ในปัจจุบันโรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาที่หลายๆท่านมักจะเป็นกังวลกันนั้น โรคต้อ
โรคต้อหรือตาเป็นต้อ มักจะเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่มักพบได้ทั่วไปในผู้มีอายุมากขึ้น การทำความรู้จักกับโรคต้อจึงจะสามารถช่วยให้ท่านมองเห็นภาพรวมของสาเหตุ เพื่อทำให้ท่านได้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคต้อ หรือค้นพบความผิดปกติเพื่อรักษาก่อนที่จะสายเกินไปได้
โรคต้อ คืออะไร มีกี่ประเภทโรคต้อ หรือ ตาเป็นต้อ คือ โรค/อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ซึ่งมีอาการผิดปกติของโรค ทั้ง 4 รูปแบบ โดยบางอาการจะก่อให้เกิดความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของท่านที่มีความผิดปกติ บางท่านอาจจะเป็นโรคต้อที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่ในบางท่านอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้อีกด้วย ความผิดปกติของโรคต้อมีด้วยกัน ดังนี้
- ต้อลม (Pinguecula)
- ต้อกระจก (Cataract)
- ต้อเนื้อ (Pterygium)
- ต้อหิน (Glaucoma)
ทำความรู้จัก ต้อทั้ง 4 ชนิด เพื่อให้ท่านสามารถป้องกันโรคได้โรคต้อที่หลายๆคนอาจเรียกอีกอย่างว่า ตาเป็นต้อ ซึ่งจะใช้เรียกตามความผิดปกติของดวงตาทั้ง 4 รูปแบบ โดยมีลักษณะอาการที่สามารถสังเกตสาเหตุ พร้อมแนวทางการรักษา มีด้วยกัน ดังนี้
ต้อกระจกคือ อาการความเสื่อมสภาพดวงตาซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพของเลนส์ตา ก่อให้โครงสร้างของโปรตีนในดวงตาทำปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไป ส่งผลทำให้ตาขุ่นมัว มีผลกระทบต่อการมอง ก่อให้เกิดการมองภาพไม่ชัดเจน ตาพร่ามัวพร้อมเกิดภาพซ้อน เมื่อมีความผิดปกติมากขึ้นอาจรบกวนการมองเห็นชีวิตประจำวันได้มากขึ้น
สาเหตุ : สาเหตุหลักมักเกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัยของเลนส์ตา จะพบความผิดปกตินี้จากผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่อาการต้อกระจกนี้อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุได้ ซึ่งบางรายอาจเกิดจากการใช้สายตามากไป เช่น การจ้องแสงสว่างเป็นเวลานาน / อยู่บริเวณที่มีแสงยูวีมากเกินไป รวมทั้งบางท่านอาจเกิดจากผลกระทบจากโรคบางชนิด เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน หรือโคที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์ เป็นต้น
อาการ : ก่อให้เกิดรูม่านตาเป็นลักษณะสีขาวขุ่น บางท่านอาจมองเห็นภาพซ้อน จากสายตาเอียงได้ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวมากขึ้นเรื่อย ๆ มองเห็นได้ยากมากขึ้นนั่นเอง
การรักษา : เนื่องจากต้อกระจกจะแบ่งการรักษาด้วยการสังเกตความผิดปกติของเลนส์ดวงตา ตามแต่ระดับความร้ายแรงในการมองเห็น หากความสามารถในการมองเห็นเริ่มลดลง ทางแพทย์ผู้ดูแลจะทำการผ่าตัดขนาดเล็กเพื่อเปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นออกแล้วนำเลนส์ตาเทียมมาแทนที่ โดยการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์เฉพาะในการวินิจฉัยการรักษา
ต้อหินคือ โรคต้อรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเส้นใยประสาทของดวงตาเริ่มลดลง จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อขั้วประสาทตา (Optic disc) เกิดการเสื่อมสภาพ ซึ่งหน้าที่ของขั้วประสาทตาจะเป็นตัวส่งสัญญาณจากเส้นประสาทเข้าสู่สมอง เมื่อเส้นใยประสาทมีจำนวนน้อยลงภาพที่ต้องส่งไปยังสมองจึงน้อยลดตามไปด้วย ทำให้ความกว้างในการมองเห็นเริ่มมีจำกัด ก่อให้เกิดตาพร่ามัว ส่งผลให้ระยะยาวในการสูญเสียการมองเห็นถาวรได้นั้นเอง
สาเหตุ : เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดในการทำให้เกิดโรคต้อหินได้ จึงแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณีที่ก่อให้เกิดต้อหินนั้น คือ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามร่างกายโดยไม่มีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น การเสื่อมสภาพดวงตามวัย จะพบได้ตั้งแต่ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป บางท่านอาจเกิดจากมีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นต้อหิน อีกปัจจัยที่ส่งผลในกรณีที่เคยเกิดอุบัติเหตุ การผ่าตัด รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตในการไหลเวียนเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด เป็นต้น
อาการ : ลักษณะเริ่มต้นของอาการต้อหินจะไม่ชัดเจน แต่จะเริ่มส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพการมองเห็นเริ่มแคบลง จนทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้มีอาการต้อหินมักคิดว่าสายตาผิดปกติไปเองด้วยการมองเห็นภาพตรงกลางชัดเจน หากพักผ่อนคงหายเป็นปกติ จึงเป็นอาการที่คิดผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สามารถรู้ได้ถึงความผิดปกตินี้ จนถึงภาพการมองเห็นแคบมัวจนเข้าสู่อาการตาบอดอย่างถาวร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะใช้ระยะเวลายาวนาน 5 – 10 ปี โดยที่ผู้ป่วยบางท่านมักจะเข้ารับการรักษาเมื่อเกิดสภาพที่มองไม่เห็นแล้วนั้นเอง
การรักษา : การรักษาโรคต้อหินจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางแพทย์ที่ดูแลจะมีวิธีในการชะลออาการต้อหินในการช่วยลดสาเหตุที่เกิดความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็น ด้วยการยืดระยะเวลาของผู้ป่วยให้มีการมองเห็นออกไปได้มากที่สุด บางท่านที่สาเหตุเกิดจากความดันในลูกตาสูง แพทย์ผู้ทำการรักษาจะประเมินอาการในการรักษาด้วยยา / เลเซอร์ / การลดความดันของลูกตาลง ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำรวมทั้งหลีกเลี่ยงข้อห้ามอย่างเคร่งครัด
ต้อลมคือ โรคต้อที่มีความผิดปกติโดยเกิดจากเส้นใยคอลลาเจนในเยื่อบุในตาขาวมีการเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดก้อนนูนขึ้นในตาขาว ผู้ป่วยที่เป็นอาการดังกล่าวจะเริ่มมีความระคายเคืองตาเนื่องจากเกิดการอักเสบ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการมองเห็น การเป็นต้อลมจะยังไม่อันตรายมากเท่าโรคต้ออื่นๆ แต่หากปล่อยอาการต้อลมไว้นานโดยไม่ทำการรักษาให้หาย ต้อลมอาจเริ่มลุกลามจนกลายเป็นต้อเนื้อได้
สาเหตุ : สาเหตุที่แน่ชัดจากการเกิดต้อลมในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ บางรายเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาโดยตรง บางรายเกิดจากการสัมผัสกับฝุ่นควัน มลภาวะต่างๆ ผู้มีอาการตาแห้งระคายเคือง การใช้สายตาโดนแสงยูวีรวมทั้งการใช้สายตาทำงานหนัก (ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์) เป็นเวลานาน พร้อมด้วยผลกระทบจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาการ : ผู้ป่วยต้อลมจะมีก้อน/ แผ่นนูน สีขาวเหลืองในบริเวณเยื่อบุบดวงตา หรือบริเวณหัวตา บางรายอาจเกิดบริเวณหางตา มีการระคายเคืองตาบ่อยๆ ทั้งเจ็บ คัน น้ำตาไหล เหมือนมีเม็ดทรายอยู่ในดวงตา พร้อมด้วยตาขาวอาจบวมแดงในบริเวณที่มีก้อนนูนขึ้นมา
การรักษา: ผู้ป่วยที่เป็นต้อลมจะมีการระคายเคืองตาบ่อย การรักษาให้หายขาดในระยะยาวยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลรักษาจะรักษาตามอาการ เพื่อบรรเทาการระคายเคือง พร้อมกับป้องกันดวงตาด้วยการใช้น้ำตาเทียม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่น ควัน แสงแดด เป็นต้น หากมีความจำเป็นควรหาแว่นกันแดด / หมวกปีกกว้างเพื่อป้องกันดวงตาจากแสงแดดและฝุ่น ลม รวมถึงท่านที่สูบบุหรี่เป็นประจำควรงดบุหรี่ เนื่องจากสารบางชนิดในบุหรี่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้อาการต้อลมแย่ลงได้นั้นเอง
ต้อเนื้อคือ โรคต้อเนื้อเป็นโรคต้อที่เกิดจากการเป็นต้อลมอย่างต่อเนื่องจนอาการลุกลามนั้นเอง ซึ่งโรคต้อเนื้อเกิดจากเยื่อบุตาขาวอักเสบแต่มีความรุนแรงกว่าต้อลม โดยเนื้อเยื่อสีขาวบริเวณตาจะมีเส้นเลือดอยู่ในบริเวณนั้น พร้อมทั้งบริเวณหัวตา / หางตาจะปรากฏเนื้อเยื่อรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าในบริเวณตาดำ หาเนื้อเยื่อนี้ขยับจนไปปิดรูม่านตาได้ จะทำให้ผู้ป่วยต้อเนื้อมองเห็นไม่ชัด สายตาเอียง จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร ท่านควรทำการรักษาด้วยการลอกต้อเนื้อออกจึงจะสามารถกลับมามองเห็นอีกครั้ง
สาเหตุ : สาเหตุของต้อเนื้อเกิดจากต้นเหตุเดียวกับต้อลมที่พัฒนาความรุนแรงของความผิดปกติมากขึ้น รวมถึงการสัมผัสกับสภาพอากาศที่มีมลภาวะซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในดวงตามากยิ่งขึ้น จนทำให้ต้อลมมีความหนาขึ้น และขยายเข้าสู่บริเวณตาดำ พร้อมทั้งงอกเนื้อเยื่อเข้าสู่ตาดำ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะกลายเป็นต้อเนื้อในที่สุด
อาการ : อาการจะระคายเคืองกับผู้ป่วยเป็นต้อลม แต่มีความรุนแรงกว่า ทั้งอาการเจ็บดวงตา ระคายเคือง แสบในบริเวณดังกว่ามาก มีน้ำตาไหลเหมือนมีสิ่งติดค้างอยู่ในตา บางท่านอาจโดนแสงแดดไม่ได้ ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้สายตาเอียง
การรักษา : การรักษาเบื้องต้นในขั้นแรกจะเป็นลักษณะที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคต้อลม เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าในการกระตุ้นให้เกิดการระคายเคือง เพิ่มสภาพดวงตาให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอด้วยน้ำตาเทียม หากมีอาการแย่ลงส่งผลกระทบต่อการสองเห็นมากขึ้น ทางแพทย์ผุู้ทำการดูแลรักษาจะทำการผ่าตัดนำต้อเนื้อออกจากดวงตา แต่อาการต้อเนื้ออาจสามารถกลับมาได้หากผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมเช่นเดิม
ตรวจวินิจฉัยโรคต้อ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างผู้ป่วยที่รับรู้ถึงอาการป่วยของตนที่อาจเข้าข่ายโรคต้อแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตอาการ หรือมีข้อสงสัยว่าตนเองอาจมีความผิดปกติต่อการมองเห็นที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ท่านควรรีบเข้าพบแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด เพื่อมองหาแนวทางในการรักษา พร้อมกับชะลอความรุนแรงของอาการโรคต้อ ไม่ให้ลุกลามจนสายไปมากกว่านี้ โดยแพทย์จะทำการวิเคราะห์พฤติกรรมความเสี่ยงต่อโรคต้อเหล่านี้ เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยต่อไปนั้นเอง
วิธีการป้องกัน ไม่ให้เป็นต้อ ควรทำอย่างไรการดูแลดวงตาให้ห่างไกลจากโรคต้อ ท่านควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ดวงตา รวมถึงหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกที่สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต้อได้ โดยมีวิธีการป้องกันดังต่อไปนี้
- ท่านที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น ท่านควรตรวจสุขภาพสายตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดค่าสายตา และตรวจสอบความผิดปกติของดวงตา เพื่อป้องกันความผิดปกติได้
- ควรสังเกตสภาพการมองเห็นของตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ระยะการมองเห็นของสายตาที่แคบลง , สังเกตความพร่ามัวของสายตา หากมองเห็นไม่ชัดเจนกว่าปกติ หรือมีอาการตาแดง ตาบวม ปวดตาบ่อยขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาให้เร็วที่สุด
- ไม่ควรซื้อยารักษาดวงตาด้วยตนเอง หากพบถึงความผิดปกติ
- ควรดูแลรักษาตนเอง หากทานมีอาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นให้โรคต้อบางประเภทเกิดขึ้นได้
- หากท่านจำเป็นต้องใช้สายตาในการทำงานบ่อย ท่านควรพักสายตาเป็นระยะๆ
- หากหลีกเลี่ยงในการทำงานในสภาพอากาศที่เป็นมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควัน แสงแดด ท่านควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาให้ปกป้องดวงตาอีกขั้นหนึ่ง เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วยสารอาหารที่บำรุงสายตา การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สรุปการป้องกันจากโรคต้อจากข้อมูลข้างต้นนี้เองที่จะทำให้ท่านเข้าใจสาเหตุของโรคต้อ โดยการเกิดโรคต้อส่วนใหญ่มักเกิดจากความเสื่อมสภาพทางดวงตาตามแต่ละวัย แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาจนก่อให้เกิดความผิดปกติ ในบางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นจนส่งผลกระทบได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นท่านควรป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้นที่ก่อผลกระทบในการทำให้เกิดโรคต้อได้ เพื่อให้สามารถใช้ดวงตาในการมองให้ได้ในระยะยาวได้นั่นเอง