เมื่อทารกร้องไห้ ถือเป็นการสื่อสารความต้องการของทารกที่ยังไม่สื่อสารทางอื่นได้ การร้องไห้ของทารกมักจะสื่อถึง หิว ร้อนหรือหนาวเกินไป มีอาการเจ็บป่วย หรือผ้าอ้อมเปียกแฉะ เป็นต้น แต่หาก ลูกร้องไม่หยุด หรือ
ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ย่อมเป็นภาวะที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ทุกคนอย่างแน่นอน และเป็นไปได้ว่าเป็นสัญญาณของการร้องไห้เพราะ อาการโคลิค คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจกับการร้องไห้แบบโคลิคเพื่อที่จะได้รับมือกับอาการนี้ได้อย่างถูกต้อง
อาการโคลิค เป็นอาการที่เกิดกับทารกที่อายุประมาณ 3 – 4 เดือน โดยจะร้องอย่างหนัก ติดต่อกันเนเวลานาน โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องได้ ซึ่งมีอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น
• ร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงหัวค่ำ - กลางคืน และร้องนานกว่าปกติ บางคนร้องนานเกินกว่า 2-3 ชั่วโมง
•
ลูกร้องไม่หยุดโดยไม่มีสาเหตุมักจะเกิดขึ้นทันที โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยมาก่อน และมีอาการปกติมาตลอด
• เด็กร้องเสียงแหลม และดังมาก คล้ายปวดท้อง มือ อาจะมีอาการท้องเกร็ง และชันขางอเข้าหาตัว
• ไม่สามารถป้องกันการร้องไห้ได้ และจะปลอบให้หยุดร้องได้ยาก แต่จะหยุดร้องไปเอง
• ร้องไห้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน และติดต่อเกิน 1 สัปดาห์ขึ้นไป
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการร้องไห้แบบโคลิค จะดูเป็นอาการของลูกน้อยที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนเกิดความกังวลใจ ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนของการเกิด
อาการโคลิคได้ แต่หากพ่อแม่สังเกตพฤติกรรมของลูกอาจทำให้พอทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นภายนอกและแก้ไขปัญหาได้ไม่ยาก สำหรับสาเหตุที่คาดว่าจะทำให้ ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ต่อเนื่องยาวนานนั้น เช่น
• ไม่สบายตัว เนื่องจากมีความชื้นของผ้าอ้อมหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
• ทานนมมากเกินความต้องการของร่างกาย
• มีอาการท้องอืด หรือมีลมในท้อง จากการป้อนนมที่ไม่ถูกท่า
• ถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น แสงไฟ เสียงรบกวน เป็นต้น เพราะทารกยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อม
เมื่อคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ เด็กร้องไห้ ไม่หยุดแล้ว ถึงขั้นตอนที่จะหาทางรับมือกับสภาวการณ์ดังกล่าวเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพื่อผ่อนคลายความกังวลใจลงได้บ้าง
• เช็คผ้าอ้อมอยู่เสมอว่ามีความชื้นที่จะสร้างความไม่สบายตัวให้กับลูกน้อยหรือไม่ หมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกน้อยสบายตัวมากขึ้น
• เมื่อให้ลูกน้อยทานนมแล้ว ให้จับเรอทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดลมในกระเพาะ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นกรดไหลย้อนด้วย
• ลดการเกิดสิ่งรบกวน เช่น หากสังเกตว่าเมื่อเปิดไฟแล้วลูกน้อยจะร้องไห้งอแง แนะนำให้ลองปิดไฟและให้ลูกน้อยนอนในสถานที่ที่เงียบสงบ เพราะลูกอาจจะยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ในท้องแม่
• นำลูกน้อยมาไว้ในอ้อมอก โดยให้ชิดกับอก และจับโยกเบา ๆ เพื่อสร้างความอบอุ่นปลอดภัยให้กับลูกน้อย
เพียงเท่านี้ ความน่ากังวลใจเมื่อลูกร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ ก็จะไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวลอีกต่อไป คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ตามพฤติกรรมของลูกน้อยกันดูก่อน แต่หากไม่แน่ใจหรืออาการ
ทารกร้องไห้ไม่หยุดยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์นะ