ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


สังเกตอาการโรคต้อกระจก (Cataract) รู้ก่อนรักษาก่อน!

ต้อกระจก

อาการตามัว มองเห็นไม่ชัด เห็นแสงจ้า  มองเห็นภาพซ้อน  ระดับค่าสายตาเปลี่ยนแปลง อาจเป็นอาการของ ต้อกระจก ในปัจจุบันยังไม่มียากินหรือยาหยอดใดที่สามารถรักษาให้ต้อกระจกลดลงหรือหายได้ ซึ่งการผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีการรักษาหลักและได้มาตรฐาน

หากเป็นต้อกระจกแล้ว หรือพบภาวะผิดปกติทางการมองเห็น ควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งก่อนและหลังการรักษา เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย


ต้อกระจก (Cataract) คืออะไร
ดวงตาที่เป็นต้อกระจก เทียบกับดวงตาปกติ

ต้อกระจกคือภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดการขุ่นของ “เลนส์ตา” ปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่ช่วยในการรวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี เมื่อเกิดต้อกระจก ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัว พบบ่อยในผู้สูงอายุ



ต้อกระจกเกิดจากสาเหตุใด
สาเหตุของต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมของโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาขุ่นและแข็งขึ้น ต้อกระจกในผู้สูงอายุมักพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักคือ เป็นความเสื่อมตามวัย โดยสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่อาจพบต้อกระจกอายุน้อยได้เช่นกัน เช่น ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจก
นอกจากนี้ยังมีการเกิดต้อกระจกจากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น
  • มีโรคประจำตัวที่ส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกได้ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน ๆ
  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • โรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ สายตาสั้นมาก ๆ เคยผ่าตัดตามาก่อน เช่น หลังผ่าตัดจอตา
  • การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
  • เคยโดนฉายรังสีในส่วนบนของร่างกาย ศีรษะ
  • เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตาหรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อย ๆ


อาการส่งสัญญาณเตือนโรคต้อกระจก
อาการของโรคต้อกระจก สามารถแบ่งได้หลายระยะ

ต้อกระจกมีกี่ระยะ อาการเป็นอย่างไร
โรคต้อกระจก อาการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่…
  • 1. ระยะเริ่มแรก (early cataract) เป็นระยะที่แก้วตามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทำให้ตาเปลี่ยนโฟกัสเวลามองไกลมามองใกล้ หรือมองใกล้ไปมองไกลทำได้ยากขึ้น หรือไม่ชัดเท่าที่ควร บางคนอาจจะสังเกตว่าตามัวลง อาจเห็นแสงสะท้อนจากดวงไฟ ซึ่งรบกวนการมองเห็น ตลอดจนทำให้ตาเมื่อยล้าง่าย
  • 2. ความขุ่นมีมากขึ้น อยู่ในระยะก่อนต้อแก่ (immature cataract) เป็นระยะที่ protein ในแก้วตาขุ่นมากขึ้น มักจะเริ่มขุ่นตรงกลาง ระยะนี้แพทย์มักจะแนะนำทำแว่นสายตาช่วยการมองเห็นและตัดแสงสะท้อน หรืออาจใช้แว่นกันแดด พอจะช่วยให้เห็นดีขึ้นบ้าง
  • 3. ระยะที่แก้วตาขุ่นมากทั้งอัน อยู่ในระยะที่เรียกว่าต้อแก่หรือต้อสุก (mature cataract) ความขุ่นของแก้วตาจะกระจายไปถึงขอบ ลามไปแก้วตาทั้งหมด เป็นระยะที่มักทำให้ตามัวลงมากจนมีปัญหาในการดำรงชีพ แพทย์มักจะแนะนำให้รับการผ่าตัด
  • 4. แก้วตาขุ่นมากขึ้น เรียกว่าต้อสุกเกิน (hypermature cataract) สายตามัวลงอย่างมาก จำเป็นต้องรับการผ่าตัดหากทิ้งไว้ นอกจากผ่าตัดได้ยากขึ้น อีกทั้งบางรายก่อให้เกิดการอักเสบภายในดวงตาจากการมี protein รั่วออกจากแก้วตา ตลอดจนอาจก่อให้เกิดต้อหินตามมา ซึ่งอาจทำให้นอกจากมัวยังมีอาการปวดตาด้วย และแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดในตอนหลัง สายตาอาจไม่ดีขึ้น



การตรวจวินิจฉัยต้อกระจก

 ตรวจต้อกระจกกับแพทย์

ต้อกระจกสามารถวินิจฉัยโดยใช้กล้องตรวจขยายภาพโดยจักษุแพทย์ การขยายตัวของลูกตาดำอาจจำเป็นสำหรับการตรวจสอบรายละเอียดของรูปสัณฐานวิทยาต้อกระจก ในระหว่างการให้คำปรึกษาอาจมีการทดสอบดังต่อไปนี้
  • การทดสอบความสามารถในการมองเห็น.
  • การทดสอบความสามารถในการมองเห็น.
  • การทดสอบความสามารถในการมองเห็น.
สาเหตุรองของต้อกระจกควรถูกตัดออกก่อนที่จะมีการวินิจฉัยโรคต้อกระจกที่เกี่ยวกับอายุ


วิธีรักษาต้อกระจก
โดยถ้าถามว่าการรักษาต้อกระจกมีกี่วิธี หรือต้อกระจกรักษาหายไหม คำตอบคือ การรักษาต้อกระจกมีสองวิธี คือระยะแรก อาการเริ่มแรก อาจรักษาด้วยการเปลี่ยนแว่นตา หากมีอาการหนักขึ้น รักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจก โดยจะมีวิธีทำดังนี้

วิธีรักษาต้อกระจกระยะเริ่มต้น
ในระยะแรกของการเป็นต้อกระจก การเปลี่ยนแว่นสายตา สามารถช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้ ซึ่งเป็นการรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัด

วิธีรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัด
ในระยะยาว เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น การมองเห็นแย่ลงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ ก็เป็นข้อบ่งชี้ให้แพทย์รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ผ่าตัดต้อกระจกในปัจจุบัน คือ การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) และใส่เลนส์เทียม

การตรวจประเมินก่อนผ่าตัดต้อกระจก
  • จักษุแพทย์ตรวจตาอย่างละเอียด และส่งวัดเลนส์แก้วตาเทียม โดยการวัดความโค้งกระจกตาและความยาวลูกตา ก่อนขยายม่านตา เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องที่สุดไปคำนวณ และเลือกเลนส์ที่เหมาะสม เพื่อใส่ในตาและทำให้กลับมามองเห็นชัดอีกครั้ง โดยจะมีการตรวจขยายม่านตา ดูลักษณะต้อกระจกและดูจอประสาทตาอย่างละเอียด และให้ข้อมูลเรื่องเลนส์เทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • แพทย์และพยาบาลสอบถามเรื่องโรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำ ยาบางประเภทควรหยุดก่อนการผ่าตัด เช่น ยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด ยาอื่น ๆ ส่วนใหญ่ควรทานตามปกติ
  • กรณีถ้ามียาละลายลิ่มเลือด จักษุแพทย์จะปรึกษาอายุรแพทย์ว่าสามารถหยุดยา 5 – 7 วัน ก่อนผ่าตัดได้หรือไม่ แล้วแต่ชนิดของยา เช่น Aspirin (ASA), Plavix, Pletaal, Warfarin, Heparin

วิธีการผ่าตัดต้อกระจกมี 2 วืธีหลัก ดังนี้
1. วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens) วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ ทำภายใต้การหยอดยาชาหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • จักษุแพทย์จะเปิดช่องเล็ก ๆ ที่ขอบตาดำประมาณ 2.4 – 3 มิลลิเมตร แล้วสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก โดยเปิดถุงหุ้มเลนส์เป็นวงกลม และปล่อยพลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกจนหมด
  • จักษุแพทย์ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในถุงหุ้มเลนส์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนเหมือนก่อนเป็นต้อกระจก โดยจะเลือกเลนส์เทียมชนิดใดขึ้นกับความต้องการการใช้สายตาของผู้ป่วย เช่น เลนส์ชัดระยะเดียวหรือชัดหลายระยะ และลักษณะตาของผู้ป่วย เช่น ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยอาจใช้เลนส์เทียมชนิดแก้เอียง เป็นต้น
  • แผลมีขนาดเล็กมากจึงสมานตัวเป็นปกติได้โดยไม่ต้องเย็บแผลในผู้ป่วยส่วนใหญ่
  • ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นเมื่อเปิดตาในวันรุ่งขึ้นและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ผู้ป่วยต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าดวงตาหลังการสลายต้อกระจกตามระยะเวลาที่จักษุแพทย์กำหนด (2 – 4 สัปดาห์) พร้อมทำความสะอาดรอบดวงตา รับประทานยา และหยอดยาตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด
2.วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens) เป็นวิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • จักษุแพทย์จะเปิดแผลตามแนวรอยต่อระหว่างกระจกตาดำและผนังตาขาวบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มิลลิเมตรเพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก เหลือเพียงถุงหุ้มเลนส์ด้านหลังไว้ จากนั้นใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในถุงนี้ แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล
  • เลนส์แก้วตาเทียมจะใช้เป็นแบบชัดระยะเดียว เพื่อการมองไกล มีอายุการใช้งานได้นานตลอดชีวิต มากกว่า 95%ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต้อกระจกและได้รับการใส่เลนส์แก้วตาเทียมจะมีสายตาที่ดีขึ้น

การดูแลตนเองหลังผ่าต้อกระจก
  • ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การยกของหนักหรือกระเทือนมาก การออกกำลังกายอย่างหนัก รวมถึงการไอหรือจามแรง ๆ
  • ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การยกของหนักหรือกระเทือนมาก การออกกำลังกายอย่างหนัก รวมถึงการไอหรือจามแรง ๆ
  • เช็ดหน้าโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้งแทนการล้างด้วยน้ำ
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและใช้ยาต่างๆ ให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง
  • สวมแว่นตากันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปในที่แสงจ้า
  • ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จนกว่าแผลจะหายดีและปลอดภัยแล้ว แต่ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ห้ามขยี้ตาข้างที่ทำการผ่าตัดเด็ดขาด ผู้ป่วยควรใช้ที่ครอบตาพลาสติกปิดตาเอาไว้


การผ่าตัดต้อกระจกพร้อมรักษาค่าสายตา
การผ่าตัดต้อกระจกพร้อมรักษาสายตานั้น สามารถผ่าตัดพร้อมกันได้ในครั้งเดียว ด้วยการใช้คลื่นอัลตราซาวด์สลายต้อกระจก และเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมที่มีคุณสมบัติในการแก้ไขสายตายาวและเอียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไม่ยากลำบากเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป การรักษาต้อกระจกด้วยวิธีนี้มีข้อดีดังต่อไปนี้
  • เป็นการผ่าตัดครั้งเดียวที่รักษาได้ทั้งต้อกระจกและสายตายาว
  • หลังการผ่าตัดในวันรุ่งขึ้นสามารถกลับมามองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • หลังการผ่าตัดไม่ต้องนอนโรงพยาบาล


วิธีป้องกันโรคต้อกระจก
ดวงตาปกติ ที่ไม่ได้เป็นต้อกระจก

โดยวิธีป้องกันการเกิดต้อกระจก ได้แก่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ อี และซี ช่วยบำรุงสายตา อย่างไรก็ดีการรับประทานวิตามินเสริมยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้
  • ควรตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
  • ระวังอย่าให้ดวงตาถูกกระทบกระแทก ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อดวงตากรณีทำงาน เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัด
  • พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การใช้ยาหยอดตาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง


รักษาโรคต้อกระจกที่ไหนดี
การเลือกสถานพยาบาลรักษาโรคต้อกระจกนั้น ต้องมีจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญ และมีการตรวจประเมินอาการที่ได้มาตรฐาน ระยะทางการเดินทางที่สะดวก และการบริการต้องสมราคา


ข้อสรุป
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกหลายปัจจัยเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งอายุที่มากขึ้น และการเจ็บป่วยบางชนิดที่ส่งผลต่อการเกิดต้อกระจก ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยอีกมากมายที่สามารถปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะต้อกระจกได้  รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และหมั่นพบแพทย์ตามนัด หรือเมื่อเกิดความผิดปกติทางสายตา

นอกจากนี้ หากเป็นต้อกระจกแล้ว หรือพบภาวะผิดปกติทางการมองเห็น ควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งก่อนและหลังการรักษา เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2024, 12:31:36 PM โดย พรสัก ส่องแสง »