4.4K
19 ธันวาคม 2550
ทัศนะแฟรนไชส์นานาชาติ

 
 
แฟรนไชส์ เป็นช่องทางการดำเนินธุรกิจที่หลายกิจการให้ความสนใจ ทั้งยังเหมาะที่สุดสำหรับกิจการขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่จะขยายกิจการให้เติบโตแตกหน่อออกไปได้ แต่หลายกิจการไปไม่ถึงฝั่งฝัน 
 
จากการประชุมสภาระหว่างประเทศเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก (ISBC) ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2550 มีตัวอย่างอย่างผู้สำเร็จในเส้นทางนี้มาบอกเล่าให้ฟัง
 
ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ต่างมีความเห็นร่วมกันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ได้เปิดโอกาสอย่างมากมายในโลกของธุรกิจ และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองกับ แนวโน้มทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว 
 
หากแต่ว่าการจะประสบความสำเร็จในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ความสามารถในการควบคุมคุณภาพอย่างสม่ำเสมอคือ กุญแจของความสำเร็จ
 
 
 
นาย Jose A. Minana รองประธานและหัวหน้าบริษัท Jollibee Foods Corporation จากประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์แห่งความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ของบริษัท Jollibee Foods Corporation ว่า
 
"จะต้องทำให้สินค้าและบริการของคุณมีความอยู่ตัวเพียงพอ ที่จะให้ผู้อื่นสามารถบริหารงานได้ สินค้าของเราจะต้องมีคุณภาพสม่ำเสมอ"
 
 
 
บริษัท Jollibee เริ่มเปิดบริการในปี 2518 ด้วยร้านจำหน่ายไอศกรีมเพียงสาขาเดียว แต่ในปัจจุบันบริษัทได้ขยายสาขาเป็น 600 แห่งทั่วฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และบรูไน โดยมียอดขายทั้งหมด 600 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
 
 
 
นาย Minana ได้เน้นถึงความจำเป็นในการหาผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะร่วมกัน มุ่งสู่วิสัยทัศน์และคุณค่าเดียวกัน โดยเน้นการสื่อสารและการฝึกอบรมเป็นองค์ประกอบหลักที่จะนำไปสู่ชัยชนะร่วมกัน
 
นาย Matthew Shay ประธานของ International Franchise Association (IFA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงธุรกิจแฟรนไชส์ว่าเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา SMEsทั่วโลก สมาคม IFA ได้ประมาณการว่ามีจำนวนแฟรนไชส์ทั่วโลกอย่างน้อย 20,000 ตราสินค้า โดยมีการจ้างงานมากกว่า 20 ล้านคน และสร้างรายได้ถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
 
 
 
"สำหรับทั้งเจ้าของตราสินค้าและผู้ลงทุนแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า และมีประโยชน์ที่ชัดเจนหลายประการ มีการเขียนแผนธุรกิจที่ดี ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก ทั้งยังมีระบบบริหารด้านเทคโนโลยีที่อยู่ตัวแล้ว นาย Shay ยืนยันว่าทางสมาคม IFA มองธุรกิจแฟรนไชส์ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการพัฒนาการลงทุน แต่ก็มีข้อเสียบางประการ ผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไม่มีความเป็นอิสระมากนักในการบริหาร และใช่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ทุกแห่งจะประสบความสำเร็จ"
 
อย่างไรก็ตาม ประธานของสมาคม IFA ก็ยังเชื่อว่าประโยชน์ของธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีมากกว่าข้อเสีย และธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นลู่ทางที่ดีที่สุดในการฉวยโอกาสทางธุรกิจจากตลาดใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านการแพทย์ หรือบ้านพักสำหรับผู้เกษียณอายุ เป็นต้น
 
ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังขยายตัวด้วยดีในทวีปยุโรป นาย Jean-Paul Dorier แห่ง Directorate for Trade, Handicraft,Services and Liberal Professions ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกและเป็นผู้นำในด้านนี้
 
โดยมีบริษัทในประเทศฝรั่งเศสถึงร้อยละ 99.8 ที่เป็น SMEs ทั้งยังได้กล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมธุรกิจ แฟรนไชส์ว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยใช้กฎเกณฑ์ของระบบตลาดเป็นตัวนำ
 
 
นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ ประธาน และกรรมผู้จัดการบริษัทแบล็คแคนยอน ได้กล่าวถึง Micro-franchising ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุดในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเป็นการลอกแบบกฏเกณฑ์การบริหารธุรกิจ แฟรนไชส์เพียงแต่มุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดระดับรากหญ้า
 
 
 
แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนามาจากแนวคิดเรื่อง Micro-Credit ของศาสตราจารย์ Dr.Yunus ในประเทศบังคลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 2549 ซึ่งได้รับรางวัลจากการให้ความช่วยเหลือคนยากจน ในการก่อตั้งธุรกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งคุณสุเมธ กระจ่างเนตร์ จากบริษัทแบล็ค แคนยอนเช่นกัน ได้กล่าวว่า

เมื่อผสมผสานแนวคิดนี้เข้ากับรูปแบบการบริหารธุรกิจแบบอเมริกันคือ การลอกแบบแนวคิดทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ก็จะเกิดเป็นรูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ในลักษณะผสมผสาน เมื่อนำธุรกิจในรูปแบบใหม่นี้ไปใช้ในพื้นที่ยากจนก็จะสามารถ ช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ โดยการสอนให้คนจนรู้จักพึ่งตนเอง
 
 
 
เขาได้ยกตัวอย่างของการนำแนวคิดทางทฤษฎีนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ คือบริการโทรศัพท์หมู่บ้านของบริษัท Vodaphone ที่มีบริการทางอินเทอร์เน็ตด้วยในทวีปแอฟริกา และประเทศบังคลาเทศ และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ แว่นตาราคาถูกของบริษัท SCOJO Visionในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเม็กซิโก
 
เขายังได้กล่าวเสริมว่า สำหรับประเทศไทยยังมีร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟขนาดเล็ก และร้านไก่ย่างห้าดาวเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าขนาดเล็กก็สามารถดีกว่าได้ในบางครั้ง
 
แบล็ค แคนยอน ก็มีกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคระดับกลาง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของบริษัทในปี2536 โดยมีร้านกาแฟที่ขายอาหารทั้งอาหารไทยและอาหารฝรั่ง ปัจจุบันสามารถขยายสาขาได้ถึง 160 แห่งในประเทศไทย และอีกกว่า 20 แห่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และเมืองดูไบ
 
นายประวิทย์ กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทตั้งอยู่บนการวางตำแหน่งทางการตลาดที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า Micro-franchising ยังเพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นของทวีปเอเชีย แต่เขามีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจในกลุ่มนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในอนาคต
 
 
 
 
 
ที่มา : บิสิเนสไทย 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
3,604
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
1,648
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
881
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
715
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
571
โรบอท สเตชัน คลับ จัดโ..
549
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด