ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ปวดท้องเรื้อรัง ท้องผูกบ่อยผิดปกติ อาจนำไปสู่ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถือว่าเป็นโรคที่อยู่ในอันดับต้นๆ ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด แต่หลายคนกลับมองว่าเป็นโรคที่ไกลตัว แต่แท้จริงแล้วโรคนี้ใกล้ตัวเรามาก แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ด้วยไลฟสไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป บวกกับกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว อีกทั้งพฤติกรรมการทานอาหารในยุคปัจจุบัน ที่จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้ เพื่อที่จะได้ตระหนักถึงอันตรายและหันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น ไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเนื้อแดง และเป็นเนื้อที่ผ่านการทอด ปิ้ง หรือย่างไหม้เกรียม
  • ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง หรือรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย
  • ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะญาติสายตรง
  • ผู้ที่มีประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้
  • ผู้ที่มีปัญหาระบบขับถ่าย เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง
  • ผู้ที่สูบบุรี่ และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน

อาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าเราไม่สามารถทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้ แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ ดังนี้

  • ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บ่อยผิดปกติ และมักมีอาการปวดบริเวณท้องช่วงล่าง
  • มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ ซีด โลหิตจาง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ
  • คลำพบก้อนในท้องที่บริเวณท้องตอนล่าง
  • คลื่นไส้ เบื่ออาหาร

ทำอย่างไรเมื่อไม่อยากเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าเราไม่สามารถทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้ แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง เน้นรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ อาทิ ผัก และผลไม้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานเนื้อแดงให้น้อยลง