ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ภาวะแทรกซ้อนของ โรคไต

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคไต
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2024, 09:28:09 AM »
ภาวะแทรกซ้อนของ โรคไต

ไตวาย
ไตวายเฉียบพลันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะน้ำท่วมปอด อาการเจ็บหน้าอกจากของเสียที่คั่งอยู่ในกระแสเลือด กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการขาดสมดุลของสารต่าง ๆ ในร่างกาย ไตถูกทำลายอย่างถาวร หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า และอาจกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากไตวายเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ไตอักเสบ
การอักเสบของไตอาจสร้างความเสียหายและส่งผลให้เกิดของเหลวส่วนเกินสะสมอยู่ตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น

กรวยไตอักเสบ
กรวยไตอักเสบหากไม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เกิดแผลเป็นหรือฝีในไต และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ โดยกรวยไตอักเสบชนิดเฉียบพลันอาจนำไปสู่การเกิดกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที

นิ่วในไต
หากนิ่วในไตที่มีขนาดใหญ่เคลื่อนจากไตไปสู่ท่อไตหรือไปปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ท่อปัสสาวะอุดกั้นจนนำไปสู่การติดเชื้อ และอาจเกิดการบาดเจ็บที่ไตจนมีภาวะไตวาย


การวินิจฉัย โรคไต

นอกจากอาการที่ปรากฏ แพทย์อาจตรวจการทำงานของไตเพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    ตรวจเลือด เพื่อตรวจระดับของเสียในเลือดอย่างสารครีอะตินิน ตรวจอัตราการกรองของเสียออกจากเลือดของไต ตรวจหาการติดเชื้อ และตรวจหาแคลเซียมหรือกรดยูริคในกรณีที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของนิ่วในไต
    ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจระดับสารอัลบูมินและครีอะตินิน โปรตีน เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเชื้อแบคทีเรียที่ปนอยู่ในปัสสาวะ
    ตรวจจากภาพถ่าย ตรวจลักษณะ การอุดตัน และการทำงานของไตด้วยการเอกซเรย์ อัลตราซาวด์ CT Scan หรือ MRI Scan
    ตรวจชิ้นเนื้อ ในบางกรณีแพทย์อาจใช้เข็มเจาะนำตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อไตไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์