การจดทะเบียนบริษัทคงเป็นจุดมุ่งหมายของเจ้าของกิจการหลาย ๆ ท่าน เพราะการจดทะเบียนบริษัทจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวธุรกิจของเราในระยะยาว ทำให้เรามีระบบในการทำธุรกิจ และยังเป็นการแยกตัวธุรกิจเป็น “นิติบุคคล” อีกคนหนึ่งออกจากเจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยจำกัดความเสี่ยงจากหนี้สินของธุรกิจอีกด้วย
แต่ปัญหาหนึ่งของคนที่มีความคิดอยากจะจดทะเบียนบริษัทก็คือ
วิธีการจดทะเบียนบริษัท ต้องทำยังไง และต้องเตรียมตัวยังไงทำให้หลายคนถึงกับล้มเลิกความคิดที่จะจดทะเบียนบริษัทกันไปเลยก็มี เพราะขี้เกียจมานั่งศึกษาและทำความเข้าใจ แต่วันนี้เราได้ทำการรวบรวมข้อมูลแบบเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ
การจดทะเบียนบริษัท คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุนจัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กร วัตถุประสงค์หลักในการร่วมจัดตั้งกัน คือ การแสวงหาผลกำไร
ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัท
1. ตรวจสอบและจองชื่อบริษัทเงื่อนไขการตั้งชื่อบริษัทคือ
- ต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ
- ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่มีความหมายหรือเสียงเรียกขานตรงกับชื่อภาษาไทย
- สามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน
เพิ่มเติม : เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับรองชื่อ ไม่เช่นนั้นต้องทำการจองชื่อใหม่
2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ หรือ ข้อมูลสำคัญการจดทะเบียนบริษัท- ชื่อของบริษัท (ต้องเป็นชื่อที่ได้จองไว้และได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนแล้ว)
- ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ พร้อมเลขรหัสประจําบ้าน (หากไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่)
- วัตถุประสงค์ของบริษัท ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
- ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน (ไม่ต่ำกว่า 5 บาท/หุ้น) แต่ถ้าหากอยากให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือควรทุนจดทะเบียนขั้นต่ำที่ 100,000-1,000,000 (ส่วนมากจะนิยมจดกันที่ 1,000,000 บาท) และอย่าลืมว่าเงินทุนจดทะเบียนเป็นสิ่งที่แสดงงบประมาณที่ใช้ทำธุรกิจ และรวมไปถึงบอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั่นเอง
- จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
- ข้อมูลผู้ถือหุ้น: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ
- ข้อมูลกรรมการ: ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
- รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
- ข้อมูลผู้สอบบัญชีรับอนุญาต: ชื่อ เลขทะเบียน ค่าตอบแทน
- ตราประทับ (มี/ไม่มี ก็ได้)
- ข้อมูลพยาน 2 คน: ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน
3.ยื่นคำขอจดทะเบียนทำการยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการ หรือทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
เอกสารอื่นๆที่ต้องใช้
1. เอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียนบริษัทที่ผ่านการตรวจสอบเรียบร้อย พิมพ์ออกมาทุกหน้าแล้วนำมาให้ผู้ร่วมก่อการเป็นผู้เซ็น และ บุคคลที่เราตกลงให้เป็นผู้มีอำนาจในการบริหาร เซ็น
2. แบบจองชื่อนิติบุคคลที่เราได้ทำการจองไว้
3. สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ร่วมก่อการและกรรมการทุกคน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
4. หลักฐานการชำระค่าหุ้น ที่ออกให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคน ที่สำคัญคือต้องลงวันที่เป็นวันเดียวกับวันที่ในใบรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
5. แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท
ไม่ว่าทุนจดทะเบียนของกิจการจะเท่าไหร่ จะมีค่าธรรมเนียมการจัดตั้งบริษัทจำกัดอยู่ที่ 5,000 บาท (ราคา ณ ปัจจุบัน)
ไม่พลาดบทความดีๆ จากนรินทร์ทอง เที่จะทำให้คุณไม่พลาดเรื่องเงินและภาษี
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการจดทะเบียนบริษัท คงไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยใช่ไหมหล่ะคะ เพราการจดทะเบียนบริษัทต้องเตรียมเอกสารและกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ มากมาย จริง ๆ แล้วการจดทะเบียนบริษัทสามารถว่าจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ในการจดได้อย่างเช่นสำนักงานบัญชี ซึ่งสำนักงานเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งหลายมีความสะดวกรวดเร็วเพื่อใช้เวลาในการบริหารธุรกิจต่อค่ะ
ใครมีข้อสงสัยต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถาม
นรินทร์ทอง ได้ที่
Facebook :
นรินทร์ การบัญชีและภาษีช่องทางอื่นๆ :
นรินทร์ทอง