แน่นอนว่าในบางครั้งนั้นเราอาจจะเกิดปัญหาทางด้านการเงินที่ทำให้เราต้องการ
เงินด่วน สักก้อนเพื่อนำมาใช้จ่ายหมุนเวียนก่อน ซึ่งหลายๆ คนนั้นก็อาจจะมีมีวิธีในการหา เงินด่วน ก้อนนี้ที่แตกต่างกันไป โดยอาจจะเลือกหยิบยืมญาติพี่น้อง จำนำทรัพย์สิน หรืออาจจะเลือกขอสินเชื่อกับทางธนาคาร เป็นต้น โดยใครก็ตามที่เลือกขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง
1. โฆษณา ดอกเบี้ยสินเชื่อ ต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นการขอ
สมัครสินเชื่อเงินสด สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อ
เงินกู้ อื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะว่าในการพิจารณาการขอกู้สินเชื่อจากแต่ละสถาบันการเงินนั้น ในบางทีก็อาจจะมีการโฆษณาว่า
ดอกเบี้ยสินเชื่อ ของตัวเองนั้นถูกที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะต้องระวังโฆษณาที่ระบุว่า ดอกเบี้ยต่อเดือนน้อยหรือดอกเบี้ย 0% เพราะว่าถ้าหากเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือนนั้นก็ให้คูณด้วย 12 เข้าไปด้วย เราจึงจะได้รู้ว่าอัตราดอกเบี้ยต่อปีที่แท้จริงนั้นคือเท่าไหร่
2. เราต้องคำนวณตัวเลขทุกอย่างรวมกัน ไม่ใช่มองแค่อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อแต่ละประเภทที่สถาบันการเงินให้มา ทั้งนี้ก็เพราะเราทุกคนนั้นมีต้นทุน โดยต้นทุนทุกอย่างที่เรามีนั้นเราควรจะถือว่ามันเป็นต้นทุนในการกู้เงินของเรา ฉะนั้นมันก็คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด อย่างเช่น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการใดๆ
3. เพดานดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม โดยธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นถทอว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) และแบงค์ชาติก็ได้มีการออกกฎห้ามธนาคาร และ Non-Bank คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมลูกค้าเกินอัตราดังนี้
- ในกรณีของธนาคารนั้น จะเรียกเก็บดอกเบี้ยปกติ ดอกเบี้ยผิดนัด ค่าบริการ หรือเบี้ยปรับในการชำระหนี้ล่าช้า เมื่อคำนวณรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate) โดยไม่ว่าจะเรียกเก็บจากลูกค้าอย่างใดก็ตาม อย่างเช่น A บาทต่อครั้ง หรือเรียกเก็บในเวลาใด อย่างเช่น วันแรกที่เราขอสินเชื่อ หรือเมื่อครบกำหนดชำระในแต่ละเดือน เป็นต้น
- ในกรณีของ Non-Bank นั้นจะคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ ซึ่งเมื่อคำนวณรวมกับดอกเบี้ยผิดนัด ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ แล้วนั้นจะต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate) เสมอ โดยไม่ว่าจะเรียกเก็บจากลูกค้าอย่างใดก็ตาม อย่างเช่น A บาทต่อครั้ง หรือเรียกเก็บในเวลาใด อย่างเช่น วันแรกที่เราขอสินเชื่อ หรือเมื่อครบกำหนดชำระในแต่ละเดือน เป็นต้น
ซึ่งเพดานของตัวเลขด้านบนนั้นเราจะไม่ใชม่ใช้บังคับกับสินเชื่อส่วนบุคคลเหล่านี้
- สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีทรัพย์สินเป็นประกัน อย่างเช่น สินเชื่อบ้านหรือ สินเชื่อรถยนต์ โดยมีรถมาจำนำ หรือโอนลอยทะเบียนไว้
- สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจ เช่น ลิสซิ่งเครื่องจักร
- สินเชื่อเพื่อการศึกษา
- สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
- สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน
- สินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาล
4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพราะเวลาเรากู้สินเชื่อส่วนบุคคลนั้นทางธนาคารและ Non-Bank ก็อาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกหลายรายการ อย่างเช่น ค่าอากรแสตมป์ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต หรือค่าใช้จ่ายในการออกบัตรใบใหม่ให้ เป็นต้น