ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น ที่ทำง่าย ๆ แต่หายจริง!

วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ไม่ว่าจะเป็นน้อย หรือเป็นรุนแรงแล้วส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่มีความสุข ไม่อยากที่จะทำอะไร ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น แต่กลับช่วยบรรเทาอาการได้มากกว่าที่คิด มาแนะนำให้กับผู้ที่กำลังหาวิธีอยู่ แต่ก่อนที่จะหาวิธีแก้ปวดหัวไมเกรน เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับไมเกรนกันก่อนดีกว่าว่า ไมเกรน คืออะไร

โรคไมเกรนคืออะไร

ไมเกรน (Migraine) เป็นโรคที่เกิดจากระดับสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้หลอดเลือดแดงในสมองมีการบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ ตามมา โดยมักจะมีสาเหตุเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอน ดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ที่ที่มีแสงจ้าหรือที่ที่มีเสียงดังมากจนเกินไป รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิด เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ต้องการทราบวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น คือ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการได้

อาการของโรคไมเกรนมีอะไรบ้าง

อาการของโรคไมเกรน

อาการปวดหัวไมเกรนมีทั้งแบบปวดหัวข้างเดียว และทั้งแบบปวดข้างเดียวแต่ค่อย ๆ ลามไปอีกข้าง ทำให้ปวดหัวทั้งสองข้าง มีอาการปวดหัวตุบ ๆ หรือปวดหัวตื้อ ๆ เป็นระยะ สำหรับระดับความรุนแรงของอาการปวดหัวนั้นมีตั้งแต่ระดับปานกลานจนถึงระดับรุนแรงมาก ซึ่งก็มักจะมีผลข้างเคียงตามมา เช่น สายตาพร่ามัว มองเห็นประกายแสง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

อาการไมเกรนที่มักพบนั้นจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก แต่มักจะเกิดและกินเวลาหลายชั่วโมง แต่ส่วนมากจะไม่เกิน 1 วัน และจะหายไปเอง แต่ถ้าเกิดปวดหัวไมเกรนไม่หายควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนและอยากแก้ปัญหาปวดหัวให้หายไป วันนี้ทางบทความมีวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นหลายวิธีมาแนะนำเพื่อที่จะช่วยลดและบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพในหัวข้อถัดไป

8 วิธีแก้ปวดหัวไมเกรน ฉบับเร่งด่วน

1. การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน

นวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน

การนวดกดจุด เป็นวิธีนวดแก้ปวดไมเกรนเบื้องต้นที่ใช้เวลาไม่มาก อีกทั้งยังสามารถทำได้ง่ายอีกด้วย โดยมีงานศึกษาทดสอบผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนแบบไม่มีออร่า (ไม่มีสัญญาณเตือนก่อนเกิดอาการ) จำนวน 40 คน พบว่า การกดจุดบริเวณเหนือส้นมือทางข้อพับประมาณ 3 นิ้วจะช่วยลดบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนที่เกิดขึ้นได้

และยังมีวิธีนวดกดจุดบริเวณอื่น ๆ ที่จะช่วยลดอาการปวดหัว เช่น นวดกดตรงระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ข้างละประมาณ 5 นาที จะช่วยลดอาการปวดหัวจากการตึงของกล้ามเนื้อได้

2. จิบน้ำขิงบรรเทาอาการ

จิบน้ำขิงบรรเทาอาการไมเกรน

สำหรับสายสุขภาพ วิธีแก้ไมเกรน ธรรมชาติเบื้องต้น และบำรุงร่างกาย โดยมีงานวิจัยพบว่า สารที่อยู่ในน้ำขิงจะช่วยเรื่องอาการปวดหัวไมเกรน และผ่อนคลายความเครียดได้อย่างดี และยังช่วยเรื่องการปรับสมดุลในร่างกาย ปรับระบบการไหลเวียนเลือด รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอื่น ๆ ได้

โดยการหาน้ำขิงมาดื่ม ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น การต้มขิงสด การนำขิงที่ใส่ซองสำเร็จรูปมาชงกับน้ำอุ่นเพื่อดื่ม

3. ประคบเย็นแก้ปวดไมเกรนแบบเร่งด่วน

ประคบเย็นแก้ปวดไมเกรน

การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งบริเวณหน้าผากและประคบร้อนบริเวณท้ายทอยจะช่วยทุเลาอาการปวดหัวไมเกรนได้ โดยทำสลับกันทุก ๆ 2 นาที และสามารถแช่เท้าในน้ำอุ่นควบคู่ไปด้วยประมาณ 20 นาที เพื่อช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและอาการปวดหัวไมเกรนลดลงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. ผ่อนคลายด้วยน้ำมันหอมระเหย

ผ่อนคลายด้วยน้ำมันหอมระเหย

ในทางการแพทย์ได้มีการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบรรเทารักษาอาการผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลดการอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร รวมถึงช่วยลดความเครีย และใช้ในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนให้กับผู้ป่วยบางราย ซึ่งน้ำมันหอมระเหยแต่ละกลิ่น แต่ละชนิดก็จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

โดยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ในการบรรเทาความเครียด ปวดหัวไมเกรนจะมี น้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ เป็นต้น

5. ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนเป็นประจำ ในบางครั้งสาเหตุที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากการดื่มน้ำน้อย ซึ่งเป็นเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงควรหมั่นดื่มน้ำเป็นประจำ และถ้าหากมีอาการปวดหัว ให้ดื่มน้ำขิง หรือชาเปปเปอร์มิ้นต์ที่จะช่วยในการลดความรุนแรงของอาการปวดหัวลงได้

6. ปรับสภาพแวดล้อมโดยรวม

ปรับสภาพแวดล้อมโดยรวม

สภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ที่ทำงาน หรือที่อื่น ๆ รวมถึงสภาพอากาศ อุณหภูมิ ล้วนส่งผลต่ออาการปวดหัวไมเกรนทั้งสิ้น หากต้องการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแสงจ้า หรือที่ที่มีเสียงดัง

ในกรณีที่เป็นห้องนอนก็ควรลดสิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวนต่อการนอนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และนั่นจะเป็นสาเหตุที่ช่วยลดตัวกระตุ้นการเกิดไมเกรนหรือบรรเทาอาการไมเกรนได้

7. ทานยาบรรเทาอาการปวด

ทานยาบรรเทาอาการปวดไมเกรน

เมื่อรู้สึกปวดหัวไมเกรนมาก ๆ อย่าฝืนทนให้มีอาการต่อเนื่องเกิน 30 นาที ให้รีบทานยาบรรเทาอาการปวดตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีอาการโดยทันที เพราะการฝืนอาการไว้ นอกจากจะทำให้รู้สึกทรมานร่างกายแล้วช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ไม่ดีเท่ากับการทานยาทันทีที่มีอาการ

8. นอนพักผ่อนคลายอาการปวด

นอนพักผ่อนคลายอาการปวดไมเกรน

สิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนมักมองข้ามในการดูแลร่างกายนั่นก็คือ การนอนหลับพักผ่อน ซึ่งการนอนหลับเป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้พักผ่อน ทำให้อาการไมเกรนที่เกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเลือดที่บีบตัวนั้นผ่อนคลายลงได้

แต่ในบางครั้งวิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้กับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนระดับรุนแรงได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจึงควรหาวิธีรักษาอื่น ๆ เพื่อช่วยรักษาอาการไมเกรนที่เกิดขึ้น

วิธีรักษาอาการปวดหัวไมเกรนทางการแพทย์

สำหรับผู้ที่ใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล หรืออาการกลับทรุดลง การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนทางการแพทย์ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาเพื่อไม่ให้อาการไมเกรนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการรักษาไมเกรนทางการแพทย์มีวิธีดังนี้

1. ฝังเข็มไมเกรน

ฝังเข็มไมเกรน

ฝังเข็มไมเกรน เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยรักษาอาการไมเกรนได้เป็นอย่างดี โดยจะฝังเข็มตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้เส้นเลือดคลายตัวลง ทำให้ลดอาการไมเกรนได้ ซึ่งจำนวนการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคนว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด

แต่สำหรับการรักษานี้ควรหาสถานที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงมาก เพราะถ้าหากรักษาผิดพลาดอาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้

2. ฉีดยาไมเกรน

ฉีดยาไมเกรน

การฉีดยาไมเกรนเป็นหนึ่งในวิธีรักษาไมเกรนสำหรับผู้ที่ทานยาแล้วแต่กลับไม่หาย โดยเมื่อฉีดยาแล้วจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และไปยับยั้งปลายเส้นประสาทที่มีหน้าที่ส่งความเจ็บปวดไปยังร่างกาย จึงเป็นเหตุทำให้ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี และยังมีผลข้างเคียงน้อยมากอีกด้วย

3. โบท็อกไมเกรน

โบท็อกไมเกรน

หากรู้สึกปวดไมเกรนรุนแรง การรักษาด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรน แต่ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นโดยทันที

ในการที่รอให้ยาออกฤทธิ์จะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน จากนั้นโบท็อกจะออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน จากนั้นยาจะมีประสิทธิภาพลดลง แต่สามารถมาฉีดซ้ำได้เพื่อให้อาการไม่กำเริบรุนแรง แต่ควรมีระยะห่างเกิน 3 เดือนขึ้นไป

แนะนำวิธีปรับพฤติกรรม ป้องกันไมเกรน

สำหรับวิธีป้องกันเพื่อทำให้วิธีการแก้ไขปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำได้ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด โดยความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป และนั่นเป็นจะไปกระตุ้นร่างกายทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน ดังนั้นเมื่อรู้สึกเครียดจึงควรหากิจกรรมผ่อนคลายเพื่อทำให้ความเครียดลดลง เช่น การออกกำลังกาย

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนหลับจะทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และได้พัก เพื่อป้องกันไมเกรนจึงควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และสำหรับผู้ที่นอนน้อย ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นเพื่อป้องกันการเกิดไมเกรน

3. หลีกเลี่ยงสารจากอาหารที่จะไปกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรน เช่น ผงชูรส ช็อกโกแลต คาเฟอีน แอลกอฮอล์ เป็นต้น

4. รับประทานน้ำตาลในระดับที่เหมาะสม เพราะถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากหรือน้อยเกินไป ก็จะทำให้เกิดไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน

5. รับประทานอาหารที่ช่วยลดการเกิดอาการปวดหัวไมเกรน เช่น ผักใบเขียว ฟักทอง แครอท อะโวคาโด เป็นต้น

ข้อสรุป

ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากรู้สึกปวดหัวไมเกรนอย่าชะล่าใจปล่อยอาการทิ้งไว้ และควรหาวิธีแก้เพื่อให้ไม่ส่งผลต่อการทำสิ่งต่าง ๆ โดยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นนั้นจะมีตั้งแต่การนวด การประคบเย็นประคบร้อน การทานน้ำขิง น้ำชาเปปเปอร์มินต์ การพักผ่อน เป็นต้น แต่ถ้าหากลองใช้วิธีเหล่านี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาให้อาการไม่รุนแรง และลดการเกิดอาการปวดหัวไมเกรน