12K
31 กรกฎาคม 2556
ตู้เย็นชุมชน เคลื่อนทัพบูมหนักซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน



 
ทัพซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้านฝุ่นตลบ หน้าเก่าหน้าใหม่พลิกโฉมขยายสาขา เสนอตัวเป็นครัวแห่งชุมชน "ฟู้ดแลนด์" บุกหนักในรอบ 40 ปี "แม็กซ์แวลู" ไซส์เล็กจับคนเมือง ด้าน "เซ็นทรัล" ดัมพ์ราคาคุ้มบุกทั้งปลีกและส่ง ส่วน "ซีพี เฟรชมาร์ท" ดึงสมาชิกสบายปีกตู้เย็นชุมชน 
 
ดูเหมือนว่าธุรกิจค้าปลีกในปีนี้จะทวีความร้อน แรงกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกค้าส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ซูเปอร์มาร์เก็ต" ซึ่งหลายแบรนด์ต้องมีการปรับตัวกันขนานใหญ่ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา 
 
แบรนด์ "ฟู้ดแลนด์" ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่ค่อน ข้างเก่าแก่ที่มีจุดยืนอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับแบรนด์ อื่นในตลาดด้วยกัน ทั้งความที่เป็นแบรนด์ไทย เวลาเปิดบริการ และสินค้าที่จำหน่ายจะเน้นของสด เป็นหลัก เพราะมีความได้เปรียบตรงที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่แบรนด์อื่นจะมีข้อจำกัดด้านเวลา อย่างช้าสุดก็ปิดเที่ยงคืน 
 
การเปลี่ยนแปลงของฟู้ดแลนด์ คือ การเปิดขายแฟรนไชส์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปีของการดำเนินธุรกิจ จากเดิมจะลงทุนเองทั้งหมด และเป็นรูปแบบสแตนด์อโลน หากได้รุกเข้าไปในคอม-มูนิตี้มอลล์ นำร่องที่โครงการพอร์โต้ ชิโน่ ทำให้การ ลงทุนของฟู้ดแลนด์นับจากนี้ไปจะมุ่งไปที่แฟรนไชส์มากขึ้น แต่ทั้งนี้ยังคงเน้นเจาะทำเลที่มีศักยภาพเหมือนเดิม เพราะต้องเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง 
 
ขณะที่ "แม็กซ์แวลู" ของค่ายอิออน จะมุ่งขยายสาขาไปยังคอนโดมิเนียม สำนักงาน และคอมมูนิตี้มอลล์เป็นหลัก โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า และแหล่งชุมชนต่างๆ ที่มีการขยายตัวสูง โดยจะมีร้านค้าหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภค แต่ยังคงรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต เพียงแต่ปรับขนาดให้เล็กลง 
 
 
 
ทั้งนี้ จะมี 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นคือ จัสโก้และแม็กซ์แวลู ซึ่งเป็นร้านขนาดมาตรฐาน ใช้พื้นที่ 1,000-2,000 ตารางเมตร ลงทุน 30-40 ล้านบาทต่อสาขา ส่วน "แม็กซ์แวลู ทันใจ" เข้ามาตอบโจทย์ทางด้านพื้นที่ที่หาได้ยากขึ้น เพราะใช้พื้นที่เพียง 300 ตารางเมตร และใช้งบลงทุนราว 8-10 ล้านบาทต่อสาขา ถือเป็นคอนเซปต์ "มินิซูเปอร์มาร์เก็ต" 
 
ส่วนค่าย "เซ็นทรัล" นอกจากจะมีซูเปอร์มาร์ เก็ต และคอนวีเนี่ยนสโตร์ ไว้ตอบโจทย์ลูกค้าแล้ว ทั้งเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์ และท็อปส์ เดลี่ ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ล่าสุด ยังได้เปิดตัว "ซูเปอร์คุ้ม" และ "ซูเปอร์คุ้ม ขายส่ง" 
 
นายอลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เปิดเผยว่า การเปิดตัวรูปแบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ เนื่องจากมองว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากลยุทธ์ด้านราคาถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง จนกลายเป็นความคุ้นชินของผู้บริโภค ดังนั้น ซูเปอร์คุ้มจะกลายเป็นทางเลือก และเติมเต็มให้กับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน 
 
สำหรับ "ซูเปอร์คุ้ม" จะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่นำเสนอสินค้าในราคาสุดคุ้มทุกวัน ครอบคลุมสินค้าทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เบเกอรี่ และสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เน้นจุดขายที่ราคาถูก คุ้มค่า ดั่งสโลแกน คือ "สด ครบ สุดคุ้ม" โดยสิ่งที่แตกต่างจากซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป นั่นคือ ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าแพ็กใหญ่สุดคุ้มได้อีกด้วย 
 
แนวทางในการเปิดร้านซูเปอร์คุ้ม จะเปลี่ยนร้านสาขาเดิมให้เป็นร้านใหม่ โดยดูจากพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าของสาขานั้นๆ ปัจจุบัน จะมีร้านซูเปอร์คุ้มอยู่ 3 สาขา คือ เทพารักษ์ ตลิ่ง-ชั่น และจรัญสนิทวงศ์ ขณะที่ร้านซูเปอร์คุ้ม ขายส่ง จะขยายไปกับไทวัสดุ ซึ่งอยู่ในเครือเซ็นทรัล โดยภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้จะมีร้านซูเปอร์คุ้ม ขาย ส่งในไทวัสดุ 3 สาขาเช่นกัน คือ สุขาภิบาล 3, บาง บัวทอง และบางนา จากปัจจุบันไทวัสดุมีทั้งสิ้น 30 สาขาทั่วประเทศ 
 
"ทั้ง 2 รูปแบบจะช่วยสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้บริษัท ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพราะกลยุทธ์ของเราจะคำนึงถึงความต้อง การของลูกค้าเป็นหลัก โดยลูกค้าของซูเปอร์คุ้ม ขายส่ง สามารถสมัครสมาชิกค้าส่งได้ฟรี ซึ่งสมาชิก จะได้รับสิทธิ์ในการสะสมแต้ม เมื่อใช้จ่าย 20 บาทจะได้รับ 1 แต้ม สะสมครบ 2,000 แต้ม แลกรับคูปองเงินสด 100 บาท" 
 
ทั้งนี้ นายอลิสเตอร์ บอกว่า ได้เตรียมงบลงทุนไว้กว่า 350 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวซูเปอร์คุ้ม 15 สาขา และซูเปอร์คุ้ม ขายส่ง 10 สาขาภายในสิ้นปี 2556 
 
ฟาก "ซีพี เฟรชมาร์ท" หลังจากเปิดดำเนิน การมากว่า 7 ปี ได้วางแผนสร้างความแข็งแกร่งให้กับโมเดลร้านต้นแบบ เพื่อขยายธุรกิจ โดยจะเน้นการสร้างแบรนด์ และสร้างรูปแบบให้เข้าถึงชุมชนมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายฐานลูกค้าผ่านกลยุทธ์การพัฒนาสินค้า ด้วยการสร้างพันธมิตรทางการค้า 
 
นายชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ตัวซีพี เฟรชมาร์ท จะเป็นธุรกิจค้าปลีกที่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งด้านการเป็นผู้ผลิตอาหารของซีพีเอฟ โดยปีนี้ได้มีการปรับรูปแบบธุรกิจให้มีความชัดเจน เพื่อสร้างจุดต่างจากธุรกิจที่มีอยู่แล้วในตลาด 
 
ปัจจุบัน ซีพี เฟรชมาร์ท ขับเคลื่อนด้วย 3 โมเดลหลัก คือ ตู้เย็นชุมชน จำนวน 10,000 ตู้, ซีพี เฟรชมาร์ท 620 สาขา และซีพี เฟรชมาร์ท พลัส ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อซีพี ฟู้ดมาร์เก็ต 5 สาขา โดยแผนธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ ปี 2557-2559 ได้เตรียมงบลงทุนไว้ประมาณ 1,500 ล้านบาทสำหรับขยายสาขา ภายใต้ 3 โมเดลหลัก 

 
 

 
ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2559 ตู้เย็นชุมชนจะเพิ่มเป็น 50,000 ตู้ ร้านซีพี เฟรชมาร์ท จะเพิ่มเป็น 1,700 สาขา ส่วนซีพี เฟรชมาร์ท พลัส จะเพิ่มเป็น 50 สาขา โดยแผนการ ขยายสาขาในแต่ละโมเดลนั้น จะเน้นขยายไปในชุมชนในแต่ละอำเภอมากขึ้น ซึ่งในปีนี้ยังไม่แผนขยายสาขาซีพี เฟรชมาร์ท พลัส แต่จะเน้นการสร้าง การรับรู้รูปแบบของร้านให้มากขึ้น เพื่อสร้างภาพลักษณ์การเป็น "ฟู้ด คอนวีเนี่ยนสโตร์" ที่มีสินค้าให้ลูกค้าซื้อได้ครบภายในแห่งเดียว ซึ่งแตกต่างจาก ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป 
 
อย่างไรก็ตาม จะเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่ไม่ใช่แบรนด์ของซีพี คือ 30% จากจำนวนสินค้าที่จำหน่ายในร้านทั้งสิ้น 300 รายการ ปัจจุบัน จำนวนสมาชิกบัตรซีพี เฟรชมาร์ท 2.6 แสนราย และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนราย 
 
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมงบไว้กว่า 150 ล้านบาท เพื่อขยายศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มอีก 3 แห่ง ในภาคเหนือ อีสาน และใต้ เพื่อรองรับการขยายสาขาของซีพี เฟรชมาร์ท จากปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 3 แห่ง ที่จังหวัดลำปาง ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี 
 
ในส่วนของตลาดต่างประเทศ บริษัทกำลังศึกษาตลาดอีกหลายประเทศ เป็นตลาดที่ทางซีพีเอฟได้ไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้า ซึ่งขณะนี้เริ่มทดลองเปิดเป็นคอร์นเนอร์ที่ประเทศมาเลเซียและเวียดนาม คาดว่าภายใน 2 ปีจะมีความชัดเจนมากกว่านี้ 
 
สำหรับรายได้ของธุรกิจซีพี เฟรชมาร์ท ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 มีรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 4,000 ล้านบาท แต่ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย โดยเป้าหมายตลอดทั้งปีนี้ คือ 8,000-8,500 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 32% เมื่อเทียบกับปี 2555 มีรายได้ 6,500 ล้านบาท เติบโต 20% ถือว่าปีนี้เป็นครั้งแรกของซีพี เฟรชมาร์ทที่มีการเติบโตสูงถึง 30% และได้ตั้งเป้าภายใน 3 ปีข้างหน้า นับตั้งแต่ปี 2557 -2559 บริษัทจะมีรายได้รวมสูงถึง 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มตู้เย็นชุมชน 7,000 ล้านบาท ซีพี เฟรชมาร์ท 13,000 ล้านบาท และซีพี เฟรชมาร์ท พลัส 3,000 ล้านบาท และจะมีจำนวนสมาชิกบัตรซีพี เฟรชมาร์ท เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านราย

อ้างอิงจาก สยามธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
3,582
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
1,632
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
856
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
714
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
570
โรบอท สเตชัน คลับ จัดโ..
548
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด