การออมเงินเป็นการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งสะสมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำรองหรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินก้อน การออมเงินมีหลายรูปแบบแต่หากการออมเงินนั้นได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีด้วยก็จะช่วยให้เรามีเงินเหลือมากขึ้น
ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ rmf ที่มาจากชื่อเต็มว่า Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อการออมระยะยาว เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานบริษัทเอกชน (Provident Fund) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินเพิ่มเพื่อใช้ในวัยเกษียณ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ และเลือกระดับความเสี่ยงได้
กองทุน rmf คือ ลดหย่อนภาษี ได้ในปีที่มีการซื้อ โดยไม่มีเงื่อนไขของเงินลงทุนขั้นต่ำ แต่สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตามเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนรวมเพื่อการออม ssf และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
rmf เงื่อนไข การซื้อแม้จะไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไว้ แต่ก็ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ ได้แก่
ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี สามารถเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี ถ้ามีการเว้นการลงทุน ปีนั้นจะไม่ถูกนับอายุ
การนับอายุจะนับแบบวันชนวัน
สามารถขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยนับเมื่อครบอายุในวันเกิด
rmf มีข้อดีที่น่าลงทุน ได้แก่
ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ซึ่งเงินที่ได้จากการลดหย่อนภาษีสามารถนำไปเพิ่มเป็นเงินออมหรือเงินลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนได้มากขึ้น
มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝากธนาคาร
สร้างวินัยในการออม เนื่องจาก rmf กำหนดให้ซื้อต่อเนื่อง และสามารถขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุตั้งแต่ 55 ปี ทำให้สามารถเก็บเงินก้อนใหญ่เพื่อใช้ในวัยเกษียณได้
rmf มีข้อแตกต่างจาก
ssfเงื่อนไขกองทุนรวมเพื่อการออมที่สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับ rmf ดังนี้
rmf ลดหย่อนภาษี ได้ ssf ก็ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราเดียวกัน คือไม่เกินกว่า 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ ssf สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนเพื่อวัยเกษียณรวมถึง rmf ด้วย ก็สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
rmf กำหนดให้ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ ssf ไม่ได้กำหนดให้ต้องลงทุนต่อเนื่อง
rmf ขายคืนได้เมื่อลงทุนครบ 5 ปี แต่ ssf ขายคืนได้เมื่อลงทุนครบ 10 ปี
rmf ขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีขึ้นไป ส่วน ssf ไม่กำหนดอายุของผู้ลงทุนเมื่อถึงเวลาขายคืน
rmf ไม่มีการจ่ายเงินปันผล ส่วน ssf มีทั้งแบบจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล
rmf เงื่อนไข กำหนดให้เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะลูกจ้างบริษัทเอกชนที่บริษัทยังไม่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ rmf มีให้เลือกหลายประเภทและหลายระดับความเสี่ยง หากลงทุนเมื่ออายุยังน้อยสามารถเลือกแบบความเสี่ยงสูงเพราะมีระยะเวลาลงทุนนาน แต่หากลงทุนเมื่ออายุมากก็สามารถเลือกแบบความเสี่ยงต่ำได้ แต่ไม่ว่าจะเลือกระดับความเสี่ยงแบบใดเงินที่ลงทุนไปและผลตอบแทนที่ได้ก็จะสะสมและทบเข้าไปในเงินต้นที่เราลงทุน ยิ่งกว่านั้นเราไม่สามารถถอนเงินออกใช้ได้จนกว่าจะถึงอายุเกษียณ rmf จึงเป็นการลงทุนที่ทำให้ผู้ลงทุนมีเงินพร้อมใช้ในวัยเกษียณอย่างแท้จริง