แม้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเต็มตัว แต่ก็ยังมีบางวันที่พบฝนหลงฤดูตกลงสู่พื้นที่ประเทศไทย สร้างความลำบากในการเดินทางให้กับผู้คนที่ยังสัญจรบนท้องถนน ทั้งปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาถนนลื่น หรือแม้แต่ปัญหาหลุมบ่อขรุขระ ตั้งแต่หลุมเล็ก ๆ หน้าปากซอย ไปจนถึงหลุมขนาดใหญ่ตามเส้นทางเข้าออกทั่วภูมิภาค แล้วหลุมถนนเกิดขึ้นจากอะไร? หากรถตกหลุม ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และประกันจะยอมจ่ายค่าเสียหายหรือไม่
สาเหตุของการเกิดหลุมถนนหลุมถนน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากฝีมือมนุษย์ การใช้งานถนน ไปจนถึงการทรุดตัวของหน้าดินที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ หลุมจึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. หลุมบนถนนทั่วไปเกิดจากแรงกระแทกของรถยนต์ ฝนฟ้าอากาศ และอายุการใช้งาน กว้างไม่เกิน 2 ฟุต และลึกไม่เกิน 2-3 นิ้ว พบเห็นได้ทั่วไปบนถนนยางมะตอยที่มีรถพลุกพล่าน
2. หลุมยุบมีความกว้างและลึก 1 เมตรขึ้นไป เกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินใต้ถนน โดยปากหลุมจะขยายกว้างขึ้นจนกว่าจะเสถียร มักพบเห็นได้บนถนนยางมะตอยตามต่างจังหวัด ที่สร้างบนดินทราย หรือชั้นดินที่มีน้ำบาดาลขังอยู่
หลุมแบบไหนถึงเรียกว่าอันตราย- มีความลึกประมาณ 1 ส่วน 3 ของล้อรถ จะทำให้รถไต่ขึ้นจากปากหลุมได้ยากขึ้น โดยเฉพาะรถที่มีตัวเครื่องต่ำ และล้อเตี้ย
- ปากหลุมตั้งฉาก หรือไม่มีความลาดชันเพียงพอที่จะให้รถขับเคลื่อนขึ้นจากหลุมเองได้
- ก้นหลุมเป็นโคลน หรือมีน้ำขัง ทำให้รถเร่งไม่ขึ้น ยิ่งพยายามเร่ง ล้อจะยิ่งบดให้พื้นหลุมลึกและลื่นขึ้น
ความเสียหายเมื่อรถตกหลุมการที่รถตกหลุมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รถกำลังวิ่งอยู่บนถนนด้วยความเร็วสูง จะทำให้ช่วงล่างของรถเกิดการกระแทกจนยาง โช๊ก และลูกหมากมีปัญหาได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาระยะยาวกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น รถบังคับรถยาก รถเลี้ยวไม่ค่อยไป หรือเครื่องยนต์มีเสียงแปลก ๆ คล้ายเสียงเหล็กกระทบกัน
(ตกหลุมบ่อยๆ มีผลต่อรถหรือไม่ https://www.smk.co.th/newsdetail/259) ขับรถระวัง ป้องกันหลุมถนนหากต้องขับรถยนต์ผ่านหลุมแบบกะทันหัน ให้ควบคุมสติให้มั่น อย่าตกใจ และควรปฎิบัติตามหลักการนี้
- ควรตรวจสอบลมยางบ่อย ๆ เพราะจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดกับรถได้
- จับพวงมาลัยให้แน่น และนิ่ง เพื่อไม่ให้รถเสียศูนย์
- หากไม่สามารถขับเลี่ยงได้ ให้ชะลอรถก่อนขับผ่านหลุมด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ไม่ควรเร่งเครื่องแรง ๆ และห้ามเบรกตอนรถอยู่ในหลุม
- หลีกเลี่ยงการขับผ่านหลุมที่มีน้ำท่วมขัง เพราะหลุมอาจลึกและชันกว่าที่เห็น
รถตกหลุมเสียหาย ใครรับผิดชอบ?ตามกฎหมาย การบำรุงรักษาถนนเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หากประชาชนได้รับความเสียหายเพราะถนนชำรุดเป็นเหตุ หน่วยงานของรัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุเพราะสภาพถนนไม่พร้อมใช้งาน ก็สามารถเข้าร้องขอความเป็นธรรมกับศาลปกครองได้ แต่จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ถนนเส้นที่ประสบอุบัติเหตุอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด ซึ่งถนนหลวงแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
1. ทางหลวงพิเศษ เป็นถนนที่ให้จราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
2. ทางหลวงแผ่นดิน เป็นถนนสายหลักเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด และอำเภอ ดูแลโดยกรมทางหลวงเช่นกัน
3. ทางหลวงชนบท ถนนประเภทนี้มีตัวอักษรกำกับ 2 ตัว เช่น นบ หมายถึงนนทบุรี ดูแลโดยกรมทางหลวงชนบท
4. ทางหลวงท้องถิ่น ถนนประเภทนี้มีตัวอักษรกำกับ 3 ตัว เช่น นบ.ถ. หมายถึงท้องถิ่นนนทบุรี ดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. ทางหลวงสัมปทาน เป็นถนนที่เอกชนรับสัมปทานดูแล ดูแลโดยกรมทางหลวง
เมื่อเข้าสู่กระบวนการร้องขอความเป็นธรรม ศาลปกครองจะดำเนินการพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ และหากต้นเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากถนนที่ไม่พร้อมใช้งานจริง ศาลก็จะให้หน่วยงานที่ดูแลถนนเส้นนั้นเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย
รถตกหลุม เคลมประกันได้หรือไม่?ช่วงล่างของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ยางรถยนต์ ล้อแม็ก เพลาล้อ ปีกนก คันชัก หรือตัวถัง หากเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ขับรถตกหลุม ก็สามารถเคลมประกันชั้น 1 ได้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันได้ทำไว้ ไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นจะมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณีก็ตาม โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าเสียหายตามจริงและอาจมีการหักค่าเสื่อมสภาพของอะไหล่ เนื่องจากชิ้นส่วนบางชิ้น เช่น ยางรถยนต์ จะมีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานมาอยู่ก่อนแล้ว การเคลมช่วงล่างในแต่ละครั้งจึงมีการพิจารณาค่าเสื่อมสภาพของอะไหล่แต่ละชิ้นเข้าไปประกอบด้วย
หลายครั้งเมื่อฝนตกหนัก ส่งผลให้ถนนหลายสายที่สภาพไม่ดีอยู่แล้วมีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ และไม่สามารถเห็นได้ว่าหลุมนั้นลึกหรือไม่ จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ที่นอกจากอาจจะต้องเจ็บตัวแล้ว ยังต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมแซมรถยนต์ส่วนที่เสียหายอีก คุ้มครองคุณให้ปลอดภัยด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ประเภท 1 เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 12 เดือน จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพื่อความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก
https://www.smk.co.th/productmotordetail/1020 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่
https://smkinsurance.blogspot.com