ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ไขข้อสงสัย ต้อกระจกอันตรายไหม ควรรักษาอย่างไร

ไขข้อสงสัย ต้อกระจกอันตรายไหม ควรรักษาอย่างไร

หากคุณสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของโรคต้อกระจกว่า ‘ต้อกระจกอันตรายไหม’ มีปัจจัยโรคแทรกซ้อนอะไรที่มาพร้อมกับโรคต้อกระจกบ้าง ผ่าตัดต้อกระจกอันตรายไหม ต้อกระจก ตาบอดไหม ผ่าตัดต้อกระจก จะมองเห็นไหม โดยในบทความนี้ เราจะมาอธิบายให้พวกคุณทราบถึงความอันตรายของโรคต้อกระจก พร้อมทั้งบอกถึงอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจกแต่ละประเภท รวมถึงแนะนำวิธีรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัด

ต้อกระจกอันตรายไหม?
ต้อกระจกอันตรายไหม อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยกัน โดยโรคต้อกระจก (Cataract) นั้น เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกวัย ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาจมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ยีนส์กรรมพันธ์ หรือหรือการติดเชื้อช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น

โรคต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมสภาพของโปรตีนจนทำให้เกิดการตกตะกอนด้วยเหตุนี้จะส่งผลให้ตัวเลนต์ตาเกิดความขุ่นมัว สภาพพื้นผิวแข็งกร้านขึ้น โดยอาการเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน มองเห็นภาพเบลอ ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่จดจ้องได้

หากผู้ป่วยพบเจอกับโรคต้อกระจกตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ หากโรคต้อกระจกอยู่ในระยะตัวต้อสุก ตัวเลนส์จะขาวโปนซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นได้ โดยถ้าเป็นเช่นนี้ควรรัดพบแพทย์เพื่อผ่าตัดให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงการเกิดตาบอด และภาวะแทรกซ้อนจากโรคต้อกระจกได้ในภายหลัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจก
ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจก

ต้อกระจกอันตรายไหม สามารถพิจารณาได้จาก 3 ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจก ได้แก่
1. ต้อลม (Pinguecula) คืออาการของเยื่อบุตาขาวเกิดการตกตะกอนโดยจะเป็นก้อนแผ่นสีขาวปนเหลืองขนาดใหญ่อยู่ใกล้กระจกตา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่หัวตาและหางตา ต้อลมนั้น จะทำให้ดวงตาของผู้ป่วยมีอาการระคายเคือง แสบตา ตาแดง และน้ำตาไหลเหมือนมีเศษผงเข้าตา
2. ต้อเนื้อ (Pterygium) สามารถเกิดได้จากการเป็นต้อลม ซึ่งจะทำให้ก้อนบุขาวบังรูม่านตาส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นภาพเบลอ สายตามัว
3. ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากการทำงานเส้นประสาทของดวงตาเสื่อมสภาพ เพราะความดันในเลือดของดวงตาอยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้ความดันกดเส้นประสาทตาฉีกขาดได้

สัญญาณเตือนอาการต้อกระจกขั้นรุนแรง
สัญญาณเตือนอาการต้อกระจกขั้นรุนแรง

หากต้องการทราบว่าต้อกระจกอันตรายไหม ดูได้จาก 4 สัญญาณเตือนอาการต้อกระจกขั้นรุนแรง มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะดังนี้
1. ระยะเริ่มแรก (The Early Stage)
เมื่อใช้สายตาจดจ้องภาพตรงหน้าจะไม่สามารถโฟกัสสายตาได้เหมือนช่วงสายตาปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะสายตามัว มองเห็นภาพซ้อนเล็กน้อย และมองแสงสว่างก็จะทำให้เห็นภาพสะท้อนได้ส่งผลให้ตารู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ โดยในระยะนี้สามารถแก้อาการต้อกระจกได้โดยเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และรักษาต้อกระจกโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดในระยะแรก

2. ระยะก่อนต้อแก่ (The Immature Stage)
ระยะนี้ส่วนประกอบของแก้วตาจะขุ่นเป็นก้อนขาวบาง ๆ อยู่ตรงกลางของดวงตา โดยในระยะนี้ไม่ควรใช้สายตามองภาพด้วยตาเปล่า ควรสวมแว่นตาเพื่อช่วยโฟกัสการมองเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น

3. ระยะต้อแก่ (The Mature Stage)
ตรงบริเวณแก้วตาจะมีความขุ่นมากขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งก้อนขาวที่เกิดจากโปรตีนที่ตกตะกอน ได้แพร่กระจายไปที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอวัยวะตาทั้งหมด โดยมันสามารถส่งผลข้างเคียงต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สำหรับในระยะนี้แพทย์จะนัดผ่าตัดเพื่อไม่ให้ต้อแพร่กระจายไปที่ขั้วประสาทตา

4. ระยะต้อสุกเกิน (The Hypermature Stage)
แก้วตาจะขุ่นมัวมากขึ้น ต้อจะมีความหนาและกดทับเส้นเส้นใยประสาทส่วนตา หากต้อไปกดทับเส้นใยไปเป็นจำนวนมากส่งผลให้ภาพส่งไปยังสมองได้น้อยลง โดยระยะนี้ต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วนที่สุด ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ตัวต้อเกิดอาการแทรกซ้อนอย่าง อาการต้อหินซึ่งมีผลทำให้เส้นใยตรงขั้วประสาทตาถูกกดทับและสูญเสียการมองเห็นได้

วิธีรักษาโรคต้อกระจก
การรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัด
ต้อกระจกอันตรายไหม สำหรับผู้ป่วยต้อกระจกในระยะแรก อาจยังไม่อันตรายมากนักและอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด โดยใช้การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาตามคำแนะนำของแพทย์ และสวมใส่แว่นตาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เกิดต้อกระจกโดยเฉพาะ

การรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัด
สำหรับในกรณีของผู้ป่วยซึ่งอยู่ในระยะต้อแก่และต้อสุก ทางแพทย์จะแนะนำวิธีการผ่าตัดต้อกระจก โดยมี 2 แบบดังนี้
1. การวิธีสลายต้อกระจกด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Phacoemulsification)
การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยโรคต้อกระจกระยะต้อแก่ ในช่วงแรกของการผ่าตัด แพทย์จะจัดเตรียมยาหยอดยาชาเข้าสู่ดวงตา หลังจากนั้นจะผ่าตัดเพื่อเปิดแผลเลนส์ตาด้วยขนาดความกว้าง 3 มล. เพื่อนำเครื่องมือรักษาสลายตะกอนขุ่นของตัวเลนส์ตาทั้งหมด

เมื่อใช้เครื่องมือสลายต้อเรียบร้อยแล้ว จะเหลือเปลือกหลังบริเวณเลนส์ตา แพทย์จะเตรียมเลนส์แก้วตาเทียม (Intraocular Lens) ใส่เข้าไปแทนที่ หลังผ่าตัดแผลจะมีขนาดเล็ก ซึ่งตาของผู้ป่วยจะฟื้นฟูได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล ถ้าตาผ่านช่วงการรักษาเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะมองเห็นได้อย่างปกติ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ

2. วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction)
การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกระยะต้อสุก ซึ่งบริเวณเลนต์ตาจะมีความแข็งอย่างมากจนผ่าตัดด้วยการสลายตัวของคลื่นอัลตราซาวด์ไม่ได้

การผ่าตัดต้อกระจกร่วมกับการฟื้นฟูค่าสายตา
แพทย์จะเตรียมการตรวจสายตาให้กับผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ต้องการรักษาค่าสายตาในทีเดียว โดยทุกกระบวนการผ่าตัดต้อกระจกจะใช้เลนส์แก้วตาเทียมใส่ไว้ที่เปลือกหลังเลนส์ตาอยู่เสมอ โดยคุณสมบัติของเลนส์ตาเทียมสามารถใช้รักษา สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง เพื่อให้กลับมามองเห็นคมชัดเหมือนเดิม

ตามปกติ เลนส์แก้วตาเทียมจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยแบ่งเป็น
  • เลนส์แก้วตาเทียม ชนิด Monofocal Intraocular Lens (Monofocal IOL)ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคต้อที่อยากรักษาค่าสายตายาว
  • เลนส์แก้วตาเทียม ชนิด Toric Intraocular Lens (Toric IOL) ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคต้อที่อยากรักษาค่าสายตาเอียง
หลังการผ่าตัดแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือสัมผัสกับดวงตาโดยตรง และไปยังสถานที่ที่มีลมพัด แสงแดดจ้า และไม่ควรให้น้ำเข้าตา 1 อาทิตย์ ถ้าผู้ป่วยต้องการล้างหน้า ควรใช้ผ้าชุบน้ำแทนการล้างหน้าโดยการใช้น้ำ และควรรับประทานยาพร้อมทั้งมาตามนัดแพทย์ ถ้าในระหว่างการรักษาตัวมีอาการผิดปกติทางดวงตาบริเวณที่ผ่าตัด ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ต้อกระจกไม่ผ่าได้ไหม
ต้อกระจกอันตรายไหม? ต้อกระจกไม่ผ่าได้ไหม? สามารถตอบเลยว่าได้ค่ะ แต่จะเหมาะกับผู้ป่วยโรคต้อกระจกในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งการมองเห็นเลือนราง มองเห็นภาพพร่ามัวเป็นบางครั้ง แต่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อนของโรคต้อกระจก หากผู้ป่วยเป็นโรคต้อกระจกซึ่งอยู่ในระยะต้อแก่จนไปถึงต้อสุก ควรต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้ต้อกระจายไปยังบริเวณตาทั้งหมดอาจทำลายสายใยขั้วประสาทตา ซึ่งส่งผลให้ตาบอดในที่สุด

การผ่าตัดต้อกระจก
ต้อกระจกอันตรายไหม? สามารถผ่าตัดต้อกระจกได้ไหม? สำหรับการผ่าตัดต้อกระจก (Cataract Surgery) จะไม่ทำอันตรายแก่ดวงตา เพราะช่วงการผ่าตัด ทีมแพทย์จะไม่ใช้ยาสลบ อีกทั้งระยะเวลาในการผ่าตัดต้อกระจกใช้เวลาแค่ 25-30 นาที ซึ่งเมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วผู้ป่วยพักฟื้นในเวลาไม่นาน จากนั้นสามารถกลับบ้านได้

ข้อสรุป
ต้อกระจกอันตรายไหม? สามารถตอบได้ว่าช่วงเริ่มต้นของโรคต้อกระจก ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์และรับประทานยา พร้อมทั้งเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตา ถ้าผู้ป่วยเป็นต้อกระจกระยะต้อแข็งหรือต้อสุก ควรทำการนัดผ่าตีดให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจกซึ่งสามารถทำลายการมองเห็นได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2022, 04:19:34 AM โดย เดซี่ คิม »