โดยทั่วไปเราทำประกันสุขภาพได้ 2 รูปแบบ
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ผู้เอาประกันในกรณีเจ็บป่วยโรคที่ครอบคลุมอยู่ในกรมธรรม์ ประกันสุขภาพรายปี ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD), ผู้ป่วยใน (IPD) ทำให้มีเบี้ยประกันสูง
ซื้อสัญญาแนบท้ายประกันชีวิต แยกซื้อตามรูปแบบความคุ้มครอง ตามโรคร้ายแรงที่ต้องการเฝ้าระวังได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เป็นต้น จึงทำให้เบี้ยประกันแบบแยกซื้อจะมีราคาถูกกว่า
ปัจจุบันการเลือกทำ
ประกันสุขภาพแบบรายเดือน ให้เหมาะกับตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยเฉพาะการแอดมิทเป็นผู้ป่วยในยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูง อาจต้องนำเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตมาจ่ายค่ารักษา หากมีประกันสุขภาพและใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ จะช่วยบริหารความเสี่ยงลดผลกระทบทางด้านการเงินได้
วิธีการเลือกจ่ายประกันสุขภาพ
ค่าใช้จ่าย
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจาก AIS Insurance แบ่งเป็น 2 แบบคือ ประกันสุขภาพรายปี เหมาะสำหรับคนมีเงินสำรองในกระเป๋า จ่ายเงินก้อนครั้งเดียวจบ ไม่ยุ่งยากเรื่องจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือน อีกแบบเป็น “ประกันสุขภาพแบบจ่ายรายเดือน” ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ จำนวนเงินที่จ่ายแต่ละครั้งน้อยกว่า เพียงแค่ต้องวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้เหมาะสม
โดยทั่วไปการทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย คือการไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งแล้วทำเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลแบบเป็นครั้ง ๆ ไป แต่ยังมีความคุ้มครองอีกแบบที่เรียกว่า “เจอ จ่าย จบ” เป็นการจ่ายค่ารักษาพยาบาลครั้งเดียวตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ จากนั้นผู้ป่วยนำเงินไปจัดสรรค่ารักษาด้วยตัวเองสะดวกกว่าเดิม เช่น กรณีที่ทำ
ประกันสุขภาพรายปี อย่างโรคมะเร็งเอาไว้ มูลค่า 1,000,000 บาท หากเกิดป่วยขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่ส่วนไหนของร่างกายก็สามารถรักษาได้เลย โดยรับเงินทั้งก้อนไปจัดสรรค่าใช้จ่ายได้เอง
ประกันสุขภาพ คุ้มครองอะไรบ้าง
รายละเอียดความคุ้มครองของประกันแต่ละเจ้าแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เลือก เช่น
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครองจ่ายค่ารักษาต่อปีให้ตามจริง โดยมีขอบเขตของวงเงินค่ารักษาแต่ละครั้ง ใช้ไปเท่าไหร่ และยังเหลือวงเงินอยู่อีกเท่าไหร่
ประกันสุขภาพแบบจ่ายรวม ถ้ามีเงื่อนไข 20:80 บริษัทประกันจ่ายให้ 80% ส่วนผู้เอาประกันจ่ายอีก 20%
ประกันสุขภาพแบบจ่ายตามตาราง เช่น ผ่าตัดเล็กจ่าย 20% ของค่าศัลยกรรมผ่าตัดในสัญญาประกันสุขภาพ
แนวทางเลือก ประกัน สุขภาพ ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยด้านอายุ เพศ และวัย ในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ แนะนำให้เลือกแผนประกันที่พอเหมาะกับงบประมาณส่วนบุคคล ก็จะทำให้ได้แผนประกันที่คุ้มค่าและคุ้มครองความเสี่ยงได้ตามวัตถุประสงค์
ที่มาข้อมูล
https://www.add-digital.co.th/life/prueasycarehttps://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/56-guilde-to-choose-the-right-health-insurance-for-yourselfhttps://www.mrkumka.com/article/health-tips/lumpsum-health-insurance/?gad=1