ตอนนี้การตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญของการเป็นช่องทางขายสินค้าและบริการ ปัจจุบันหลายธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวาง มีคู่แข่งเจ้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงกว่าเดิม ทำให้หลายๆ แบรนด์หันมาเน้นความใส่ใจกับตัวสินค้าและบริการให้ดีเหนือกว่าเจ้าอื่น เพื่อรักษาฐานลูกค้าอย่างมั่นคง จึงมีการเก็บข้อมูลผ่านระบบ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่งเป็นระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ได้ประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ต่อร้านค้าหรือองค์กรเป็นอย่างยิ่ง
ความหมายของระบบ CRM ระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management เป็นระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นเพื่อจัดการข้อมูลการซื้อ-ขาย สามารถติดตามและตรวจสอบผลลัพธ์หลังการขายว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจและกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำอีกหรือไม่ เป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าในระยะยาว หรือสร้าง Loyalty ให้กับแบรนด์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า เพื่อให้แบรนด์เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค จนนำไปสู่กับกำหนดเป้าหมายหรือความต้องการอย่างตรงจุด แถมยังช่วยส่งเสริมยอดขายและผลกำไรให้แก่บริษัทได้ โดยของมูลที่ได้จากระบบ CRM สามารถนำไปกำหนดทิศทางของแบรนด์ เช่น การวางกลยุทธ์การตลาด การสร้างผลงานให้ตรงใจลูกค้า การนำเครื่องมือต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้น
ทำไม CRM จึงมีบทบาทที่จำเป็นต่อภาคธุรกิจ?ระบบ CRM ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในธุรกิจทั้ง B2B หรือ B2C การบริหารความ
สัมพันธ์กับลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องรักษาเอาไว้ ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหาช่องทางหรือโอกาสสร้างการเติบโตภายในองค์กร
เหตุผลข้อที่ 1 สะดวกต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลทางธุรกิจของลูกค้าไว้ในโปรแกรม CRM เพียงที่เดียว ง่ายต่อการนำออกมาใช้ แถมสามารถแชร์กับทีมงานในฝ่ายต่างๆ เช่น ทีม Sale, ทีม Marketing, ทีม Developer เป็นต้น
เหตุผลข้อที่ 2อำนวยความสะดวกหรือลดเวลาในการทำงานให้แต่ละฝ่ายได้ และสามารถใช้ข้อมูลเพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานหรือแคมเปญทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ลูกค้า
เหตุผลข้อที่ 3เป็นการจัดการลูกค้าสัมพันธ์หรือรักษาฐานลูกค้าเก่า ผ่านข้อมูลที่ได้จากระบบ CRM จนทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ หรือเกิดการบอกต่อ จนนำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)
เหตุผลข้อที่ 4 เมื่อแคมเปญตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือเป้าหมายใหม่ๆ จะทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และอาจเกิดการบอกต่อหรือแนะนำกันไปเรื่อยๆ นอกจากจะได้ลูกค้ารายใหม่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มลูกค้าประจำในอนาคตอีกด้วย
รูปแบบของ CRM ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจได้มีอะไรบ้าง?การนำรูปแบบข้อมูลจากระบบสมาชิก CRM ไปใช้ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่างๆ มีดังนี้
ใช้ในการ Support ลูกค้าหลังจากให้บริการเรื่องงานขายหลังจากที่ลูกค้ามีการสั่งซื้อเรียบร้อยแล้ว บริการหลังการขายก็ช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้อย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น การสมัครระบบสมาชิกเพื่อรับส่วนลดหรือคูปองต่างๆ การติดตามหรือสอบถามฟีคแบคจากลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น การตอบคำถามหรือคอยช่วยเหลือในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในทันที
ใช้สำหรับการติดตาม Status ในเรื่องการขายของทีมระบบ CRM เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามผลลัพธ์หลังการขายของทีม Sale ได้ และช่วยให้บริษัทสามารถวางแผน ติดตามสถานะของทีมขายว่าถึงขั้นตอนไหนแล้วบ้าง แถมยังช่วยคำนวณต้นทุนสินค้าหรือบริการ เพื่อคุมงบประมาณหรือจัดสรรให้เกิดประโยชน์กลับมาสูงสุด ผ่านระบบจัดการข้อมูล CRM
เพิ่มประสิทธิภาพในงานบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าระบบ CRM ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเก่าและใหม่ โดยมีวิธีการดังนี้
• การรับเรื่องหรือปัญหาจากลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น
• การแก้ไขปัญหาหรือคอยแนะนำทางออกที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า
• การติดตามผลลัพธ์หลังการขาย/บริการ หรือเมื่อแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำฟีดแบคที่ได้มาพัฒนาองค์กรต่อไป
ขั้นตอนการทำ CRM ที่เราควรรู้จักกระบวนการทำ CRM หรือระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อสร้างแนวทางการรักษาฐานลูกค้าประจำและเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้า มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1การสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ (Awareness) เป็นการแนะนำธุรกิจให้ผู้บริโภคทราบหรือเคยเห็นผ่านตามาบ้างแล้ว เป็นขั้นตอนแรกที่หลายธุรกิจควรทำก่อนเสมอ โดยมีวิธีการดังนี้
• การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย โดยทีม Marketing จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากระบบ CRM แล้วมาทำเป็นแผนภาพ Consumer Journey เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนและเข้าไปในใจผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
• การแยกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยการสร้างคุณลักษณะหรือ Persona ให้กับผู้บริโภค เพื่อแบ่งกลุ่มตามความสนใจหรือลักษณะทางประชากร ซึ่งจะช่วยให้ทราบแนวโน้มของคนที่อาจจะเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้และเน้นไปที่กลุ่มๆ นั้น
• การสร้างแคมเปญทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ ผ่านการทดสอบ A/B Testing ทั้ง on location หรือ online เพื่อนำไปพัฒนาแคมเปญใหม่ๆ ให้ตรงกับความสนใจของ Target group มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลุ่มเป้าหมายสำหรับการขาย โดยให้ทีมการตลาดสร้างแคมเปญที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น การสะสมแต้ม การสมัครสมาชิกออนไลน์ ในส่วนของทีมขายจะต้องนำเอาระบบ CRM มาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้รับจากฝ่ายการตลาด
ขั้นตอนที่ 3เปลี่ยนเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าของแบรนด์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ CRM ที่ช่วยสร้างโอกาสปิดการขายได้สูงสุด โดยที่ฝ่ายขายจะต้องติดตามความคืบหน้าของผลลัพธ์ที่ได้ผ่านแดชบอร์ด CRM ที่สะดวก รวดเร็ว ข้อมูลสดใหม่
ขั้นตอนที่ 4การบริการลูกค้าที่เหนือระดับ เมื่อสามารถเปลี่ยนเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้แล้วนั้น ขั้นตอนถัดมาคือการรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ไปนานๆ ผ่านการให้บริการหลังการขายที่ดีกว่าเดิม ที่สามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษของทางแบรนด์
ขั้นตอนที่ 5การกระตุ้นยอดขาย เป็นการสร้างฐานลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวแบรนด์อยู่แล้ว จนทำให้เกิดการกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ โดยอาจมีวิธีการโทรสอบถาม หรือส่งอีเมลแนะนำสินค้าใหม่ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับสินค้าเดิมที่ลูกค้าเคยซื้อ ซึ่งจะได้ข้อมูลมาจากระบบ CRM ที่สามารถเชื่อมั่นได้ว่าข้อเสนอต่างๆ จะถูกส่งไปให้กับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มในการซื้อหรือใช้บริการกับแบรนด์จริงๆ
ความแตกต่างของ CRM - B2B CRM vs. B2C CRMโดยปกติโปรแกรม CRM จะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ธุรกิจ B2B เป็นหลัก แต่ปัจจุบันธุรกิจ B2C มีการนำเอาระบบ CRM เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น
B2C CRM ระบบนี้จะเน้นการขายบริการให้กับลูกค้ารายบุคคล โดยธุรกิจที่ใช้ CRM ส่วนมากจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป โรงแรม ที่มีวัตถุประสงค์ในการขายสินค้าให้เข้ากับประสบการณ์หรือความชื่นชอบของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่มักทำเป็นแคมเปญการตลาดทั่วไป เช่น การสะสมแต้มแลกพอยท์ หรือ Reward Program ต่างๆ
B2B CRM ระบบนี้จะเน้นไปที่การขายบริการให้แก่บริษัทกับบริษัทด้วยกันเอง โดยธุรกิจที่ใช้ CRM ระบบนี้ จะมีวัตถุประสงค์ในการนำซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเหลือทีม Sale เป็นหลัก โดยที่ Lead ในธุรกิจ B2B นี้จะได้จำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับ B2C CRM
สรุประบบ CRM ดีต่อธุรกิจอย่างไรระบบ CRM มีความสำคัญในแง่ของการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ที่ธุรกิจทั้งใหญ่หรือเล็กนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายจากฐานลูกค้าเก่า จากการสร้างความพึงพอใจในรูปแบบต่างๆ เช่น บริการหลังการขาย Gift Voucher สิทธิพิเศษอื่นๆ ที่สมาชิกจะได้รับ หรือนำข้อมูลไปคิดแคมเปญหรือวางกลยุทธ์หาลูกค้าใหม่ๆ เพื่อดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น