลัวต้องการแม่คอยปลอบใจ ถึงแม้จะเป็นคุณแม่มือใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปด้วยสัญชาตญาณของแม่จะเรียนรู้ได้เองว่าทำไมลูกน้อยถึงร้องไห้ แต่ในกรณีที่ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เป็นเวลานานอาจเป็นสัญญาณอันตราย บอกถึงความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ ทารกอาจเจ็บป่วย เกิดการติดเชื้อ บาดเจ็บ หรือมีปัญหาบางอย่าง อาจหมายถึงว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาสุขภาพทำให้เจ้าตัวน้อยร้องไห้ไม่หยุด

         ในช่วง 3-4 เดือนแรก ทารกร้องไห้ อาจเป็นการร้องจาก อาการโคลิค สิ่งสำคัญคือต้องคอยดูสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการร้องไห้ที่ไม่เป็นไปตามปกติ ดังต่อไปนี้
-ลูกร้องไม่หยุด หลับหูหลับตาร้องจนหน้าแดงตัวงอ
-ไม่โต้ตอบกับพ่อแม่หรือตอบสนองต่อวัตถุ
-นอนมากขึ้นหรือดูเหมือนจะไม่มีแรง
-ไม่กินนมอย่างน้อย 2 มื้อติดต่อกันหรืออาเจียน
-ไม่ขยับแขนหรือขา
-มีอาการบวมบางส่วนบนร่างกายและร้องไห้อย่างเจ็บปวดเมื่อแตะสัมผัสโดนหรืออุ้มเคลื่อนย้าย
-ตรวจดูพบว่ามีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
-อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสียรุนแรง

สัญญาณของความเจ็บปวดที่คุณแม่ต้องสังเกตให้ดี มีดังนี้
-เด็กทารกที่เจ็บปวดอาจหลับตาร้องไห้จนหน้าผากมีรอยย่น
-เสียงฮึดฮัดเมื่อหายใจ หายใจเสียงแหลม หรือกลั้นลมหายใจ
-กรีดร้องดัง กำหมัดแล้วเตะขาในอากาศ
-กระสับกระส่าย นอนพลิกตัวและขยับบ่อย

เพราะอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเล็กน้อยอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กร้องไห้ก็ได้ คุณแม่ควรตรวจสอบร่างกายส่วนต่าง ๆ ของลูกน้อยว่าตรงไหนที่เจ็บปวดบ้าง โดยให้สังเกตจาก
-เปิดผ้าอ้อมตรวจเช็คผิวหนังว่ามีผื่นคัน เปียกชื้น
-ผ้าอ้อมอาจรัดแน่นและเสียดสีอวัยวะเพศ(ชาย)
-ศีรษะเด็กกระแทกเมื่ออุ้มเข้าไปวางไว้ในเบาะรถยนต์
-เด็กตกหรือกระแทกบางอย่างทำให้เกิดรอยช้ำหรือรอยขีดข่วนเล็ก ๆ
-มีขนตาหรือวัตถุอื่น ๆ ในดวงตา ให้สังเกตว่าตาสีแดง ลูกน้อยกระพริบตาถี่
-มองหาบริเวณที่มีรอยแดงบนผิวหนัง อาจเกิดจากแมลงกัดต่อย ถ้าอักเสบรุนแรงให้จับแมลงและไปพบแพทย์ทันที

          หากลูกน้อยของคุณแม่ไม่มีอาการข้างต้นเหล่านี้  ถือเป็นสัญญาณของ เด็กร้องไห้ ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกต บางอย่างอาจไม่ได้เกิดจากตัวเด็กเอง สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ทารกแรกเกิดมักจะปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่นอกท้องของแม่ได้ยาก ยังต้องการความอบอุ่นอยู่เสมอ นอกจากการอุ้มปลอบแล้วควรให้ความอบอุ่น แต่งตัวให้ลูกใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ ปรับสภาพห้องนอนให้เงียบและเหมาะกับการพักผ่อนนอนหลับ ช่วยให้คุณแม่รับมือกับลูกน้อยที่มีอาการโคลิคได้ดียิ่งขึ้น สามารถแยกแยะได้ถูกว่าอาการร้องไห้ของลูกน้อยเป็นสัญญาณอันตรายหรือเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด

          ในส่วนของผลกระทบทางตรงที่เกิดจากภาวะโคลิค คือ เด็กเกิดอาการจุกเสียดเพราะมีแก๊สแน่นท้อง รู้สึกอึดอัดไม่ยอมกินนมจึงต้องพยายามให้เรอหรือผายลมออกมา ถ้าเด็กร้องไห้ต่อเนื่องบ่อย ๆ จะเกิดความเครียดในครอบครัวขึ้นได้ ส่วนผลกระทบในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อการนอนพักผ่อน เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพ เกิดโรคภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อน และอื่น ๆ หากคุณแม่รับมือกับอาการร้องโคลิกไม่ไหวควรขอความช่วยเหลือจากครอบครัวและพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและหาทางแก้ปัญหา