ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


วิธีคำนวณค่าไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าทำอย่างไร สูตรง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

วิธีคํานวณค่าไฟฟ้า จากมิเตอร์

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมค่าไฟแต่ละเดือนถึงแพงหรือบางเดือนก็ถูกเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่และมีวิธีคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองอย่างไรได้บ้าง ดังนั้นบทความนี้จึงมีสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าทั้งคำนวณค่าไฟ แอร์ คำนวณค่าไฟ ตู้เย็น คำนวณค่าไฟ พัดลมและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่คุณก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้ด้วยตนเองด้วยวิธีคำนวณค่าไฟแบบง่าย ๆ

องค์ประกอบที่ใช้คำนวณไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ก่อนจะลงมือคำนวณค่าไฟฟ้าทราบหรือไม่ว่าวิธีคํานวณค่าไฟฟ้าไม่เพียงแต่ดูเลขตรงเลขมิเตอร์แล้วคำนวณค่าไฟจากมิเตอร์เท่านั้น แต่การคำนวณค่าไฟยังมีองค์ประกอบอีกหลายส่วนที่เป็นส่วนสำคัญ อีกทั้งยังไขข้อสงสัยได้อีกด้วยว่าทำไมบางเดือนค่าไฟแพงทั้ง ๆ ที่ใช้ไฟเท่าเดิม

ปัจจัยอะไรกันแน่ที่ส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้นหรือถูกลง ซึ่งวิธีคำนวณไฟฟ้าต้องมีองค์ประกอบค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่เป็นส่วนสำคัญในการคิดคำนวณค่าไฟที่แต่ละบ้านต้องทราบก่อน โดยมี 4 องค์ประกอบค่าใช้จ่ายในการใช้คำนวณค่าไฟดังต่อไปนี้

1. ค่าไฟฐาน เป็นองค์ประกอบใช้คำนวณค่าไฟที่คิดมาจากต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้แก่ สายจำหน่าย สายส่งไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายดำเนินงานผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงต้นทุนของราคาค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อัตราเงินเฟ้อระดับหนึ่งและอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยหรือค่าไฟฐาน ซึ่งจะมีการปรับทุก ๆ 3-5 ปี
2. ค่าบริการรายเดือน เป็นองค์ประกอบที่ใช้มาการคำนวณค่าไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการบริการของภาครัฐที่ให้บริการสำหรับลูกค้า อย่างเช่นค่าบริการจัดส่งบินไฟฟ้า ค่าบริการจดหน่วยไฟฟ้านั่นเอง
3. ค่า Ft หรือค่าไฟฟ้าผันแปรเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการคำนวณค่าไฟ ซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ตามต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและปรับขึ้นลงตามค่าซื้อไฟฟ้า
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat 7% เนื่องจากค่าไฟฟ้าก็เป็นสินค้าและบริการอีกประเภทหนึ่งที่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ในสูตรคำนวณค่าไฟต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มและคำนวณจากค่าไฟฐาน ค่าบริการรายเดือนและค่า Ft เป็นสูตรคำนวณค่าไฟ Vat 7% คือ (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft) x 7%  ซึ่งจะเรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนดและนำส่งให้สรรพากร

สูตรการคำนวณค่าไฟมีกี่ขั้นตอน? ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง?

ค่าไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายหลักที่ต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน และถ้าอยากทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตัวไหนกินไฟมากที่สุดหรือเป็นต้นเหตุค่าไฟแพง จะต้องคำนวณค่าไฟฟ้าอย่างไรได้บ้างเพื่อลดการใช้งานโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังทำให้เป็นอีกวิธีที่ช่วยในการประหยัดค่าไฟได้ด้วย ซึ่งจะมีวิธีคำนวณค่าไฟ watt 4 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้

คำนวณค่าไฟ การไฟฟ้านครหลวง

1. คำนวณค่าไฟ watt ตามกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด
วิธีการคำนวณค่าไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือการคำนวณค่าไฟ watt จะสามารถสังเกตได้จากตัวเลขที่ระบบตรงกล่องบรรจุหรือตัวเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งจุดสังเกตกำลังไฟฟ้าจะมีหน่วยเป็น watt (W)

วิธีการคำนวณค่าไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องมีข้อมูลชั่วโมงการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดก่อน เพื่อจะนำไปคำนวณค่าไฟซึ่งจะยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นที่นิยมภายในบ้านแต่ละชนิดมีกำลังไฟฟ้าเท่าไหร่บ้างดังนี้

- คํานวณค่าไฟ แอร์ มีกำลังไฟฟ้า 1,200 W
- คำนวณค่าไฟ ตู้เย็น มีกำลังไฟฟ้า 150 W
- คำนวณค่าไฟ พัดลม มีกำลังไฟฟ้า 35-104 W

วิธีคำนวณวัตต์ค่าไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจะใช้การคํานวณค่าไฟ สูตรที่เหมือนกันคือ(กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1,000) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

2. สูตรคำนวณไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยต่อวัน
หลังจากการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านว่าในแต่ละวันใช้งานกี่ชั่วโมงและมีกำลังวัตต์ไฟฟ้าเท่าไหร่  ก็จะสามารถใช้วิธีคำนวณวัตต์ค่าไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่สามารถใช้การคํานวณค่าไฟได้ สูตรคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าคือ (กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1,000) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

3. สูตรคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้า
หากคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วจะได้ข้อมูลจำนวนหน่วยการใช้ไฟต่อวัน(ยูนิต) และต่อมาใช้วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า นครหลวง จะใช้ในการคำนวณปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนซึ่งจะมีวิธีคำนวณค่าไฟฟ้าดังนี้
- 150 หน่วย แรก (หน่วยที่ 1 – 150) หน่วยละ 3.2484 บาท คือ150 x 3.2484 รวมเป็นเงิน 487.26 บาท
- 250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 4.2218 บาท คือ 250 x 4.2218 รวมเป็นเงิน 1,055.45 บาท
- จำนวนหน่วยต่อวันเกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท คือ (400-จำนวนหน่วยต่อวันเกิน) และนำไป x 4.4217
รวมตัวเลขทั้งหมดจะได้ค่าไฟฟ้า/เดือน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

4. ขั้นตอนสุดท้ายคำนวณค่าไฟค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดต่อเดือน       
ขั้นตอนสุดท้ายในการคำนวณค่าไฟฟ้าจะต้องรวมค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน ซึ่งค่า Ft สามารถมีการเปลี่ยนแปลงปรับในทุก 4 เดือน มีสูตรการคำนวณคือ ค่าไฟฟ้า = (ค่าไฟฟ้าที่คำนวณได้ + (Ft x จำนวนหน่วย) ÷ 100) x 1.07 หากแทนค่าเรียบร้อยแล้วก็จะได้ค่าไฟฟ้าต่อเดือนนั่นเอง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการคำนวณค่าไฟ
นอกจากการคำนวณค่าไฟมักมีคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับค่า Ft ว่าคืออะไรมาจากไหนทำไมต้องนำมาคำนวณค่าไฟฟ้าด้วย มาไขข้อสงสัยไปพร้อมกันเกี่ยวกับค่า Ft ทำไมเราถึงต้องจ่ายรวมกับค่าไฟบ้านด้วย

ค่า Ft มาจากไหน?
ค่า Ft มาจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างเช่นอัตราเงินเฟ้อ ค่าเชื้อเพลิง หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้าจากเอกชน รวมถึงค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่เกิดขึ้นจริง

ทำไมต้องจ่ายค่า Ft?
ค่า Ft ถูกจัดให้เป็นองค์ประกอบในการคำนวณไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็กที่ เกิดได้จากค่า Ft เป็นต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้และมีการปรับในทุก ๆ 4 เดือน จึงทำให้ค่า Ft เป็นองค์ประกอบที่นำมาคิดคำนวณค่าไฟฟ้าด้วย

สรุป คำนวณค่าไฟง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง

วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าหรือสูตรคำนวณค่าไฟ watt อาจจะดูยุ่งยากและมีหลายขั้นตอน หากไม่ต้องการคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองให้ยุ่งยากสามารถคำนวณค่าไฟออนไลน์ หรือนอกจากนี้ยังสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าจากเว็บไซต์คำนวณค่าไฟ กฟนและคํานวณค่าไฟ กฟภได้เช่นกัน