13K
21 กรกฎาคม 2554
ทรู มันนี่ ลุยธุรกิจแฟรนไชส์ตู้คีออสบริการอเนกประสงค์

 
   
 
เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่นฯ นั้นเป็น กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสินค้าและบริการหลากหลายครอบคลุม ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โทรศัพท์พื้นฐาน/เคลื่อนที่ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม จนถึงอินเตอร์เน็ตและดิจิตอลคอนเทนท์

โดยเฉพาะบริการด้านการเงินในชื่อว่า True Money ซึ่งเป็นบริการบัตรเติมเงินอิเล็คทรอนิกส์และตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและ บริการ ทั้งสินค้าและบริการของกลุ่มทรูเอง และบริการพื้นฐานอื่นๆ อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวมทั้งการชำระค่าบริการให้กับร้านค้าที่ทำธุรกรรมผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ

แต่เดิมบริการของทรูมันนี่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของกลุ่มทรูฯรวมถึง คนทั่วไป ให้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการของทรูฯได้ในคราวเดียว รวมถึงยังสามารถชำระค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆได้อีกด้วย ซึ่งแม้ดูเหมือนจะสะดวกมากแล้วแต่ลูกค้าก็ยังต้องเดินทางไปยังสาขาของทรู ช้อปเพื่อทำธุรกรรมอยู่ดี และสาขาเหล่านี้มักจะอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่มีเวลาเปิดทำการตายตัวคือ ประมาณ 10 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ซึ่งอาจสนองตอบต่อไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนเมือง


ด้วยเหตุนี้ ทรูมันนี่ฯ จึงได้คิดรูปแบบบริการที่จะอำนวยความสะดวกแก่คนกลุ่มนี้ให้สามารถเข้าถึง บริการของทรูมันนี่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบของ kiosk หรือตู้บริการอัตโนมัติ ซึ่งให้บริการได้ตลอดเวลาแบบ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ทั้งยังเป็นช่องทางขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในเวลาเดียวกัน


แหล่งข่าว ทรู มันนี่ฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างพัฒนาและปรับปรุงโมเดลธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับกลุ่มผู้ใช้บริการและแฟรนไชส์ซี่ให้ได้มากสุด โดยจะใช้ชื่อว่า True kiosk หรือตู้บริการเอนกประสงค์ ครอบคลุมบริการของกลุ่มทรู ไม่ว่าจะเป็น True Money, True Move, True Vision, True Life และ True online เป็นต้น ซึ่งจะมีรูปแบบการทำธุรกิจภายใต้รหัส 3 P ประกอบด้วย 1. Prepare 2. Process 3. Profit ดังนี้
  1. Prepare จะเป็นส่วนของการเตรียมพร้อมทั้งสถานที่ ระบบไฟฟ้า รวมถึงอินเตอร์เน็ต และจะมีการแบ่งความรับผิดชอบกันระหว่างลูกค้าแฟรนไชส์ซี่และทรูมันนี่ โดยแฟรนไชส์ซี่จะต้องรับผิดชอบในส่วนของการวางเงินค้ำประกัน 30,000 บาทต่อตู้ และเติมเงินเข้าบัญชีตู้ละ 30,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอินเตอร์เน็ต และการดูแลรักษาต่างๆ เช่น เก็บเงินสดจากตู้ ใส่กระดาษความร้อน และสภาพตู้และอุปกรณ์ ส่วนบริษัททรูฯ จะรับผิดชอบในด้านขนส่ง ติดตั้ง ซ่อมบำรุงและศูนย์บริการลูกค้า รวมถึงการตลาดและประชาสัมพันธ์
     
  2. Process เป็นขั้นตอนที่แฟรนไชส์ซี่ต้องปฏิบัติในระหว่างการดำเนินธุรกิจ เช่น ตรวจสอบตู้ให้พร้อมใช้งาน นำเงินสดเข้าบัญชีของตู้เพื่อใช้หมุนเวียน และแจ้งศูนย์บริการเมื่อตู้มีปัญหา เป็นต้น
     
  3. Profit เป็นเรื่องผลตอบแทนที่แฟรนไชส์ซี่จะได้รับเมื่อมีผู้ใช้บริการตู้ ซึ่งสัดส่วนจะมากน้อยแตกต่างกันไป ประมาณ 3-8% อาทิ บริการเติมเงินบัญชีทรูมันนี่ ส่วนแบ่งจะอยู่ที่ 1%, เติมเงินทรูมูฟ ส่วนแบ่ง 3% หรือ ขายชั่วโมง wifi ส่วนแบ่งที่ 3% เป็นต้น
โดยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่ตู้ เบื้องต้นทรูมันนี่ ประเมินว่า เฉลี่ยในแต่ละวันจะมีบริการรวมที่ 56 ครั้ง คิดเป็นเงินประมาณ 1 หมื่นบาท ซึ่งแฟรนไชส์ซี่จะได้รับส่วนแบ่งราว 359 บาท/วัน หรือประมาณ 10,770 บาท/เดือน


ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลิตตู้ True kiosk ในสเต็ปแรกจะผลิตประมาณ 1.5 หมื่นตู้ ซึ่งได้นำตู้ไปให้บริการที่สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก มาระยะหนึ่งแล้ว จากนี้ก็จะทยอยติดตั้งยังเครือข่ายธุรกิจในกลุ่มทรู ก่อนจะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในลำดับต่อไป แหล่งข่าว ระบุ


อ้างอิงจาก สยามธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ฉลองขึ้นปีที่ 9 ธงไชยผ..
917
เปิดให้บริการแล้ว! แฟร..
719
“จง ชง ดี” ร่วมกับ Pas..
689
พบบูธโทกิวอช หมายเลข A..
638
โอจังชานมไข่มุก เปิดแพ..
588
งาน “แฟรนไชส์เอสเอ็มอี..
584
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด