5.6K
13 กันยายน 2556
แฟรนไชส์อาเซียนบุกตลาดอินโดนีเซีย


 
ธุรกิจแฟรน์ไชส์ในอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2555 มีจำนวนมากกว่า 2,000 แฟรน์ไชส์ ด้วยมูลค่ารายได้ประมาณ 11.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงของแฟรน์ไชส์ต่างชาติ โดยแฟรนไชส์สหรัฐฯมีจำนวนมากที่สุด สำหรับแฟรนไชส์จากกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบันมีแฟรนไชส์จากมาเลเซียในอินโดนีเซียจำนวน 20 แบรนด์ จากสิงคโปร์ 10 แบรนด์ และฟิลิปปินส์ 5 แบรนด์
 
ในส่วนของธุรกิจแฟรน์ไชส์ไทยที่เข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียแล้ว ได้แก่
  1. กลุ่มร้านอาหาร/ร้านกาแฟ ได้แก่ 'Coca Suki'; 'Mango Tree'; 'Black Canyon'; 'Coffee World' และThai Express
  2. กลุ่มสินค้าอื่นๆ เช่น Harnn & Tharn (ผลิตภัณฑ์สปา) AIIZ (เสื้อผ้าเด็ก) Ocean Glass และ Zebra (เครื่องใช้ในครัวเรือน) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรน์ไชส์ไทยยังมีโอกาสขยายตัวในตลาดอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (ร้านอาหาร ร้านกาแฟ) ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่น ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจสปา และธุรกิจร้านเสริมสวย เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรกว่า 230 ล้านคน) มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง (กว่าร้อยละ 6.0) ทำให้ชนชั้นกลางมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีกฎหมายแฟรนไชส์ที่เข้มแข็ง การเข้าไปทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลกลางภายใต้ระเบียบ The Government Regulation on Franchise No. 42/2007 ซึ่งกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงการค้า โดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีและต่ออายุได้ทุก 5 ปี

ล่าสุดรัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกกฎระเบียบด้านธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ 2 ฉบับที่มีความเข้มงวดมากขึ้น คือ Ministry of Trade Regulation No 53/2012 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องใช้วัตถุดิบในประเทศถึง 80% และ Ministry of Trade Regulation No 68/2012 จำกัดจำนวนสาขาที่จะเปิดได้สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ประเภท Modern Store Businesses (minimarkets; supermarkets; department stores; hypermarkets และ wholesalers)

นอกจากนี้ ทางการอินโดนีเซียยังให้ความสำคัญกับสัญญามากโดยจะดูรายละเอียดอย่างเข้มข้น ทั้งใบจดทะเบียนธุรกิจกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลของเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งลักษณะธุรกิจ ผลประกอบการ รายละเอียดการลงทุน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างชาติต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมประเพณีด้วย เนื่องจากชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีความแตกต่างทางสังคมมาก

อนึ่งปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ คือ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับนักธุรกิจอินโดนีเซียให้เกิดขึ้นก่อนเพื่อปูทางไปสู่การเป็นหุ้นส่วนการลงทุนในอนาคต เนื่องจากการประกอบธุรกิจในอินโดนีเซียจะมีลักษณะที่เน้นพื้นฐานทางด้านความสัมพันธ์มากก่อนการเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในอินโดนีเซีย
 
ประเทศอินโดนีเซีย สคร.จาการ์ตา
สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย  (สพอ.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 
Email : intmk@ditp.go.th Website : www.ditp.go.th
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
5,063
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,097
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,632
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
1,000
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
986
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด