เปิดโผทำเลที่ดินแพงที่สุดในปี 2563 เทียบกับชัด ๆ ระหว่างราคาประเมินราชการและราคาตลาดที่ดิน ทำเลไหนแพงกว่ากัน? แล้วราคาประเมินกับราคาตลาด ต่างกันอย่างไร ใช้ในวัตถุประสงค์ใดบ้าง มาดูกันในบทความนี้
ราคาประเมินราชการ กับ ราคาตลาดทีดิน ต่างกันอย่างไร?
เปรียบเทียบ 7 ทำเลทองราคาที่ดินสูงที่สุด ระหว่างราคาประเมินที่ดิน และราคาตลาดที่ดิน
ราคาประเมินราชการ กับ ราคาตลาดทีดิน ต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมราคาที่ดินแปลงหนึ่งจึงมีหลายราคา แล้วราคาประเมินที่ดิน กับ ราคาตลาดที่ดิต่างกันอย่างไร? อีกทั้งราคาที่ดินทั้งสองแบบยังต่างกันหลายเท่าอีกด้วย หากจะนำไปใช้อ้างอิงต้องดูให้ดี!
??
ราคาประเมิน คือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ซึ่งได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ ใช้เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กฎหมายกำหนด
??
ราคาตลาด คือ ราคาประเมินตลาดที่ดิน โดยนักประเมินวิชาชีพ ที่ใช้สำหรับการสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของที่ดินรายแปลง หรือ รายทำเล
แล้วราคาที่ดินทั้งสองแบบนี้ ใช้ต่างกันอย่างไร? ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีต้องการจะกู้ธนาคารเพื่อซื้อบ้านหลังหนึ่ง ก่อนธนาคารจะอนุมัติจะต้องได้รับการประเมินราคาตลาดโดยนักประเมินวิชาชีพก่อน เพื่อให้ทราบถึงมูลค่าของทรัพย์สินนั้น ๆ หลังจากทำเรื่องกู้ซื้อเรียบร้อย หากคุณจะไปโอนกรรมสิทธิ์ ค่าใช้จ่ายในวันโอน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ จะถูกคิดจากราคาประเมินราชการเป็นหลัก (หรือเทียบกับราคาซื้อขาย)
อ่านเพิ่มเติม สรุป ค่าใช้จ่ายวันโอนมีอะไรบ้าง และมาตรการลดหย่อนในปี 2564
7ทำเลราคาประเมินสูงสุดปี 2563
เปรียบเทียบ 7 ทำเลทองราคาที่ดินสูงที่สุด ระหว่างราคาประเมินที่ดิน และราคาตลาดที่ดิน
เทียบกันชัดๆ ราคาที่ดินปี 2563 ระหว่างราคาประเมิน กับ ราคาตลาดที่ดิน ต่างกันขนาดไหน? โดยเปรียบเทียบ
ราคาประเมิน
จากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินกรุงเทพมหานคร ในรอบบัญชีปีพ.ศ.2559-2562 ของกรมธนารักษ์ ที่ยังคงใช้เป็นฐานในการประเมินราคาที่ดินในปัจจุบัน ปี 2563 และปี 2564
ราคาตลาดที่ดิน
ซึ่งเป็นราคาที่ได้รับการสำรวจราคาที่ดินและในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกือบ 400 บริเวณ เป็นรายปีตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน โดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (
www.area.co.th)
อันดับ 1 ทำเลที่ราคาประเมินที่ดินแพงที่สุด คือ ถนนสีลม ราคาประเมิน 700,000 - 1,000,000 บาทต่อตารางวา แต่ราคาตลาดที่ดินสูงกว่ามาก คือ 2,500,000 บาทต่อตารางวา เรียกว่าห่างกัน 2-3 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งก็ช่วยให้ผู้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในทำเลดังกล่าวจ่ายค่าธรรมเนียมในวันโอนในอัตราที่ต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น
อันดับ 2 : ถนนเพลินจิต ราคาประเมินที่ดิน 900,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 3,240,000 บาทต่อตารางวา ต่างกันหลายเท่าเลยดีเดียว
อันดับ 3 : ถนนพระรามที่หนึ่ง ราคาประเมินที่ดิน 400,000 - 900,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 3,300,000 บาท/ตร.วา
อันดับ 4 : ถนนราชดำริ ราคาประเมินที่ดิน 750,000 - 900,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 2,150,000 บาทต่อตารางวา
อันดับ 5 : ถนนวิทยุ ราคาประเมินที่ดิน 500,000 - 750,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 2,750,000 บาทต่อตารางวา
อันดับ 6 : ถนนเยาวราช ราคาประเมินที่ดิน 700,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 1,750,000 บาทต่อตารางวา
อันดับ 7: ถนนพญาไท ราคาประเมินที่ดิน 500,000 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 1,430,000 บาทต่อตารางวา
หากเราดูข้อมูลตามราคาตลาดจะพบว่าทำเลที่ราคาที่ดินสูงที่สุด คือ ทำเลถนนพระราม 1 หรือบริเวณสยามสแควร์นั่นเอง ราคา 3,300,000 บาทต่อตารางวา สูงกว่าทำเลสีลม ที่มีราคาตลาด 2,500,000 บาทต่อตารางวา ไม่เหมือนกับราคาประเมินราชการ เพราะฉะนั้น หากเราจะนำราคาที่ดินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ควรตรวจสอบราคาให้ดีเสียก่อน
อยากดูข้อมูลราคาตลาดที่ดินกว่า 400 ทำเลในกรุงเทพปริมนฑล EEC และภูเก็ต ที่ได้รับการประเมินโดย Agency for Real Estate Affairs (AREA) ทุกปี ได้ที่
https://www.feasyonline.com ดูได้ทุกที่ ทุกเวลา
ราคาที่ดิน
เว็บไซต์อ้างอิง :
www.area.co.th