ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ทำไมต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) สำคัญอย่างไร

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ในยุคสมัยที่ความรักไร้พรมแดน การมีเพศสัมพันธ์ถือว่า เป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่ว่า เพศสัมพันธ์นั้น แฝงไว้ด้วยภัยเงียบที่หลายคนมองข้าม นั่นคือ "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" หรือโรค STD ซึ่งบางรายอาจจะไม่แสดงอาการ ทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นวงกว้างได้ ดังนั้น การตรวจโรคติดต่อทางเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยตรวจ STD เพื่อค้นหาเชื้อโรค ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ความสำคัญของการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD)
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเรียกว่า โรค STD ย่อมาจาก Sexual Transmitted Disease เป็นการตรวจหาเชื้อโรคที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่า บางรายอาจจะไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม ให้เข้ารับการรักษา ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น เป็นการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หาเชื้อ HIV, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, เชื้อหนองในแท้ หนองในเทียม, เชื้อเริม, หูดหงอนไก่ เป็นต้น

แล้วทำไมจึงต้องตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์? ด้วยการตรวจ STD มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลหลัก ดังต่อไปนี้
- เพื่อค้นหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการก็ตามอย่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี หากไม่ตรวจหาเชื้อ ก็จะไม่รู้ว่า ตนเองติดเชื้อ ซึ่งอาจจะแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ หากตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หาเชื้อได้เร็ว จะช่วยให้รักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
- การรักษาโรค STD ในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากปล่อยไว้นาน จะส่งผลให้โรคอาจลุกลาม เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้รักษายาก
- ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากบุคคลที่ติดเชื้อโรค STD โดยไม่รู้ตัว ทำให้อาจแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น การตรวจและรักษา STD จึงเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันโรคในวงกว้าง
- เพื่อช่วยในการวางแผนจะมีบุตร เพราะโรค STD บางชนิด ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และทำให้ทารกในครรภ์อาจติดเชื้อจากแม่ ดังนั้น การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะช่วยให้วางแผนการมีบุตรได้อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

ซึ่งโรค STD จะมีอาการ เช่น ตกขาวผิดปกติ (มีกลิ่น, สี, ปริมาณมาก), คันหรือระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ, มีตุ่ม ผื่น หรือแผล บริเวณอวัยวะเพศ, ปัสสาวะแสบขัด, เจ็บหรือปวดท้องน้อย, มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, มีหนองไหลจากอวัยวะเพศ, มีไข้ หรืออ่อนเพลีย หากมีอาการใดเหล่านี้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคอะไรบ้างที่ต้องได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง ควรจะตรวจโรคติดต่ออะไร ทั้งนี้ สามารถค้นหาสถานที่ตรวจ STD ใกล้ฉัน เพื่อเข้ารับการตรวจโรค STD ดังต่อไปนี้
1. โรคที่แสดงอาการ ได้แก่
     - หนองใน (Gonorrhea)
     - หนองในเทียม (Chlamydia)
     - เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes)
     - หูดหงอนไก่ (Genital warts)
     - ซิฟิลิส (Syphilis)
     - เชื้อเอชไอวี (HIV)
2. โรคที่ไม่แสดงอาการ ได้แก่
     - ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
     - ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)
     - มะเร็งปากมดลูก (HPV)
3. โรคอื่น ๆ ได้แก่
     - แผลริมอวัยวะเพศ (Haemophilus dycreyi)
     - พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)
     - โลน (Pubic lice)

หากต้องการตรวจ สามารถค้นหาด้วยคำว่า “ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใกล้ฉัน” เพื่อหาสถานพยาบาลในการตรวจ STD ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล, โรงพยาบาลเอกชน, คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งบางแห่งอาจจะมีบริการให้ตรวจโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ ฟรีด้วย

ใครบ้างที่ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
ในการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บุคคลที่ควรตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่
1. บุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศดังต่อไปนี้
     - มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
     - มีคู่นอนหลายคน หรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง
     - ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
     - เคยติดโรค STD มาก่อน
     - สงสัยว่าตนเองอาจติด STD
2. บุคคลที่มีอาการ เช่น อาการปัสสาวะแสบขัด, ตกขาว, มีหนองไหลจากอวัยวะเพศ, ตุ่มน้ำใส คัน เจ็บแสบที่อวัยวะเพศ, ติ่งเนื้อคล้ายหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ, แผลเรื้อรัง, ผื่น, คัน, ต่อมน้ำเหลืองโต, อาการคล้ายไข้หวัด หรืออ่อนเพลีย
3. บุคคลที่มีแผนจะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้วางแผนการมีบุตรได้อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ที่ได้รับโรค STD
4. บุคคลอื่น ๆ ที่แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ STD ตามความเสี่ยง, ประวัติการรักษา หรือโรคประจำตัว

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ผู้เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากไม่แน่ใจว่า ตนเองมีความจำเป็นต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ อาจจะพิจารณาจากพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโรค STD ดังนี้
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
- การมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพิ่มโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและเสี่ยงต่อการติดโรค STD เนื่องจากคู่นอนอาจจะมีประวัติติดเชื้อมาก่อน แต่ไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกต้อง
- การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย, ใช้ความรุนแรง หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีแผลหรือรอยโรค STD บริเวณอวัยวะเพศ
- การใช้สารเสพติดที่มีการใช้เข็มร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยา, สัก หรือเจาะ
- การสัมผัสสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศโดยตรง หรือผ่านวัตถุที่ปนเปื้อน
- การไม่ตรวจกามโรค เพื่อค้นหาเชื้อโรคเลย


ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไรบ้าง?
แม้ว่า การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะเป็นการตรวจสุขภาพที่ปลายเหตุแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ ทุกคนสามารถป้องกันโรค STD ได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด, ทวารหนัก หรือช่องปาก แล้วควรเลือกถุงยางอนามัยที่มีขนาดพอดี ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง
- การมีคู่นอนคนเดียว จะทำให้ทราบสถานะสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรค STD
- หมั่นตรวจสุขภาพทางเพศสัมพันธ์ ด้วยการตรวจ STD หรือตรวจเลือดเป็นประจำ เพื่อให้ทราบสถานะสุขภาพ ค้นหาเชื้อโรค และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบี
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย และมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก รวมถึงงดมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือน เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดโรค STD มากยิ่งขึ้น
- ไม่ใช้เข็มร่วมกันในทุกกรณี

สรุปเกี่ยวกับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นการตรวจหาเชื้อโรคที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยโรค STD มีทั้งแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการ เช่น หนองใน, เริม, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบี หรือมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงอย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย, เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือผู้ที่ต้องการจะมีบุตรก็ควรตรวจ โดยสามารถเลือกตรวจ STD ที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้ บางสถานพยาบาลให้บริการฟรีอีกด้วย ดังนั้น การตรวจ STD เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ควรรู้สึกอายหรือกังวล การตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้มีสุขภาพทางเพศที่ดี


References

Mayo Clinic. (2023, April 14). STD testing: What's right for you?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sexually-transmitted-diseases-stds/in-depth/std-testing/art-20046019
Thomas Kampfrath. (2022, October 04). STD Testing. https://www.testing.com/std-testing/
Cleveland Clinic. (2023, January 12). STI Testing (STD Testing). https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/std-testing
Lonna P. Gordon. (2024, January). Getting Tested for STDs. https://kidshealth.org/en/teens/std-testing.html