ทำเลค้าขาย     เขตปทุมวัน, พญาไท, ราชเทวี (สามเสนใน), ดินแดง
4.1K
20
สยามสแควร์
MARKET
สยามสแควร์ (อังกฤษ: Siam Square) หรือเรียกกันว่า สยาม เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามเซ็นเตอร์ สยามสแควร์เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลขที่ 254 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ทุกวัน
63 ไร่
ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน

สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ทั่วสยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการหลังจากเซ็นเตอร์พอยท์ได้หมดสัญญาลงไป ก็คือโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต

สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ นอกจากนี้มิวสิกวิดีโอก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง



สยามสแควร์เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อประมาณ ปี 2505 เป็นการพัฒนาที่ดิน ประมาณ 63 ไร่ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ริมถนนพระรามที่ 1 และ ถนนพญาไท โดยบริษัท South East Asia เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาให้เป็นศูนย์การค้า เชิงแบบและเปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4ชั้น ประมาณ 610 คูหา มีอาคารขนาดใหญ่บ้าง เช่น โรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถและระบบสาธารณูปโภคไว้อย่างดี ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการหลากหลายอาทิเช่น ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า ร้านตัดผม และร้านอาหาร ส่วนใหญ่ย้ายมาจากย่านธุรกิจอื่น เช่น วังบูรพา สุรวงค์ สีลม เป็นต้น ต่อมาในปี 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก แล้วสร้างเป็นอาคารขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันก็คือ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์

นอกจากการพัฒนาดังกล่าวแล้ว ด้านความปลอดภัยของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ ก็เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญ ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างในบริเวณสยามสแควร์ใหม่ทั้งหมด การขอความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเพิ่มเติม ในการรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัย รวมทั้งเจ้าหน้าที่จัดความเรียบร้อยและการจราจร ในบริเวณสยามสแควร์ ได้ร่วมดูแลความเรียบร้อยทางหนึ่งด้วยในด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยได้ดูแล มีการซ่อมบำรุงผิวจราจร จ้างทำความสะอาดกวาดพื้นถนน ทางเท้า ดูแลรักษาบำรุงสวนหย่อม จัดจ้างล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำปีละอย่างน้อย 6 ครั้ง การบริหารจัดการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ในบริเวณสยามสแควร์นั้น เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกรรมในบริเวณเป็นสำคัญ ให้คงไว้ถึงความเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพมหานคร


-


ข้อมูลรายละเอียด
ชื่อผู้ติดต่อสยามสแควร์
ที่อยู่
254 อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์02-2189853
อีเมล์siamsquare_01@hotmail.co.th
เว็บไซต์
ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2562 
รายชื่อผู้สนใจ  ศูนย์การค้า
ลำดับชื่อ-สกุลโทรE-mail
33010
พิมพ์ลดา หงส์xxx
09591xxx
hongtxxx
32739
xxx
08735xxx
Destixxx
32426
Douxxx
09565xxx
herwoxxx
32104
Fxxx
06119xxx
maleexxx
30064
พิมพ์รxxx
09313xxx
phimrxxx
ข้อมูล รายละเอียด
โหวตทำเลค้าขาย
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม0 คะแนน
มีผู้เข้าชมทำเลนี้ 4,087 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูลทำเลนี้ 20 คน
Market Tags
 
ทำเลนี้ ไม่ได้รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Business
Location to Invest
*
ขอข้อมูลเช่าพื้นที่
ทำเลน่าเช่า