ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ความแตกต่างของเด็กร้องไห้กับ อาการโคลิค ที่พ่อแม่ต้องสังเกตให้ดี

แม้ว่า "การร้องไห้" จะเป็นวิธีสื่อสารหลักที่ทารกใช้บอกความต้องการกับพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นอาการหิวนม ง่วงนอน ไม่สบายตัว เป็นเรื่องปกติที่เด็กร้องไห้ แต่หากร้องไห้อย่างไม่สาเหตุล่ะก็คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้ดีๆ เลย
   เมื่อลูกน้อยอยู่ในช่วงวัย 2-3 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่า ลูกของเรามีอาการร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ เพราะช่วงวัยนี้มีโอกาสที่จะเกิด อาการโคลิค ได้ทั้งทารกเพศหญิงและชาย ซึ่งอาการนี้จะทำให้ ทารกร้องไห้ แบบน่าตกใจ แตกต่างจากกรณี เด็กร้องไห้ ธรรมดาอย่างสิ้นเชิง โดยมีวิธีสังเกตดังนี้
   -ลูกร้องไห้รุนแรงเสียงดัง ร้องเสียงแหลมกว่าปกติ
   -ระหว่างร้องไห้อาจมีอาการเกร็งแขนขา จนหดงอ
   -ร้องไห้จนหน้าแดง
   -ร้องไห้ในเวลาเดิม ๆ แทบทุกวัน เช่น ในช่วง 3 ทุ่ม ซ้ำๆ กันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์
   ถ้าการร้องไห้ของลูกเข้าข่ายนี้เรียกว่าอาการโคลิค คุณพ่อคุณแม่อาจต้องลองหาเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ลูกน้อยสงบลง ซึ่งอาจไม่เหมือนกับการปลอบเวลาลูกร้องไห้ทั่วไป เช่น ลองอุ้มลูกพร้อมลูบหลังเบา ๆ จากนั้นพาไปในห้องที่สงบ ๆ แสงน้อย ๆ เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นลง หรืออาจอุ้มลูกแล้วนั่งเก้าอี้โยกช้า ๆ จับให้ลูกน้อยนอนในท่าคว่ำหรือตะแคงบนตักแม่ หรือลองจับให้ลูกนอนหงายแล้วนวดท้องเบา ๆ ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาสัก 3-4 นาที ก็อาจช่วยให้ลูกน้อยสบายตัวขึ้นและสงบลงได้บ้าง แต่หากใช้วิธีเหล่านี้แล้วลูกยังไม่ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจเช็คร่างกายลูกอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เตรียมการรับมือ การดูแลลูกให้ถูกวิธี
   และนอกจากอาการร้องไห้อย่างรุนแรงแล้ว หากพบสัญญาณต่อไปนี้ร่วมด้วย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรจะรีบพาลูกพบแพทย์โดยเร็วเช่นกัน ได้แก่
   - มีผื่นขึ้น
   - อาเจียน
   - ถ่ายมีมูกเลือดหรือถ่ายเหลว
   - มีไข้ (อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส)
   - ลูกมีผิวซีดหรือคล้ำ หายใจลำบาก
   หากลูกมีอาการเหล่านี้ หรือคุณพ่อคุณแม่ประเมิณแล้วว่าไม่สามารถรับมือได้เอง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพราะอาการโคลิคนี้อาจสร้างความเครียดและกดดันให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือคนดูแลทารกได้ง่าย ทั้งนี้ จะต้องตระหนักเสมอว่า การร้องไห้แบบโคลิค เป็นอาการชั่วคราวที่เกิดขึ้นได้กับทารกทั่วไป และจะหายไปเองในช่วงที่ลูกน้อยเติบโตเข้าสู่วัย 6 เดือน โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อพัฒนาการของลูกน้อย