ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


อาการโคลิค และร้องงอแงธรรมดา ต่างกันอย่างไร

อาการโคลิค และร้องงอแงธรรมดา ต่างกันอย่างไร

   เด็กทารกร้องไห้งอแงกันทุกคน บางคนร้องง่าย บางคนร้องนาน แต่ทารกที่มีสุขภาพดีร้องให้นาน 2-3 ชั่วโมงโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนถือว่าไม่ปกติ อาจเป็น อาการโคลิค ซึ่งแตกต่างจากการร้องงอแงธรรมดา โคลิคไม่ใช่โรค เกิดขึ้นเองและมีช่วงเวลาที่จะหยุดได้เอง เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทารกบางคนประมาณ 3 ถึง 4 เดือนแรกของชีวิต

           ส่วนใหญ่ เด็กร้องไห้ งอแงคืออาการจุกเสียดแน่นท้องเนื่องจากแก๊สในกระเพาะ เกิดจากการดูดนมขวดและกลืนลมเข้าไปมาก อิ่มนมแล้วแต่ไม่ได้เรอออกมา พอคุณแม่อุ้มเรอก็หายปวดท้อง ในวัยเด็กแรกเกิดมักจะมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับโลกภายนอก หลังคลอดทารกแรกเกิดจะต้องพยายามคุ้นเคยกับแสง เสียงดัง และอุณหภูมิ เด็กมีบุคลิกที่แตกต่างกัน บางคนปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวได้ดี ส่วนเด็กคนอื่นที่ปรับตัวยาก การร้องไห้อาจเป็นวิธีแสดงความรู้สึกซึ่งพ่อแม่จะต้องเข้าใจและอุ้มปลอบให้สงบใจได้ง่าย
           ในกรณีที่ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ร้องเสียงดังแหลมไม่สามารถสงบสติอารมณ์ตัวเองได้ ร้องไห้อยู่หลายชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะเวลาเย็นถึงเที่ยงคืน ดูแตกต่างจากการร้องไห้ปกติ ใบหน้าแดงจัด กำหมัดและถีบขาขณะร้องไห้ ยิ่งร้องนานกลืนอากาศลงท้องในขณะที่ร้องไห้ ยิ่งทำให้มีอาการจุกเสียดแน่นท้องจนระเบิดเสียงดังมากขึ้นอีก เมื่อกังวล ลูกร้องไม่หยุด ควรพาไปพบคุณหมดให้ตรวจเช็คว่าเป็นเพราะอาการโคลิคที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไป หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ โดยคุณหมอจะสอบถามเกี่ยวกับอาการ ซักประวัติสุขภาพ เช่น
- ลูกน้อยร้องไห้นานแค่ไหน ร้องเวลาใดบ้าง
- คุณแม่สังเกตเห็นอะไรที่ดูเหมือนจะเป็นสาเหตุกระตุ้นให้ ทารกร้องไห้
- คุณแม่ใช้วิธีกล่อมให้ลูกน้อยสงบได้อย่างไร หรือลูกหยุดร้องไห้ไปเอง

         อาการโคลิคส่งผลเสียโดยตรงทำให้เด็กงอแงกินนมได้น้อยลง อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ในระยะยาวจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทั้งยังกระทบต่อพัฒนาการทางอารมณ์ กลายเป็นเด็กเลี้ยงยากและมีปัญหาการเข้าสังคมในอนาคต หากกังวลใจควรพาลูกไปให้คุณหมอ อาจตรวจร่างกาย ทำการทดสอบเลือดและถ่ายเอกซ์เรย์เพื่อให้รู้ว่าลูกน้อยของคุณแม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือไม่

       หากพบว่า อาการโคลิค ของลูกน้อยมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย จะช่วยบรรเทาอาการให้ลูกน้อยสบายและหยุดร้องไห้ง่ายขึ้น มีเคล็ดลับมากมาย เช่น
- หากลูกน้อยปวดท้องร้องงอแง เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย คุณแม่ที่ป้อนขวดนมควรเอียงขวดนมและอุ้มลูกน้อยในแนวตั้งให้คล้ายกับการดูดนมแม่ ช่วยลดการกลืนลมลงท้อง
- อุ้มพาดบ่าและนวดหลังให้เรอออกมา บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง
- อุ้มลูกโยกตัวไปมาหรือพาเดินเที่ยวให้สบายใจ ร้องเพลงกล่อมให้รู้สึกอบอุ่น
- ใช้ผ้าขนหนูห่อตัวให้หายหนาว หรืออาบน้ำให้เพื่อคลายร้อน

    การเรียนรู้วิธีที่จะเข้าใจสาเหตุที่ลูกน้อยร้องไห้ ช่วยให้พ่อแม่คุ้นเคยว่าร้องไห้แบบไหนเป็นอาการโคลิค และร้องแบบไหนเป็นอาการงอแงตามปกติ วิธีอะไรที่เหมาะกับเด็กคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลกับอีกคน ควรลองหลาย ๆ วิธีข้างต้น ว่าวิธีไหนได้ผลลัพธ์ดีที่สุด