ผนังกันไฟ สำหรับงานก่อสร้างถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากเพลิงไหม้ ผนังกันไฟนี้จะเป็นตัวช่วยชะลอและป้องกันการแพร่กระจายของไฟได้ดี ถ้าหากคุณกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับผนังกันไฟ ในวันนี้ทาง V.K.B ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในบทความนี้แล้ว
ผนังกันไฟ คืออะไร?
ผนังกันไฟ คือ โครงสร้างที่ใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างจำพวกโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ตามบันไดหนีไฟในอาคารต่างๆ ถูกออกแบบมาเพื่อชะลอการแพร่กระจายของความร้อนที่เกิดขึ้นจากเปลวไฟในกรณีฉุกเฉิน โดยส่วนประกอบหลักๆ ของผนังกันไฟ คือ อิฐที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร และไม่มีรูหรือช่องที่ทำให้ควันไฟสามารถลอดผ่านได้
ทำไมถึงต้องมีผนังกันไฟ?
ความสำคัญของผนังกันไฟสำหรับสิ่งปลูกสร้างถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี เนื่องจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ห้องคลีนรูม รวมถึงพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอาคาร ในพื้นที่ลักษณะนี้มักจะนิยมใช้ฉนวนกันไฟที่เรียกว่า "PIR (Polyisocyanurate foam)" ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง 400 องศา และมีน้ำหนักเบา ที่สำคัญเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าฉนวนชนิดอื่นๆ
วัสดุที่กันไฟและเป็นฉนวนกันความร้อน มีกี่แบบ แบบไหนใช้เป็นผนังกันไฟ?
ในหัวข้อนี้ทาง V.K.B จะพาทุกคนไปรู้จักประเภทของวัสดุที่ใช้กันไฟ และ เป็นฉนวนกันความร้อนที่นอกเหนือจากผนังก่ออิฐแบบทั่วไป แล้ววัสดุประเภทไหนจะทนความร้อนได้ดีที่สุด? ตามไปดูกันเลย!
1. ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) มีลักษณะเป็นแผ่น มีพื้นผิวเรียบ และมีความเหนียว จึงทำให้คงทนไม่ฉีกขาดง่าย มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้ดี แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันความร้อนที่เข้าสู่ภายในบ้าน ดังนั้นฉนวนชนิดนี้จึงมักจะถูกติดตั้งบริเวณของโครงหลังคา และควรใช้งานร่วมกับฉนวนประเภทอื่นๆ เพื่อเสริมคุณสมบัติกันความร้อน
ข้อดี คือ- มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ
- ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนสูงสุด 97%
- มีค่าความเหนียว จึงทำให้แข็งแรง คงทน
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่ไม่มีสารระคายเคืองต่อมนุษย์
ข้อเสีย คือ- ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง
- ไม่สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้
2. ฉนวนใยเซลลูโลส (Cellulose) เป็นวัสดุจากกระบวนการรีไซเคิลผสมเคมี ลักษณะของฉนวนใยเซลลูโลสแบบแผ่นจะถูกติดบนแผ่นยิปซัม เพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยทั่วไปแล้วฉนวนใยเซลลูโลสจะถูกนำมาประยุกต์ใช้งานผนังห้อง ผนังของอาคาร รวมถึงใต้หลังคาของอาคาร เป็นต้น
ข้อดี คือ- มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี
- สามารถลดการก้องหรือสะท้อนของเสียงได้
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รีไซเคิล)
- ไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ข้อเสีย คือ- มีโอกาสยุบตัว เพราะเป็นฉนวนรูปแบบพ่น การควบคุมความหนาแน่นอาจไม่ได้ตามมาตรฐาน
- ไม่ทนต่อน้ำและความชื้นในอากาศ
- เป็นเส้นใยธรรมชาติ สามารถติดไฟได้
3. ฉนวนโพลียูริเทน (Polyurethane) วัสดุกันไฟโพลียูริเทนเป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟม เพื่อป้องกันความร้อน ฉนวนชนิดนี้มีความหนาแน่น ภายในมีช่องอากาศเป็นโพรงจำนวนมาก (Air Gap) จึงสามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี
ข้อดี คือ- ป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด หากเทียบกับฉนวนประเภทอื่นๆ
- ป้องกันการรั่วซึมความชื้น และป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี
- มีเนื้อที่ละเอียด สามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี
- มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน รองรับน้ำหนักได้ดี
- สามารถหุ้มผนังห้องเย็นได้ทุกด้าน
- ใช้ได้กับหลังคาทุกประเภท เช่น กระเบื้อง สังกะสี อลูมิเนียม คอนกรีต และ เหล็ก
- ฉนวนโพลียูริเทนแบบโฟมสำหรับฉีดพ่น สามารถนำไปฉีดพ่นไว้บริเวณใต้หลังคาเก่าได้
ข้อเสีย คือ- หากเกิดเหตุไฟไหม้สามารถติดไฟได้ แต่ไม่เกิดการลุกลามของไฟ
- เมื่อไฟไหม้มีโอกาสเกิดควันพิษ สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
- หากโดนอุณหภูมิร้อนจัดอาจทำให้เปลี่ยนสภาพ
- หากช่างที่ฉีดพ่นขาดความชำนาญ ฉนวนสามารถฟุ้งกระจายได้
4. ฉนวนแคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) มีลักษณะเป็นผงอัดเป็นแผ่นสำเร็จ วัสดุด้านในประกอบไปด้วย ทราย ซิลิเซียส น้ำปูนขาว และเส้นใยเพื่อเพิ่มการเสริมแรง ไม่มีส่วนผสมของใยหิน (Asbestos) มีความสามารถในการปรับค่าอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็วตามสภาพอากาศ
ข้อดี คือ- มีคุณสมบัติต้านทานความร้อน และทนไฟ
- ไม่มีส่วนผสมของใยหิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- มีความหนาแน่นสูง รับแรงกระแทกได้ดี
- สามารถตัดต่อ และทาสีทับได้
ข้อเสีย คือ- ไอน้ำสามารถแทรกซึมได้ง่าย
5. ฉนวนใยแก้ว (Microfiber) ทํามาจากวัสดุที่เป็นแก้ว หรือ เศษแก้ว แล้วนํามาหลอมเป็นเป็นเส้นใยไฟเบอร์ละเอียดขนาดเล็ก มีโครงสร้างเป็นรูพรุน จึงสามารถช่วยระบายความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี หากต้องการใช้งานฉนวนใยแก้วแบบผนังจะอยู่ในรูปแบบของผนังสำเร็จรูปไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติป้องกันเสียงรบกวน มีน้ำหนักเบา และทนทานต่อแรงดึงได้ดี
ข้อดี- มีคุณสมบัติการนำความร้อนต่ำ จึงช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร
- มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว
- มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ
- ป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้ดี
ข้อเสีย- เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่เหมาะกับการใช้งานในที่เปิดโล่ง
- เมื่อวัสดุเสื่อมสภาพ มีโอกาสเกิดละอองขนาดเล็ก เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ตัวเชื่อมประสาน (binder) สามารถติดไฟ และอาจลุกไหม้ได้
- อัตราการแทรกซึมของไอน้ำสูง จึงควรมีวัสดุหุ้มกันไอน้ำ
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักประเภท และ คุณสมบัติของผนังกันไฟกันไปแล้ว ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอาคารทุกประเภท ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร ควรเลือกที่เหมาะสมตามการใช้งาน เพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุน และประสิทธิภาพในระยะยาว
มองหาผู้รับเหมาก่อสร้างคุณภาพดี เลือก V.K.B
ผนังกันไฟเป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับคุณได้ และถ้าหากใครต้องการตัวเลือกที่ดี แนะนำว่าต้องเลือกผู้รับเหมาที่ช่วยให้คำปรึกษา และ วางแผน เกี่ยวกับงานก่อสร้างของคุณให้ออกมามีประสิทธิภาพ อย่าง V.K.B contracting บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่พร้อมให้คำปรึกษา และช่วยเหลือปัญหาด้านการก่อสร้างทุกรูปแบบ ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 30 ปี ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าทุกบริการจะตอบโจทย์ความต้องการ และ มีคุณภาพอย่างแน่นอน
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
สามารถสอบถาม
V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook :
VKB ContractingLine :
@vkbthTel :
081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637Email :
vkb.cont@gmail.com