ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


อาการมาลาเรีย (Malaria Symptoms) และโรคร้ายจาก “ยุง” อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการมาลาเรีย (Malaria Symptoms) และโรคร้ายจาก “ยุง” อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
   "ยุง" สัตว์ปีกตัวเล็ก ๆ แต่มีอันตรายมากมายต่อคน เพราะเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงถึงชีวิตมาสู่คนได้ตลอดเวลา
   สำหรับโรคสำคัญที่มียุงเป็นพาหะมีหลายโรค แต่ที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับคนไทยนั้น ได้แก่ 2 โรคหลัก คือ มาลาเรีย และ ไข้เลือดออก
   1. โรคไข้จับสั่นหรือไข้ป่า ซึ่งหลายคนมักเรียกว่า "มาลาเรีย" Malaria symptoms เป็นโรคที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่บริเวณเขาสูง, ป่าทึบ, สวนยางพาราและแหล่งน้ำธรรมชาติ
   ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคมาลาเรีย (Malaria symptoms) ในระยะเริ่มต้นจะคล้ายกับไข้หวัด, มีไข้สูง, ปวดศีรษะ, หนาวสั่นสลับร้อน, เหงื่อออกมาก จากนั้นอาการก็จะดีขึ้นก่อนที่จะกลับมาป่วยใหม่อีกครั้ง โดยจะมีอาการภายใน 10 -28 วันหลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการแม้ว่าได้รับเชื้อหลายเดือนก็ตาม ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไปเที่ยวป่าหรือภูเขากลับมาแล้วมีอาการดังกล่าวจะต้องรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาต้านมาลาเรีย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและการรักษาที่ล่าช้าจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
   2. โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)  พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุและมีความรุนแรงหลายระดับ คือ กลุ่มอาการไข้แดงกี่ (Dengue Fever), ไข้เลือดออกแดงกี่ ( Dengue Hemorrhagic Fever) และกลุ่มที่มีอาการรุนแรง คือ ไข้เลือดออกช็อค (Dengue Shock Syndrome)  โดยโรคนี้มียุงลายเพศเมียเป็นพาหะ และจะกัดคนในช่วงเวลากลางวัน ทั้งนี้จะสามารถสังเกตุอาการของไข้เลือดออกได้จากการที่ผู้ป่วยมีไข้สูง 39-40 องศา นานเกินกว่า 2 วัน, มีอาการปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว, อ่อนเพลีย, ซึมลง, ปัสสาวะมีสีเข้ม, เบื่ออาหาร, อาเจียน, อาจพบจ้ำเลือด หรือจุดตามผิวหนังและอุจจาระมีสีดำ โรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
   สำหรับการรักษาโรคไข้เลือดออก (Dengue fever treatment) นั้น แพทย์จะใช้วิธีการรักษาตามอาการแบบประคับประคองเพราะยังไม่มียาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์สำหรับไข้เลือดออก และห้ามใช้ยากลุ่มแอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น โดยโรคนี้จะมีความสัมพันธ์กับการมีเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นแพทย์จึงต้องติดตามภาวะเกล็ดเลือดและค่าความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อให้การรักษาเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม
   นอกจาก 2 โรคร้ายนี้แล้ว ยุงยังเป็นพาหะนำโรคอื่น ๆ ได้อีกมากมาย อาทิ ไข้สมองอักเสบ, ไข้ซิก้าและไข้ปวดข้อยุงลายหรือที่เรียกว่า"ชิคุนกุนย่า" 
    การที่ยุงเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ มากมายในประเทศไทยนั้นก็เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้น เหมาะมากกับการแพร่พันธุ์ของ "ยุง"  ดังนั้นการป้องกันโรคเหล่านี้คือขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในบ้านและชุมชนซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังให้มิดชิดไม่ให้ยุงเข้าวางไข่, เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุกสัปดาห์และใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใส่ในภาชนะน้ำขัง, ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปล่อยปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขังขนาดใหญ่ และปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ควรแต่งกายมิดชิดเมื่อออกนอกบ้าน, ติดมุ้งลวดป้องกันยุง และยังสามารถปลูกพืชที่มีสรรพคุณในการป้องกันยุงไว้ในบ้านเพื่อป้องกันยุงอีกวิธีหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน