กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมมือกับ บก.ปอศ.-บีเอสเอ เพื่อคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software) เพื่อลดอัตราการละเมิดสินค้าดังกล่าว หลังจากตรวจพบว่า ไทยได้เข้ามาติดอันดับ 3 ของประเทศในภูมิอาเซียน ที่มีอัตราละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทซอฟต์แวร์มากที่สุด และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยว่า ช่วงที่จัดอันดับการละเมิด
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ภายในองค์กรธุรกิจของกลุ่มประเทศในอาเซียน ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสถิติการละเมิดซอฟต์แวร์ ในอัตราร้อยละ 66 หรือเป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน ส่วนอันดับ 1 เป็นของอินโดนีเซียร้อยละ 83 และ 2 คือเวียดนามร้อยละ 74
เตรียมออกกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหากรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เตรียมแผนการพัฒนา
กฎหมายลิขสิทธิ์เอาไว้จำนวน 2 เรื่อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แผนแรกคือการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองเจ้าของผลงานในยุคดิจิทัล ที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเตรียมเป็นภาคี WCT
แผนสองคือการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ของตัวนักแสดง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงาน พร้อมกันนี้ ยังได้ตั้งความหวังไว้ว่าอัตราการละเมิดทรัพย์สินทางปัญหา โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดอย่างกว้างขาวงในประเทศไทยจะลดจำนวนลงในเร็ววัน
จากประเด็นการละเมิด
ลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ทางด้านรองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้ให้ความเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยที่ผ่านมามีการจับกุมคดีที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นจำนวน 469 คดี หรือเพิ่มขึ้นจาก 395 คดี ขณะที่มูลค่าความเสียหายจากคดีทั้งหมดมีจำนวนอยู่ที่ 464 ล้านบาท ลดลงจาก 661 ล้านบาท
หลายองค์กรให้ความร่วมมือเรื่องลิขสิทธิ์ แต่บางองค์กรก็ไม่ได้สนใจเลยในช่วงที่ผ่านมาก บก.ปอศ. ได้ดำเนินการประชาสมพันธ์เรื่อง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งพบว่ามีหน่วยงานและองค์กรหลายแห่งมีความรู้และเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่ก็มีองค์กรบางแห่งที่ยังคงปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้
ดังนั้น ต้องฝากถึงองค์กรต่าง ๆ ให้ตระหนักถึงผลลัพธ์ของการละเมิดที่จะตามมาด้วย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ที่สามารถทำความเสียหายให้กับองค์กรได้ และในวันข้างหน้าจะมีการเพิ่มมาตราการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ ก็จะมีการบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรอย่างเข้มงวดต่อไป
นอกจากนี้ บก.ปอศ. ยังได้ฝากให้รัฐบาลดำเนินการปรับปรุง
กฎหมายลิขสิทธิ์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสั่งปิดเว็บไซต์ หรือดำเนินคดีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็ได้แสดงความต้องการให้รัฐบาลบล็อกเว็บไซต์อย่างถาวรและจับกุมผู้กระทำความผิดให้เห็นชัดเจนและทั่วถึง.