ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


รู้จักโรคไบโพล่าร์ (อารมณ์สองขั้ว) และวิธีการรักษา


อาการเจ็บป่วยที่เกิดจากความเครียด หรือมีภาวะเครียดสะสม ส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน อารมณ์แปรปรวน ซึ่งพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่นอกจากสามารถเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวได้แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ ไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคหนึ่งที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคนี้หรือภาวะเครียดทั่วไป บทความนี้มีคำตอบครับ

โรคไบโพล่าร์ (อารมณ์สองขั้ว) คืออะไร ?
ไบโพล่าร์ คือโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ โดยอาการเหล่านี้อาจอยู่นาน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน และจะมีช่วงที่เป็นปกติคั้นกลาง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเข้าสังคม

อาการของโรคไบโพล่าร์ 
ผู้ป่วยไบโพลาร์ จะมีอารมณ์แปรปรวนสลับกันระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติโดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใด ๆ และอาการของโรคไบโพล่าร์ที่เห็นได้ชัดจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ และภาวะซึมเศร้า ซึ่งลักษณะอาการจะแตกต่างกัน ดังนี้ 

ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ 
รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้นหรือคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่
อารมณ์ดี และร่าเริงจนเกินไป อยู่ไม่นิ่ง
โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีเหตุผล
ทำกิจกรรมต่าง ๆ มาก ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน
 คิดเร็ว พูดเร็ว ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
มีความต้องการทางเพศสูง อาจมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าได้ง่าย
มีความประมาทในการใช้ชีวิต ใช้เงินฟุ่มเฟือย
ภาวะซึมเศร้า
รู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายไม่สดชื่น นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
ซึมเศร้า เสียใจง่าย ร้องไห้ 
ท้อแท้ ชีวิตสิ้นหวัง รู้สึกตนเองไร้ค่า
วิตกกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ 
ไม่มีความสุขในชีวิต ไม่มีอารมณ์ขันหรือสนุกสนาน
รู้สึกผิดหวัง อยากฆ่าตัวตาย
มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ จำสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้
ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
มีปัญหาในการนอนไม่หลับ บางครั้งอาจนอนมากจนเกินไป หรือนอนน้อยจนเกินไป
มีปัญหาในด้านการรับประทานอาหาร บางครั้งอาจรับประทานอาหารมาก หรือน้อยจนเกินพอดี 
มีแนวโน้มใช้สารเสพติด
ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคไบโพลาร์
อาการแทรกซ้อนของไบโพลาร์ที่พบได้แก่ การทำร้ายตัวเองเพื่อควบคุมอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ โดยมีผู้ป่วยร้อยละ 10-15 ที่พยายามฆ่าตัวตาย นอกจากนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่จะมีความผิดปกติเฉพาะทางด้านอารมณ์เท่านั้น และมีผลงข้างเคียงที่สามารถเกินสภาวะแทรกซ้อน อื่น ๆ ได้ อย่างเช่น โรคทางจิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับสมาธิหรือความปกติในการรับประทานอาหาร 


Background photo created by pressfoto – www.freepik.com

การวินิจฉัยโรคไบโพล่าร์ 
ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะต้องทำการรักษาโดยจิตแพทย์  เมื่อพบจิตแพทย์จะถูกตั้งคำถามจากคู่มือการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เพื่อทดสอบว่าผู้ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่ แพทย์จะทำการซักถามลักษณะอาการและปัญหา ซักประวัติครอบครัวว่ามีญาติที่เคยประสบปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ซักถามเคยมีความคิดที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ และสอบถามเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบต่ออารมณ์ เพื่อวิเคราะห์ภาวะความรุนแรงของโรคแล้วจึงจัดเตรียมหรือวางแผนขั้นตอนการรักษา

การรักษาโรคไบโพล่าร์
ผู้ป่วยไบโพล่าร์  เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์แล้ว จะได้รับการรักษาตามที่เหมาะสมกับความรุนแรงและลักษณะอาการ โรคไบโพลาร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถใช้ยาปรับสมดุลสารสื่อประสาทและการบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาและควบคุมอาการป่วยได้ ดังนี้

การรักษาด้วยยา ผู้ป่วยจะต้องรับยาปรับสารเคมีในสมอง ยาจะช่วยทำให้อารมณ์มั่นคงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น ยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต และยาต้านเศร้า มักใช้ช่วงสั้น ๆ ในระยะที่มีอาการซึมเศร้า
การรักษาด้วยการบำบัด เป็นการรักษาฟื้นฟูทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรับษาบำบัดจากจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องรับคำปรึกษาและการบำบัดทางจิต การเข้าร่วมกลุ่มบำบัดกับผู้ป่วยคนอื่น ๆ และการศึกษาเกี่ยวกับโรคความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ที่ตนเป็นอยู่ เพื่อให้รับมืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น โดยกิจกรรมบำบัดที่มีประโยชน์ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัดและโยคะ


การดูแล และป้องกันโรคไบโพลาร์
หมั่นสังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของผู้ป่วยก่อนที่อาการจะกำเริบ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
ศึกษาและทำความเข้าใจผู้ป่วย ทำให้ดูแลป้องกันอาการของโรคได้อย่างถูกต้อง
หลีกเลี่ยงหรือไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยไบโพลาร์อยู่ตามลำพัง
หากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น ดูหนังที่ผู้ป่วยชอบ เล่นเกมส์ พูดคุย หรือพาไปในสถานที่ใหม่ ๆ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย
พบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ไบโพลาร์ เป็นโรคเกี่ยวกับอารมณ์ จึงไม่มีวิธีดูแลรักษาให้หายจาดได้ 100 % แต่สามารถป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ และไบโพลาร์ ยังเป็นโรคทางอารมณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน การดูแลสุขภาพจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ และหากมีอาการของโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างคนปกติทั่วไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/bipolar-disorder/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/