ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


SDLC คืออะไร เหตุใดนักพัฒนาต้องมี

SDLC คืออะไร เหตุใดนักพัฒนาต้องมี
« เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2024, 04:23:00 PM »
SDLC

SDLC กระบวนการพัฒนาระบบ ที่ช่วยออกแบบได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทำงานง่ายตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากขึ้น

SDLC หรือที่เรียกว่ากระบวนการพัฒนาระบบ (Software Development Lifecycle) กระบวนการที่ช่วยให้นักพัฒนาระบบสามารถวางแผนการออกแบบหรือจัดการสร้างซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ทดสอบ ติดตั้งและใช้งาน รวมถึงบำรุงรักษาแก้ปัญหาได้อย่างสุดล้ำ ที่นักพัฒนาจะขาดไม่ได้

SDLC ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้อีกด้วย เพราะการนำเสนอซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงสุด และตอบสนองความต้องการของตลาด จะช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ข้อดีของ SDLC Model มีอะไรบ้าง เราจะพาคุณไปหาคำตอบกัน

SDLC คืออะไร?

SDLC คือ

SDLC (Software Development Lifecycle) คือ วงจรการพัฒนาระบบที่มีโครงสร้างสำหรับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ลดความเสี่ยง ลดข้อผิดพลาด ทำให้ทีมพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีระบบและสามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการทำงานของ SDLC คืออะไร

การใช้ SDLC จะช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง และทำให้ทีมพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีระบบ ซึ่งขั้นตอนการทำงานของ SDLC มีดังนี้

  • การวางแผน : SDLC คือ ตัวช่วยในการรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้และระบบ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการวางแผนการทำงานอย่างถูกต้อง วิเคราะห์ความต้องการ เพื่อระบุฟังก์ชันและข้อกำหนดที่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดได้มากขึ้น
  • การออกแบบระบบ : การสร้างสถาปัตยกรรมและโครงสร้างของซอฟต์แวร์ออกแบบส่วนต่าง ๆ รวมถึงอินเทอร์เฟซและฐานข้อมูล เพื่อออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ดำเนินการพัฒนา : SDLC เขียนโค้ดตามการออกแบบที่กำหนดไว้ สามารถใช้เครื่องมือและภาษาการเขียนโปรแกรมอย่างเหมาะสม
  • ทดสอบ : ตรวจสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ เพื่อหาข้อผิดพลาดและบั๊ก ดำเนินการทดสอบหน่วย การทดสอบระบบ และการทดสอบที่ถูกยอมรับโดยผู้ใช้
  • ติดตั้ง : นักพัฒนาระบบสามารถนำซอฟต์แวร์เข้าสู่สภาพแวดล้อมการผลิต โดยมีการอบรมผู้ใช้และจัดเตรียมเอกสารการใช้งาน
  • บำรุงรักษา : แก้ไขข้อบกพร่องที่พบหลังการใช้งาน ปรับปรุงและพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ทำงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

แนะนำ SDLC Model

SDLC เป็นวงจรการพัฒนาระบบที่ช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ละโมเดลมีข้อดีและข้อเสียเฉพาะตัว การเลือก SDLC Model ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการและความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น

1. Waterfall Model

SDLC Model แบบเชิงเส้นที่มีลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน การทำงานแต่ละขั้นต้องเสร็จสิ้นก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนถัดไป Waterfall Model เหมาะสำหรับโครงการที่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนตั้งแต่ต้น
 
2. Big Bang Model

SDLC Model ที่เน้นการรวบรวมทรัพยากรและความพยายามทั้งหมดไปที่การพัฒนาและเขียนโค้ด โดยไม่มีการวางแผนหรือวิเคราะห์ความต้องการอย่างละเอียด มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ง่าย แต่ก็อาจนำไปสู่ปัญหาภายหลังได้ จึงไม่แนะนำสำหรับโครงการใหญ่ที่มีความซับซ้อน

3. Iterative Model

วงจรการพัฒนาระบบที่แบ่งการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์ออกเป็นช่วง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องในแต่ละรอบได้ ช่วยให้เห็นภาพรวมของการพัฒนาระบบตั้งแต่ต้น

4. V-Shaped Model

SDLC Model ที่คล้ายกับแบบ Waterfall Model แต่เพิ่มขั้นตอนการทดสอบในแต่ละระยะ มีความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาและการทดสอบอย่างใกล้ชิด เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการความมั่นใจและคุณภาพ

5. Agile Model

Agile Model เป็นแนวทางการพัฒนาออกแบบระบบซอฟต์แวร์ที่เน้นความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แบ่งการพัฒนาเป็นช่วงสั้น ๆ เน้นการทำงานร่วมกันกับทีมพัฒนา เหมาะสำหรับโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและต้องการความรวดเร็ว
 
6. Spiral Model

SDLC Model ที่ผสมผสานระหว่างการพัฒนาแบบวนซ้ำและการจัดการความเสี่ยง สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และประเมินความเสี่ยงได้ เหมาะสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนสูง

7. RAD Model

Rad Model เป็นโมเดลที่เน้นการสร้างซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบ สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนได้ตลอดการพัฒนา เหมาะสำหรับโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

ข้อดีของการมี SDLC

วงจรการพัฒนาระบบ

การทำ SDLC (Software Development Lifecycle) มีข้อดีหลายประการที่ช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ข้อดีของ SDLC คือ

  • SDLC ช่วยให้จัดการโครงการที่มีระเบียบและมีการวางแผน ทำให้ทีมพัฒนาสามารถวางแผนกิจกรรมและทรัพยากรอย่างเหมาะสมกับขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนด
  • มีการพัฒนาที่ชัดเจนและมีการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามความคืบหน้าของโครงการได้อย่างแม่นยำ
  • มีขั้นตอนการตรวจสอบที่มีคุณภาพ ชัดเจน ช่วยให้สามารถตรวจจับและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้
  • ช่วยระบุและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด หรือการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้
  • มีขั้นตอนการประชุมและการสื่อสารที่ชัดเจน ทำให้ทีมงานพัฒนาและผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบันทึกคู่มือการใช้งานที่ครอบคลุม ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ซอฟต์แวร์ ได้อย่างถูกต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สรุปการทำงานของ SDLC

Software Development Lifecycle : SDLC เปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่ช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถกำหนดความต้องการ ออกแบบโครงสร้าง บำรุงรักษา ปรับปรุง พัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์ได้ตามที่ต้องการ มีความมั่นใจในการทำงานร่วมกันได้มากขึ้น มองเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจน

การจ้าง Software Development Outsource หรือผู้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยบริษัทมืออาชีพจะช่วยให้องค์กรของคุณลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น และ CubeSoftTech คือผู้นำด้าน IT มีทีมงานมืออาชีพที่พร้อมรองรับลูกค้าธุรกิจ บริการออกแบบเว็บไซต์ การจัดการเนื้อหาขององค์กร ระบบธนาคาร ระบบการบริหารลูกค้า การวางแผนทรัพยากร ให้บริการลูกค้ามาแล้วมากมาย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ SDLC ได้อย่างแน่นอน