2.8K
20 มิถุนายน 2556
INSIGHT AEC และศศินทร์ เปิดเวที เจาะลึกท่องเที่ยว...แนวรบสู่เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท


 
งานนิทรรศการและประชุม Insight AEC ซึ่งกำหนดจัดในวันที่ 10 – 13 ตุลาคม 2556 ณ อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์  เมืองทองธานี จัดกิจกรรมก่อนวันงานเพื่อสร้างความตื่นตัวให้ผู้ประกอบการและคนไทยใช้โอกาสอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยร่วมมือกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และMARKETEER จัดสัมมนา Sustainable Marketing Towards AEC: ในหัวข้อ เจาะลึกท่องเที่ยว...แนวรบสู่เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยว 24 ล้านคน

โดย 3 กูรู ร่วมถกประเด็นร้อนแรง เกี่ยวกับศักยภาพและอุปสรรค ปัญหาที่ซ่อนเร้นของการท่องเที่ยว และการเตรียมพร้อมสู่การแข่งขันบนเวทีอาเซียนและนานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ขณะที่ถนนนักลงทุนจากทั่วโลกมุ่งสู่อาเซียนและประเทศไทยซึ่งเป็นจุดหมายอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวและของนักลงทุนด้านโรงแรมด้วย   การจัดเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างมาก


 
คุณสุวรรณชัย  ฤทธิรักษ์   ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ   AEC กับโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว กล่าวว่า  “ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในปี 56  มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ประเทศ เพิ่มมูลค่าทางการตลาด ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์  ผลกระทบเชิงบวกหลังเปิดตลาด AEC การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะทำหน้าที่ในเรื่องของการตลาด

โดยเน้นเชิญชวนทั้งคนในประเทศ และนอกประเทศให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น  เมื่อเปิดเสรี AEC จะทำให้การเจาะตลาดมีความง่ายขึ้น  และอาหารไทยก็ถือเป็นจุดเด่นที่ทาง ททท. มีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง  จะเห็นว่าจุดแข็งของไทยในบริบทของการท่องเที่ยว จะมีทั้งเรื่องอาหารที่มีความหลากหลาย  แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ วัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ การบริการของคนไทยก็ได้เปรียบ คนไทยมีความโอบอ้อมอารี สาธารธูปโภคก็มีความทันสมัย  จึงพูดได้ว่า มากิน มาเที่ยว ต้องมาเมืองไทย  

ส่วนจุดเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน เช่น คุณภาพด้านสินค้า ไทยควรพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้ตามที่โฆษณา พยายามไม่ให้เกิดการร้องเรียน หลายสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม และจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในตลาดอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง  สร้างความมั่นคงยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และสร้างความปลอดภัยในสังคม รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพระบบขนส่งให้รวดเร็วมีความปลอดภัยทัดเทียมมาตรฐานสากล และเชื่อมต่อกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ การสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพทัดเทียมนานาชาติ

อาทิ เรื่องภาษา และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต้องดูแลให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว” 


 
ในช่วงสัมมนา Sustainable Marketing toward AEC: ในหัวข้อ “เจาะลึกท่องเที่ยว...แนวรบสู่เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท  24 ล้านคน ” โดย 3 กูรูมาร่วมถกประเด็น เริ่มจาก คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์  ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “รายได้ท่องเที่ยวเพิ่มสูงจริง  แต่ยังกระจุกตัว ไม่กระจายตัว  โดยส่วนใหญ่ไปทะเลภูเก็ต  หัวหิน  ชะอำ  พัทยา  เราพยายามส่งเสริมการเกาะกลุ่มกันขายเป็น Cluster เช่น  พังงา – กระบี่ – พัทลุง – ชะอำ , พัทยา – ระยอง – เกาะช้าง อาศัยการตลาดสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ  จะช่วยกระจายนักท่องเที่ยว  

ส่วนเป้าหมายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี56  มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท และในปี 2558 มีการตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านล้านบาท
 ซึ่งก่อนการเปิด AEC เราควรเน้นในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและบริการให้ทัดเทียมสากล  ให้คิดว่าเรากำลังแข่งขันกับตัวเอง เตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นให้มากที่สุด  ซึ่งในส่วนของภาครัฐเองมีการปรับแผนรายได้การท่องเที่ยวของไทยให้เกิดการกระจายตัวมากขึ้น

เพื่อให้อุตสาหกรรมเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ไทยต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดี ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เนื่องจากเพื่อนบ้านอาเซียน ตื่นตัวเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้นแล้ว พร้อมย้ำว่า ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจท่องเที่ยวไทย คือเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และภัยธรรมชาติ  อยากให้วางข้อขัดแย้งไว้ก่อน  แล้วมาช่วยกันทำให้ประเทศไทยเคลื่อนไปข้างหน้า”

หม่อมหลวง หทัยชนก  กฤดากร ผู้จัดการทั่วไป-กิจกรรมองค์กร  (ประเทศไทย, กัมพูชา, เมียนมาร์ ,เวียดนาม,ลาว)  บริษัท  แอคคอร์ เอเชีย แปซิฟิค คอร์ปอเรชั่น  จำกัด กล่าวว่า “การที่มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ ยังจัดอันดับให้ “กรุงเทพมหานคร” ได้ตำแหน่งอันดับที่ 1 สุดยอดเมืองน่าท่องเที่ยวของโลก จัดเป็นนิมิตหมายที่ดีของประเทศไทย แต่ไทยเองก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะการเปิด AEC ก็เปรียบเสมือน สึนามิ ที่มาเงียบๆ ดังนั้นถ้าเรามีการเตรียมพร้อมที่ดี  เราก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มากนัก  ต้องเร่งพัฒนาระบบการจัดการ  เช่น  การออกวีซ่า  หลายประเทศได้เอาท์ซอร์สให้เอกชนทำซึ่งดีกว่าการทำ Visa On Arrival ที่สร้างความแออัดและล่าช้าในสนามบิน  โครงการก่อสร้างระบบคมนาคมของรัฐบาล ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การท่องเที่ยวของไทยเข้มแข็งและยั่งยืนมากขึ้น

เนื่องจากไทยตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาค จึงสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อไปยังจุดอื่น  แต่สิ่งที่รัฐบาลไทย ควรเร่งดำเนินการเพื่อต้อนรับการเปิด AEC คือการบริหารจัดการท่องเที่ยวไปในทิศทางเดียวกันและเป็นระบบที่ชัดเจน พร้อมสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติ เข้ามาดำเนินธุรกิจบริการในไทย โดยจัดระบบผลกำไรร่วมกันอย่างเหมาะสม  รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว ฯ ควรมีคณะที่ปรึกษาจากภาคเอกชนที่เขารู้จริงมีประสบการณ์จริงมาเป็น Think Tank วิธีคิดต้อง Universal 360 องศา  ทำผลิตภัณฑ์ที่เจาะตลาดโลก  รับฟังปัญหาจากภาคเอกชน  ทำวิธีแก้ไขเสนอรัฐมนตรี  แล้วทำ Procedure ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเพื่อที่จะได้วางแผนยุทธศาสตร์  มุ่งมองไปข้างหน้าอย่างถูกทิศทาง และพัฒนาการท่องเที่ยวให้ก้าวหน้า”

คุณวิโรจน์  สิตประเสริฐนันท์  นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปี56 ททท.ตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 24 ล้านคน  ผมมองว่าตลาดการท่องเที่ยวของไทยควรจะเน้นคุณภาพและความยั่งยืนมากกว่าปริมาณ ไม่เช่นนั้นเราจะมีแต่นักท่องเที่ยวระดับล่าง ราคาถูก  ขาดการวางแผนผลิตและพัฒนาบุคลากร  ทำให้ขณะนี้เต็มไปด้วยมัคคุเทศก์เถื่อนและไม่มีคุณภาพเข้ามามากมาย  อย่างประเทศจีนเขาร่ำรวยขึ้น เราควรขายบริการในระดับราคาที่สูงขึ้น  สถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ปี 56 การปรับตัวของธุรกิจเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต้องเร่งพัฒนาอุปสรรคปัญหา  

โดยเบื้องต้นเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายจัดตั้ง "สภาวิชาชีพมัคคุเทศก์" เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลด้านจริยธรรม และพัฒนาคุณภาพของมัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน ทั้งด้านภาษา และงานบริการ เนื่องจากที่ผ่านมาหน้าที่เป็นของภาครัฐ ยังมีความหละหลวมอยู่มาก  ซึ่งถ้าขาดดูแล และการวางแผนที่ดี  การเปิด AEC อาจเปิดโอกาสให้หมู่อาชญากรรมข้ามประเทศเข้ามาได้ง่าย  ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐควรลงมาดูแลอย่างจริงจัง  ไม่เช่นนั้นไทยจะกลายเป็นประเทศที่ให้ชาติอื่นๆเข้ามากอบโกยและสร้างปัญหาในสังคมตามมา ”
 
ผู้สนใจร่วมสัมมนาได้ฟรี ยังจัดอีก 4 ครั้ง ทุกวันพฤหัสแรกของเดือน แต่ละสัมมนาล้วนเข้มข้น และน่าติดตาม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นับเป็นประโยชน์ต่อการวางกลยุทธ์ธุรกิจและชีวิตการทำงานในโลกวันนี้และอนาคต
  • 4 กค.56      เจาะลึก Consumer Products ชิงเค้ก AEC 600 ล้านคน
  • 1 สค.56      เจาะลึก Digital และ IT
  • 5 กย.56      เจาะลึก Banking / Investment
  • 3 ตค.56      เจาะลึก Entertainment & Fashion
 
เกี่ยวกับงานแสดงนิทรรศการและประชุม Insight AEC นับเป็นงานยิ่งใหญ่ แสดงถึงความมั่งคั่งและโอกาสในตลาด 600 ล้านคน จัดโดยมีองค์กรต่างๆเข้าร่วมแสดงในงาน กว่า 20 อุตสาหกรรม ธุรกิจและบริการหลักของไทยและ 9 ประเทศในอาเซียน  แวะมาชมช่วงวันที่ 10-13 ตุลาคม ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้ก่อนวันงาน Insight AEC ยังจัดกิจกรรม Insight AEC Road Show นำเอสเอ็มอีไและนักธุรกิจไทยไปสัมผัสตลาด 9 ประเทศในอาเซียน

ผู้สนใจข้อมูลดูใน www.insightaec.com  โทร.081-750-2928
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,982
PLAY Q by CST bright u..
1,290
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
768
ข่าวอบรมสัมนามาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด