ผ่าต้อเนื้อเป็นวิธีการลอกต้อเนื้อที่เกิดขึ้นบนเยื่อบุตาออก วิธีการรักษาผ่าตัดต้อเนื้อมีหลายแบบ ใครห้ามทำบ้าง การเตรียมตัวก่อนหลังผ่าตัด ที่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างสู่โลกใบกว้าง ช่วยให้สัมผัสกับความงดงาม เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่โรคภัยไข้เจ็บกลับคุกคามดวงตาของหลายคนอยู่เสมอ หนึ่งในโรคที่สร้างปัญหาและส่งผลต่อการมองเห็นอย่างมาก คือ "ต้อเนื้อ" การ
ผ่าต้อเนื้อ pterygium excision คือวิธีรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อผิดปกติออกไป ฟื้นฟูการมองเห็น ทำให้ดวงตากลับมามีสุขภาพดีเหมือนเดิม
บทความนี้ มุ่งเน้นไปที่ผ่าต้อเนื้อ พาไปรู้จักกับวิธีการผ่าต้อเนื้อในรูปแบบต่าง ๆ ขั้นตอน วิธีการ ผลลัพธ์ ลอกต้อเนื้อ ราคาเท่าไร และคำแนะนำสำคัญหลังผ่าต้อเนื้อ รวมถึงใครที่ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดต้อเนื้อ เตรียมพร้อมเปิดประตูสู่ดวงตาสดใส ไร้ต้อเนื้อ ไปด้วยกัน
ต้อเนื้อคืออะไร สาเหตุการเกิดและอันตรายจากโรคต้อเนื้อ(Pterygium) คือโรคที่เกิดจากเยื่อบุตาขาวเสื่อมสภาพ เกิดเป็นพังผืดสีขาวเหลืองหรือสีชมพูอ่อน รูปทรงสามเหลี่ยม ปรากฏขึ้นบริเวณตาขาว มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา
สาเหตุของต้อเนื้อ เกิดจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
- การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดเป็นเวลานาน
- ระคายเคืองเกิดจาก ลมร้อน ลมแห้ง ฝุ่นควัน มลภาวะ
- ระคายเคืองตา จากสารเคมี ควันบุหรี่
- ขาดวิตามิน บางชนิด เช่น วิตามิน A, B12
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ต้อเนื้อลุกลามเร็วขึ้น ได้แก่
- แสงแดดเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นให้ต้อเนื้อลุกลาม โดยเฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
- ฝุ่นละออง ควัน มลพิษทางอากาศ
- ดวงตาแห้งกร้าน ขาดน้ำหล่อเลี้ยง ระคายเคือง
- ถูตาบ่อย ๆ อาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบ กระตุ้นให้ต้อเนื้อลุกลาม
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
- โรคบางชนิด หรือยาบางชนิด อาจทำให้ต้อเนื้อลุกลามได้เร็ว
อันตรายจากโรคต้อเนื้อ ต้องทำการรักษาด้วยวิธีผ่าต้อเนื้อออก มีดังนี้
- ต้อเนื้อลุกลามเข้ามาในบริเวณกระจกตา บดบังการมองเห็น โดยเฉพาะบริเวณรูม่านตา ส่งผลให้ ตาพร่ามัว มองไม่ชัด อาจมองเห็นภาพซ้อน กรณีรุนแรงอาจสูญเสียการมองเห็นถาวร
- กระจกตาอักเสบ การอักเสบของต้อเนื้ออาจลุกลามไปยังกระจกตา ส่งผลให้เกิดกระจกตาอักเสบ หากไม่ได้รักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ดังนั้นต้องผ่าตัดต้อเนื้อออก
- เยื่อบุตาอักเสบ การอักเสบของต้อเนื้อลุกลามไปยังเยื่อบุตา ส่งผลให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายได้
- ส่งผลต่อความมั่นใจ ต้อเนื้ออาจส่งผลต่อรูปลักษณ์ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึก ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าสบตาผู้อื่น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
อย่างไรก็ตาม โรคต้อเนื้อสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบแพทย์รับการรักษาโดยผ่าต้อเนื้อ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจส่งผลต่อการมองเห็นและคุณภาพชีวิตได้
รูปแบบในการผ่าต้อเนื้อ ข้อดีและข้อจำกัดผ่าต้อเนื้อเป็นวิธีรักษาต้อเนื้อขั้นรุนแรง ลุกลามหรือส่งผลต่อการมองเห็น แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีผ่าตาต้อเนื้อให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปมีวิธีผ่าตัดต้อเนื้อ หลายวิธีดังนี้
ลอกต้อเนื้อและเปิดส่วนที่เป็นตาขาวทิ้งไว้ (Bare sclera technique) มีรายละเอียด ดังนี้
- วิธีผ่าตัดต้อเนื้อ แพทย์จะฉีดยาชาบริเวณตา โดยตัดต้อเนื้อออกจากเยื่อบุตา เปิดส่วนที่เป็นตาขาวทิ้งไว้ อาจใช้เยื่อบุตาจากบริเวณอื่นมาปิดแผล
- ข้อดี เป็นวิธีรักษาง่าย รวดเร็วเหมาะกับต้อเนื้อไม่ใหญ่ ได้ผลลัพธ์ค่อนข้างดี
- ข้อจำกัด มีโอกาสต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้สูง ประมาณ 40-50% อาจทำให้ตาแห้ง ระคายเคือง หลังผ่าตัดต้อเนื้อ
- เหมาะกับผู้ป่วยมีต้อเนื้อขนาดเล็ก หรือต้องการวิธีผ่าต้อเนื้อที่ง่าย รวดเร็ว
ลอกต้อเนื้อและดึงเยื่อตาที่อยู่รอบเข้ามาชิดขอบตาดำพร้อมเย็บปิด (Simple conjunctival closure) มีรายละเอียด ดังนี้
- วิธีผ่าต้อเนื้อ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ลดอาการปวด ลอกเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากตาขาวดึงเยื่อตาที่อยู่รอบๆ ต้อเนื้อเข้ามาชิดขอบตาดำ และเย็บปิดแผล
- ข้อดี เป็นวิธีผ่าตัดเรียบง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาผ่าตัดสั้น มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ผู้ป่วย ผ่าต้อเนื้อ พักฟื้นน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
- ข้อจำกัด มีโอกาสต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้สูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยมีต้อเนื้อขนาดใหญ่
- เหมาะกับผู้ป่วยเป็นต้อเนื้อขนาดเล็ก หรือต้องการผ่าตัดแบบรวดเร็ว
ลอกต้อเนื้อและปลูกถ่ายเยื่อตาของผู้ป่วยในบริเวณที่ลอกออก (Resection followed by autologous conjunctival graft)มีรายละเอียด ดังนี้
- วิธีผ่าตาต้อเนื้อ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ลอกเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากตาขาว โดยนำเยื่อบุตาจากบริเวณอื่นของดวงตาผู้ป่วยเองมาปลูกแทนที่แผลที่ลอกต้อเนื้อออก และเย็บปิดแผล
- ข้อดี ต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้น้อย แผลหายเร็วและอาการตาแห้งหรือระคายเคืองตาน้อย
- ข้อจำกัด ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่าวิธีผ่าต้อเนื้อแบบอื่น อาการหลังผ่าตัดต้อเนื้อผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตา มีโอกาสเกิดแผลเป็นบริเวณที่นำเยื่อบุตาไปปลูก
- เหมาะกับผู้ป่วยเป็นต้อเนื้อขนาดใหญ่หรือลุกลามลึก ลดการเกิดซ้ำ และยอมรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
ลอกต้อเนื้อและปลูกถ่ายเยื่อหุ้มรกในบริเวณที่ลอกออก (Resection followed by amniotic membrane graft)มีรายละเอียด ดังนี้
- วิธีผ่าต้อเนื้อ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ลอกเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากตาขาวและนำเยื่อหุ้มรกที่ผ่านการเตรียมมาวางบนแผลที่ลอกต้อเนื้อออกเสร็จแล้วเย็บปิดแผล
- ข้อดี ต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้น้อย อาการหลังลอกต้อเนื้อแผลหายเร็ว อาการตาแห้งหรือระคายเคืองตาน้อย ลดการอักเสบ กระตุ้นการสมานแผล
- ข้อจำกัด ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่าวิธีผ่าต้อเนื้อแบบอื่น รวมทั้งค่าผ่าต้อเนื้อราคาสูงกว่าวิธีอื่น
- เหมาะกับผู้ป่วยเป็นต้อเนื้อลุกลามลึก ลดโอกาสต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำ หรือผู้ป่วยมีปัญหาตาแห้งหรือระคายเคืองตา
ลอกต้อเนื้อและปลูกถ่ายเนื้อเยื่อขอบตาดำ รวมทั้งเยื่อตาของผู้ป่วยในบริเวณที่ลอกออก (Resection followed by limbal-conjunctival graft)มีรายละเอียด ดังนี้
- วิธีผ่าตัดต้อเนื้อ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ลอกเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากตาขาว นำเนื้อเยื่อจากบริเวณขอบตาดำ หรือเยื่อบุตาของผู้ป่วยเองมาปลูกแทนแผลที่ลอกต้อเนื้อออกและเย็บปิดแผล
- ข้อดี ต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้น้อย อาการหลังลอกต้อเนื้อ แผลหายเร็ว กระตุ้นการสมานแผล อาการตาแห้งหรือระคายเคืองตาน้อย
- ข้อจำกัด ใช้เวลาผ่าต้อเนื้อนาน มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น และอาจมีโอกาสเกิดแผลเป็นบริเวณนำเนื้อเยื่อไปปลูก
- เหมาะกับผู้ป่วยเป็นต้อเนื้อขนาดใหญ่ มีปัญหาตาแห้งหรือระคายเคืองตา รวมถึงต้องการผลลัพธ์ที่ดี
ใครไม่เหมาะกับการรักษาแบบผ่าตัดต้อเนื้อ โดยทั่วไป ผ่าต้อเนื้อเป็นวิธีรักษาหลักของโรคต้อเนื้อ แต่มีบางกรณีผู้ป่วยไม่เหมาะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดต้อเนื้อ คือ
- มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคภูมิแพ้
- มีภาวะตาบางชนิด เช่น ตาแห้ง เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ต้อกระจก ต้อหิน
- เป็นต้อเนื้อระยะลุกลาม มาก ขนาดใหญ่ ลุกลามเข้าสู่กระจกตา หรือบดบังการมองเห็น
- มีประวัติผ่าตัดต้อเนื้อ มาแล้วหลายครั้ง หรือเคยผ่าตัดต้อเนื้อแล้วต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับรักษาผ่าต้อเนื้อผ่าตัดต้อเนื้อเป็นวิธีรักษาต้อเนื้อพบได้บ่อย ก่อนจะเข้าผ่าตัดต้อเนื้อ ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับผ่าต้อเนื้อ ดังนี้
- แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาทานเป็นประจำ ยาสมุนไพรหรืออาหารเสริม แพทย์อาจแนะนำให้หยุดยาบางชนิดก่อนการผ่าต้อเนื้อ เช่น ยาทำให้เลือดแข็งตัวช้าหรือยาละลายลิ่มเลือด
- แจ้งแพทย์หากมีโรคประจำตัว หรือใส่คอนแทคเลนส์ ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดต้อเนื้อ
- แจ้งแพทย์หากมีอาการตาแห้ง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาก่อนผ่าตาต้อเนื้อ
- งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดต้อเนื้อ
- เตรียมแว่นกันแดด ไว้ใส่หลังผ่าตัด แสงแดดอาจทำให้ดวงตาระคายเคืองได้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือดูรีวิวลอกต้อเนื้อของผู้ที่เคยทำแล้ว ก่อนผ่าตัด
- อาบน้ำสระผมให้สะอาด ก่อนมาโรงพยาบาล
ขั้นตอนในการผ่าต้อเนื้อ ที่ควรรู้การผ่าตัดต้อเนื้อมีหลายขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยขั้นตอนหลัก ๆ มีดังนี้
- เตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต้อเนื้อ: แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณดวงตาของผู้ป่วย ทายาชาเฉพาะที่บริเวณเปลือกตาและเยื่อบุตา และฆ่าเชื้อบริเวณดวงตา
- ผ่าตัด: แพทย์จะใช้มีดผ่าตัดหรือเลเซอร์ ผ่าต้อเนื้อออกจากตาขาว โดยพยายามรักษาเนื้อเยื่อบุตาที่ปกติให้มากที่สุด หรือในบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นของร่างกายเพื่อปิดแผลที่ลอกต้อเนื้อออกไป
- ปิดแผล: แพทย์จะเย็บแผลด้วยไหมเย็บชนิดพิเศษละลายได้เอง
ระยะเวลาผ่าต้อเนื้อ ใช้เวลาประมาณ 15-45 นาที ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของต้อเนื้อและเทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังผ่าต้อเนื้ออาการหลังลอกต้อเนื้อ ดวงตาของผู้ป่วยจะมีความบอบบาง ระคายเคือง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยควรศึกษาข้อปฏิบัติ หลังลอกตาต้อเนื้อ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันตัวเองและการดูแลหลังผ่าตัดต้อเนื้อ ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ต่อวัน ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก หลังผ่าตัดต้อเนื้อ
- หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง ควรสวมแว่นกันแดด หมวก หรือหน้ากากอนามัย เมื่อออกไปข้างนอก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา ควร ล้างมือ ให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือน้ำอุ่นทุกครั้งก่อนสัมผัสตาและหลีกเลี่ยงการ ถู ขยี้ หรือเกาตา
- ใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการอักเสบป้องกันการติดเชื้อและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา
- ประคบเย็นบริเวณรอบดวงตา วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ในช่วง 1-2 วันแรก หลังผ่าต้อเนื้อ เพื่อลดอาการบวมหรือปวด
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ แช่น้ำ หรือเล่นกีฬาทางน้ำ อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดต้อเนื้อ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ หลังผ่าต้อเนื้อ
- ไปพบแพทย์ตามนัดหลังผ่าต้อเนื้อ เพื่อติดตามผลการรักษา
สรุปเกี่ยวกับผ่าต้อเนื้อต้อเนื้อเป็นโรคตาเกิดจากเยื่อบุตาขาวเสื่อมสภาพเกิดเป็นพังผืดสีขาวเหลืองส่งผลต่อการมองเห็น วิธีรักษาหลักคือผ่าต้อเนื้อออก มีหลายวิธี ผ่าตัดต้อเนื้อมีประสิทธิภาพสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่กลับมามีสุขภาพตาที่ดี แต่บางรายอาจมีโอกาสต้อเนื้อกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นหากเป็นต้อเนื้อรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย วางแผนการรักษาและดูแลสุขภาพตาอย่างถูกต้อง ให้ดวงตากลับมาสดใสได้เหมือนเดิม[/list]