ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


บริหารจัดการอาคาร: ข้อควรรู้! ติดตั้งรางน้ำฝนสำคัญอย่างไรกับบ้านของคุณ

สังเกตหรือไม่ว่าหลังคาที่ไม่มีอะไรรองรับน้ำฝนเลย ขณะฝนตก น้ำก็จะไหลลงมาถึงขอบหลังคาบ้าน และจุดนั้นเองเป็นจุดที่น้ำฝนเทหนักกว่าฝนที่ตกจริง ๆ เสียอีก อีกทั้งน้ำฝนก็จะชะล้างสิ่งสกปรกที่อยู่บนหลังคาลงมายังขอบหลังคาบ้าน น้ำตรงนั้นจึงสกปรกกว่าการที่เราสัมผัสกับน้ำฝนตรง ๆ

ด้วยเหตุนี้การติดตั้งรางน้ำฝนให้กับตัวบ้านจึงช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ก่อนจะไปติดตั้งรางน้ำฝนเราไปทำความรู้จักกับรางน้ำฝนคืออะไร ทำไมทุกบ้านควรมี แล้วรางน้ำฝนมีประเภทไหนบ้าง อยากติดตั้งรางน้ำฝนต้องทำอย่างไรในบทความนี้เลย
รางน้ำฝนคืออะไร ทำไมทุกบ้านควรมี

เราไม่สามารถควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ แต่เราสามารถใช้ “รางน้ำฝน” ควบคุมการไหลของน้ำฝนได้ เราไปดูกันว่า รางน้ำฝนคืออะไร มีประโยชน์ต่อบ้านของคุณอย่างไรบ้างกันเลย
ทำความรู้จัก รางน้ำฝน


ประโยชน์ของรางน้ำฝน

การติดตั้งรางน้ำฝนมีประโยชน์อะไรบ้าง

    รางน้ำฝนสามารถควบคุมการไหลของน้ำจากหลังคาหรือดาดฟ้าบ้าน ลงมายังจุดที่ต้องการได้
    รางน้ำฝนช่วยปกป้องผนังบ้านของคุณจากการสาดของน้ำที่ไหลจากหลังคาขณะฝนตกได้ดี ลดการกัดเซาะของน้ำและลดการเกิดเชื้อราที่ผนังได้อีกทาง
    รางน้ำฝนช่วยลดปริมาณน้ำขังรอบตัวบ้าน ลดโอกาสที่เกิดการทรุดตัวจากน้ำขังได้
    รางน้ำฝนลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระแทกของน้ำฝนสู่ต้นไม้ที่คุณปลูกไว้รอบตัวบ้าน
    รางน้ำฝนลดการรั่วซึมของน้ำเข้าสู่ช่องรอยต่อที่เชื่อมเข้าสู่พื้นที่ในบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง


ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเลือกประเภทรางน้ำฝน

ประโยชน์ของการติดตั้งรางน้ำฝนมากมายขนาดนี้ หลายคนอาจเริ่มมีความสนใจที่จะติดตั้งรางน้ำฝนที่บ้าน แต่ไม่รู้จะต้องพิจารณาเลือกติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร ไปดูกันว่าเราจะต้องพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง

   
1. งบประมาณของคุณ
    สิ่งแรกที่หลายคนจะพิจารณาก่อนเลยก็คืองบประมาณ แต่ปกติแล้วติดตั้งรางน้ำฝนครั้งหนึ่งมักจะเป็นการติดตั้งระยะยาว หากงบประมาณถึงเราขอแนะนำให้เลือกติดตั้งรางน้ำฝนประเภทที่ดีที่สุด ทนทานที่สุดจะดีกว่า แต่ถ้างบมีจำกัดก็อาจเลือกการติดตั้งรางน้ำฝนตามความเหมาะสมได้เลย
   
2. ขนาดพื้นที่หลังคา
    ยิ่งหลังคามีพื้นที่กว้างเท่าไหร่ ยิ่งแปลว่าสามารถรวมน้ำฝนได้มากเท่านั้น ก่อนจะติดตั้งรางน้ำฝนควรจะทราบขนาดของพื้นที่หลังคาเสียก่อน เพื่อที่จะได้เลือกขนาดรางน้ำฝนได้ถูกต้อง สำหรับหลังคาใหญ่ควรจะเลือกติดตั้งรางน้ำฝนขนาดใหญ่ตามไปด้วยเพื่อให้สามารถรองรับและระบายน้ำได้ทัน

   
3. ลักษณะของหลังคาที่ติดตั้ง
    หลังคาบ้านเองก็มีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงรถ หลังคาครัวไทย หลังคาตัวบ้าน ซึ่งหลังคาแต่ละแบบมีการเลือกใช้รางน้ำฝนที่แตกต่างกัน รวมถึงความสามารถในการติดตั้งรางน้ำฝนเองหรือต้องจ้างช่างติดตั้งรางน้ำฝนด้วย หากเป็นหลังคาเล็ก ๆ อย่างหลังคาโรงรถก็สามารถเลือกรางน้ำฝนประเภทที่สามารถติดตั้งเองได้ถ้ามีเครื่องมือครบครัน แต่ถ้าเป็นหลังคาตัวบ้านแนะนำว่าให้ช่างผู้ชำนาญมาติดตั้งรางน้ำฝนให้จะดีกว่า

   
4. ความคุ้มค่าและความสวยงาม
    รางน้ำฝนมีวัสดุที่หลากหลาย วัสดุแต่ละชนิดก็มีความแข็งแรง ทนทาน และความสวยงามที่ต่างกัน ก่อนเลือกประเภทรางน้ำฝนอาจเลือกพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้ก่อนได้เลย


ประเภทของรางน้ำฝน มีรูปแบบไหนบ้าง

ก่อนจะติดตั้งรางน้ำฝน ไปดูกันว่ารางน้ำฝนมีประเภทไหนบ้าง

1.รางน้ำฝนสเตนเลส

สเตนเลสเป็นโลหะที่ไม่เกิดสนิม เป็นที่นิยมมากในการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ต้องสัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ รางน้ำฝนสเตนเลสจึงเป็นประเภทที่ค่อนข้างนิยม อีกทั้งยังมีความแข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน แต่แนะนำให้เลือกสเตนเลสเกรด 304 ซึ่งเป็นเกรดที่ได้มาตรฐาน


2.รางน้ำฝนอะลูมิเนียม

รางน้ำฝนอะลูมิเนียม โลหะที่คุณสมบัติเหมาะกับรางน้ำฝนอย่างมาก ไม่ว่าจะทนการกัดกร่อน ไม่เกิดสนิม มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้รางน้ำฝนอะลูมิเนียมจะไม่ค่อยมีปัญหารั่วซึมเพราะมีการผลิตในลักษณะชิ้นส่วนน้อย มีความสวยงามและมีสีให้เลือกมากกว่ารางน้ำฝนโลหะอื่น ๆ


3.รางน้ำฝนสังกะสี

รางน้ำฝนสังกะสี ราคาถูก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย แต่มีความทนทานต่ำ เกิดสนิมง่าย ไม่ค่อยทนต่อการกัดกร่อน อีกทั้งยังมีเสียงดังขณะที่กระทบกับน้ำฝนอีกด้วย


4.รางน้ำฝนพีวีซี (PVC)

รางน้ำฝนพีวีซีเป็นรางน้ำฝนประเภทพลาสติก ไม่เกิดสนิม ติดตั้งไม่ยาก แถมยังมีหลากหลายสีให้เลือกสรร และราคาสบายกระเป๋า แต่อาจต้องเลือกรางน้ำฝนพีวีซีเกรดดี ๆ เนื่องจากอาจเจอรางน้ำฝนพีวีซีคุณภาพต่ำและพังง่าย


5.รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส

รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสเป็นรางน้ำฝนที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ สามารถสั่งทำตามขนาด ความยาวที่ต้องการได้เลย มีความทนทานสูง ไม่เป็นสนิม ไม่มีรอยต่อ และยังมีสีให้เลือกหลายสี ช่วยให้รางน้ำฝนเข้ากับสีของตัวบ้านคุณได้ดี


6.รางน้ำฝนเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์

รางน้ำฝนเหล็กเคลือนกัลวาไนซ์ เป็นรางน้ำฝนที่ผลิตสำเร็จรูปในลักษณะเป็นชิ้นเดียว จึงไร้ปัญหาน้ำรั่วซึมจากรอยต่อ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม แถมยังมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่ายอีกด้วย


ก่อนติดตั้งรางน้ำฝน ควรระวังอะไรบ้าง

การติดตั้งรางน้ำฝนมีประโยชน์ทั้งกับตัวคุณและบ้านของคุณ แต่ก่อนจะติดตั้งรางน้ำฝนควรจะต้องระวังอะไรบ้าง?

    ระวังการติดตั้งรางน้ำฝนยื่นเข้าไปในเขตเพื่อนบ้าน การวางตำแหน่งรองรางน้ำฝนสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ระหว่างตัวบ้านกับบ้านข้าง ๆ น้อย หากวางรางน้ำฝนแล้วดันยื่นไปที่บ้านข้าง ๆ จะทำให้น้ำกระเซ็นหรือไหลเข้าไปที่บ้านข้าง ๆ แทน ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับข้างบ้านแล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย
    ระวังเรื่องการเลือกขนาดของรางน้ำฝน สิ่งนี้อาจต้องคำนวณเผื่อไว้หน่อยกว่ากรณีที่ฝนตกหนักแล้วเราติดตั้งรางน้ำฝนขนาดเท่านี้จะสามารถระบายได้ทันหรือไม่ เพราะถ้าระบายไม่ทันอาจทำให้น้ำกระเซ็นไปยังบ้านข้าง ๆ ได้เช่นกัน


การติดตั้งรางน้ำฝนมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1.สำรวจและตรวจสอบหลังคาบ้าน

แน่นอนว่าก่อนที่เราจะซื้อรางน้ำฝนมาติดตั้งจะต้องสำรวจและตรวจสอบหลังคาบ้านเสียก่อนว่ามีพื้นที่ในการติดตั้งรางน้ำฝนหรือไม่ สามารถรองรับน้ำหนักรางน้ำฝนกับน้ำฝนได้เท่าไหร่


2.วัดระดับความลาดเอียง

สำหรับการติดตั้งรางน้ำฝนควรจะต้องติดตั้งในลักษณะที่มีความเอียงระดับเหมาะสม ก่อนจะสั่งทำหรือซื้อรางน้ำฝน ควรจะต้องวัดความยาวในลักษณะที่เอียงในระดับที่เหมาะสมเสียก่อน เพื่อไม่ให้รางน้ำฝนที่ซื้อมามีความยาวไม่พอ


3.ใช้เชือกตีแนวเส้น

ก่อนจะติดตั้งตะขอสำหรับแขวนรางน้ำฝน สามารถใช้เชือกตีแนวเส้นเพื่อกำหนดตำแหน่งของตะขอแขวนได้อย่างแม่นยำ


4.ติดตะขอสำหรับติดตั้งรางน้ำฝน

การติดตะขอแขวนสำหรับติดตั้งรางน้ำฝนควรจะต้องเว้นระยะห่างตามความเหมาะสม ซึ่งระยะห่างเท่าไหร่นั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของรางน้ำฝนที่นำมาติดตั้งด้วย


5.เริ่มติดตั้งรางน้ำฝน

เมื่อติดตะขอแขวนรางน้ำฝนเป็นที่เรียบร้อย สามารถนำรางน้ำฝนมาวางบนตะขอได้เลย หากวัสดุรางน้ำฝนเป็นโลหะควรจะเชื่อมให้ไม่มีรอยต่อ หรือถ้าวัสดุเป็นวัสดุสังเคราะห์ก็สามารถนำวัสดุสำหรับอุดรอยต่อด้วยเช่นกัน


6.ตรวจสอบความเรียบร้อย

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก่อนเก็บงานควรจะทดสอบการรับน้ำของรางน้ำฝนเสียก่อน โดยอาจทดลองฉีดน้ำลงบนหลังคาแล้วปล่อยให้น้ำไหลไปตามรางน้ำฝน หากไม่มีปัญหาใดก็สามารถเก็บงานได้เลย

บริหารจัดการอาคาร: ข้อควรรู้! ติดตั้งรางน้ำฝนสำคัญอย่างไรกับบ้านของคุณ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/