ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


อาการโรคแพนิคกับโรคหัวใจต่างกันอย่างไร เป็นแล้วอันตรายไหม?

อาการโรคแพนิค

โรคแพนิค Panic attack เป็นโรคที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นจะสังเกตได้จากหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจหรือหวาดกลัวเช่นอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ มักจะใช้คำว่าแพนิค แต่หลายคนยังไม่ทราบถึงสาเหตุหรืออาการโรคแพนิคที่แท้จริงรวมถึงยังสับสนที่อาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ 

อย่างไรก็ตามทุกคนก็อาจจะมีอาการแพนิคได้เช่นกันที่อาจเกิดได้จากการอดนอน ทานกาเฟอีนแล้วมีใจสั่นที่คล้ายกับอาการแพนิคแล้วสัญญาณเตือนแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคแพนิค บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจถึงอาการโรคแพนิคได้มากขึ้นดังต่อไปนี้

รู้จักกับโรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิคหรือ Panic attack คือโรควิตกกังวลหรือที่เรียกว่าโรคตื่นตระหนก ซึ่งอาการโรคแพนิคมีทั้งหมด 13 ข้อด้วยกันแต่ที่เห็นได้ชัดพบจากผู้ป่วยได้แก่ แน่นหน้าอก ใจสั่นใจเต้นแรง เหงื่อแตก มือเท้าเย็น เวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันนาน 1 เดือนส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือกิจวัติประจำวันและเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้คาดเดาได้ยาก

อาการจากข้างต้นอาจบ่งบอกได้ว่าคุณอาจมีอาการของโรคแพนิคก็เป็นได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการและสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล อีกทั้งโรคแพนิคกับโรคหัวใจมีอาการใกล้เคียงกันผู้ป่วยอาจจะคิดว่าตนเองเป็นโรคที่ร้ายแรงก็ว่าได้รวมถึงโรคอื่นอย่างเช่นโรคไมเกรน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้นเพื่อไม่ให้เกิดความกังวลใจสามารถเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินอาการนำไปสู่การรักษาในลำดับถัดไป

สาเหตุของโรคแพนิค

โรคแพนิคสามารถเกิดได้กับทุกคนรวมถึงคุณก็อาจจะเป็นโรคแพนิคอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งเกิดได้จากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ทำงานไม่สมดุลรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความตื่นตระหนกหรือกังวลมากกว่าปกติสามารถแบ่งปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคแพนิคได้ 2 ปัจจัยดังนี้

• ปัจจัยทางกายภาพ

1. พันธุกรรม เกิดจากการสืบทอดพันธุกรรมหากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคแพนิคก็อาจจะเป็นปัจจัยทางพันธุกรรมที่เสี่ยงป่วยเป็น โรคแพนิคได้เช่นกัน
2. สารเคมีต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติด เครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ก็เป็นตัวกระตุ้นของโรคแพนิคได้เช่นกัน
3. ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายอาจเป็นเหตุให้สารเคมีในสมองทำงานไม่สมดุล ส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไปเกิดเป็นสาเหตุของโรคแพนิคได้

• ปัจจัยทางสุขภาพจิต

1. เหตุการณ์เลวร้าย เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงอย่างเช่นผิดหวังรุนแรง  อุบัติเหตุอย่างรุนแรง การสูญเสีย เหตุการณ์กระทบกระเทือนทางจิตใจที่รุนแรง เหตุการณ์เหล่านี้เป็นปัจจัยทางสุขภาพจิตที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงส่งผลให้เป็นสาเหตุของโรคแพนิค
2. ความเครียดสะสม ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มีความเครียดสะสมได้จากปัญหาในชีวิตประจำวันเช่น เรื่องการทำงาน ครอบครัว พักผ่อนน้อย ถูกกดดัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคแพนิค

ซึ่งการป้องการเกิดโรคแพนิคปัจจัยทางกายภาพอย่างเช่นพันธุกรรมไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยทางด้านสุขภาพจิตสามารถจัดการได้อย่างเช่นความเครียด ที่สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดความเครียดเพื่อไม่ให้เป็นตัวกระตุ้นของอาการแพนิคได้

อาการของโรคแพนิค มีอะไรบ้าง

โรคแพนิค อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนกจะมีอาการที่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ก็ได้และอาการแพสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาคาดเดาได้ยาก สามารถสังเกตอาการได้จาก 13 อาการของโรคแพนิคดังนี้

1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมากอาการของแพนิคกับโรคหัวใจจะมีความคล้ายกัน
2. มีความกลัวว่าตนเองกำลังจะตาย
3. เหงื่อแตก
4. ตัวสั่นมือเท้าสั่น
5. หายใจไม่อิ่มหรือหายใจขัด
6. รู้สึกอึดอัด
7. กลัวคุมตัวเองไม่ได้
8. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
9. คลื่นไส้ท้องไส้ปั่นป่วน
10. วิงเวียนหรือเป็นลม
11. ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ
12. รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ
13. รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป

ทั้ง 13  อาการของโรคแพนิคเป็นอาการที่มีความคล้ายกับโรคอื่นได้ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายหรือเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษากับอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งหากเป็นสาเหตุของโรคแพนิคจะเกิดขึ้นมากกว่า 1 ใน 1 เดือน

โรคแพนิคตรวจวินิจฉัยอย่างไร

โรคแพนิคสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากหากมีอาการเข้าเกณฑ์ทั้ง 13 อาการของโรคแพนิค ควรเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้นหากผลตรวจออกมาปกติทุกอย่าง สามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ให้แน่ใจก่อนว่าเป็นโรคแพนิคหรือเป็นโรคเกี่ยวกับร่างกาย

โดยอาการของโรคแพนิคนั้นมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคอื่น ทำให้คนไข้นั้นสับสนดังนั้นจึงควรตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคหากไม่พบอาการผิดปกติก็สามารถรักษาโรคแพนิคให้หายขาดได้

โรคแพนิค รักษาหายไหม?

การรักษาอาการโรคแพนิค Panic attack คือสามารถรักษาให้หายขาดได้และกลับมามีชีวิตที่ปกติได้เช่นกัน จากยาหรือปัจจัยหรือสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนไข้เกิดอาการโรคแพนิค ที่คนไข้บางคนสามารถจัดการปัจจัยทางจิตใจได้ด้วยตนเอง อย่างเช่นการฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ การฝึกสมาธิการเข้าใจและรู้ทันอารมณ์ของตัวเองตั้งสติได้ แต่คนไข้ยังมีสารในสมองทำงานไม่สมบูรณ์ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอัตโนมัติต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับสมดุลของระบบประสาท

วิธีรักษาโรคแพนิค

โรคแพนิคเป็นโรคทางใจไม่ใช่โรคทางกายแต่หากเป็นแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก ๆ ใช้วิธีรักษาแพนิคด้วยตัวเองอาการก็ไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษา โดยวิธีรักษาโรคแพนิคคุณหมอจะทำการปรับทัศนคติปรับจิตใจของผู้ป่วย อาจจะมียารักษาโรคแพนิคเพื่อช่วยปรับสมดุลการทำงานของสารเคมีในสมอง ที่ช่วยลดอาการของโรคแพนิคได้

สำหรับผู้ป่วยโรคแพนิคที่ไม่ต้องการเดินทางเพื่อไปปรึกษาแพทย์สามารถใช้บริการหมอออนไลน์อย่างเช่นแอพพลิเคชั่นหาหมอออนไลน์ Bedee ที่มีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 12 สาขาคอยให้ คำปรึกษาด้านสุขภาพรวมถึงมีบริการส่งยารักษาได้ถึงหน้าบ้าน

ซึ่งอาการของโรคแพนิคสามารถใช้บริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้ไม่จำเป็นต้องตรวจร่างกาย เพราะโรคแพนิคเป็นอาการของโรคทางจิตใจที่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทางออนไลน์ได้ที่บ้านไม่จำเป็นต้องรอคิวให้เสียเวลา

แก้อาการแพนิค

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคแพนิค

หากตรวจพบว่าเป็นโรคแพนิคหรือโรคตื่นตระหนกขึ้นมาสามารถรักษาแพนิคด้วยตัวเองและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ คือหากมีอาการเกิดขึ้นเช่นแน่นหน้าอกหรือหอบเหนื่อยต้องตั้งสติก่อนว่าเราเริ่มมีอาการแล้วต้องรับมือด้วยตัวเองให้ได้

หากตั้งสติได้แล้วให้หายใจเข้าออกช้า ๆ ห้ามหายใจเร็วจะส่งผลให้ร่างกายมีอาการตื่นตระหนกหรืออาการของโรคแพนิคนั่นเอง  ดังนั้นหากเกิดอาการควรหายใจเข้าออกช้า ๆ สังเกตจากหน้าท้องหากหายใจเข้าท้องจะป่องและหายใจออกหน้าท้องจะยุบลง

ข้อสุดท้ายต้องตั้งสติอยู่ตลอดเวลาและเตือนตัวเองเกี่ยวกับอาการโรคแพนิคว่าเป็นอาการชั่วคราวที่ไม่ทำให้เสียชีวิต เพราะอาการของโรคตื่นตระหนกจะทำให้คนไข้หวัดกลัววิธีเตือนตัวเองเรื่อย ๆ จะทำให้อาการต่าง ๆ ลดลงได้

สรุปโรคแพนิครักษาอย่างไรได้บ้าง

หากคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่เป็นโรคแพนิคที่อาจจะมีอาการวิตกกังวลเวลาไหน ดังนั้นควรให้กำลังใจและนำวิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการแพนิคแนะนำให้เพื่อนคลายความวิตกกังวล เช่น โรคแพนิคเกิดได้กับทุกคนแต่ไม่ทำให้เสียชีวิต ไม่ได้น่ากลัวสามารถรักษาและกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้

อย่างไรก็ตาม 13 อาการของโรคแพนิคเป็นอีกหนึ่งวิธีเพื่อให้คุณได้สังเกตอาการของตนเอง ว่ามีแนวโน้มเป็นโรคแพนิคหรือไม่ หากไม่มั่นใจและมีอาการดังกล่าวควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หลังจากนั้นเมื่อพบว่าผลการตรวจร่างกายปกติจะทำให้สงสัยได้ว่าควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับโรคแพนิค