ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


สัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม” ที่มองข้ามไม่ได้

มะเร็งเต้านม สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศชายนั้นมีอัตราการพบที่น้อยมาก ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี หรือมีกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่มีอาการชัดเจน มักมาพบแพทย์เมื่อพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้ อาการอื่นๆ ที่อาจสังเกตได้ เช่น ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลง เกิดแผลและอาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมา หรือมีผื่นบริเวณหัวนม

เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง มีไขมันล้อมรอบในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม เซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม และสามารถลุกลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้

มะเร็งทุกชนิดมักไม่มีอาการเจ็บปวดจนกว่าอาการจะพัฒนาไปถึงขั้นแพร่กระจาย ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าวจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม อาการอื่น ๆ ที่สังเกตได้ เช่น ผิวหนังของเต้านมไม่เรียบ มีรอยบุ๋ม รั้งตัว หดตัว หรือมีลักษณะเป็นผิวส้ม ผิวหนังเต้านมจะถูกรั้งหรือดึงให้บุ๋มเข้าไป

อาการที่อาจบ่งบอกถึงมะเร็งเต้านม ได้แก่:
•   ระบบขับถ่ายผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
•   แผลเรื้อรังที่ไม่หายบริเวณเต้านม
•   เลือดไหลผิดปกติตามทวารของร่างกาย
•   คลำพบก้อนที่เต้านมหรือส่วนอื่นของร่างกาย
•   กลืนอาหารลำบากหรือระบบย่อยอาหารผิดปกติ
•   ไฝหรือหูดเปลี่ยนแปลงผิดปกติหรือมีเลือดออก
•   มีน้ำเหลืองหรือของเหลวออกมาจากหัวนม
•   อาการเจ็บเต้านมหรือผิวหนังเต้านมอักเสบ มีผื่นคันบริเวณเต้านม
•   การเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม โดยปกติแล้วเต้านมของผู้หญิงมักมีขนาดไม่เท่ากัน แต่หากข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดผิดปกติ

ทำอย่างไรเมื่อพบอาการผิดปกติ?
หากพบความเปลี่ยนแปลงของเต้านม ไม่ต้องตกใจ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น อายุ ระดับฮอร์โมน ประจำเดือน อุบัติเหตุ รวมถึงพฤติกรรมและลักษณะการใช้ชีวิต เพื่อความแน่ใจ ควรให้แพทย์ตรวจและประเมินอาการ ตรวจเต้านม พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก; https://praew.com/praew-special/534189.html
https://www.dailynews.co.th/articles/3473188/
https://medthai.com/breast-screening/