3.7K
7 พฤษภาคม 2551
ศูนย์ IRF ม.ศรีปทุม เปิดหลักสูตรแฟรนไชส์ มืออาชีพครั้งแรกของเมืองไทย

 
 
ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) เปิดหลักสูตรแฟรนไชส์มืออาชีพครั้งแรกของเมืองไทย เตรียมยกระดับแฟรนไชส์ไทยสู่สากล พร้อมเปิดศูนย์แฟรนไชส์ ฮอตไลน์ 24 ชั่วโมง เป็นศูนย์กลางประสานงาน นักธุรกิจแฟรนไชส์กับภาครัฐ 
 
ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) เร่งพัฒนาระบบแฟรนไชส์ไทย เปิดหลักสูตรแฟรนไชส์มืออาชีพครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งมีความสมบรูณ์แบบของหลักสูตรมากที่สุดในเอเชีย เพื่อยกระดับแฟรนไชส์ไทยสู่สากล พร้อมเปิดศูนย์แฟรนไชส์ ฮอตไลน์ 24 ชั่วโมง เป็นศูนย์กลางประสานงานนักธุรกิจแฟรนไชน์กับภาครัฐ
 
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพนักธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยให้เทียบเท่ากับสากล ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชน์สากล จึงเปิดหลักสูตรแฟรนไชส์มืออาชีพครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งมีความสมบรูณ์แบบของหลักสูตรมากที่สุดในเอเชีย โดยหลักสูตรดังกล่าวทางศูนย์ฯ ได้ร่วมกับสถาบัน International Institute for Franchise Education (IIFE),Nova Southeastern University ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
ในการดำเนินการโครงการในครั้งนี้ ด้วยหลักสูตรสากลที่ได้รับการรับรองจาก สมาคมแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกา International Franchise Association IFA ซึ่งป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก 
 
 
 
CFE เปรียบเสมือนเครื่องหมายที่แสดงถึงความสำเร็จ และความเป็นมืออาชีพทางด้าน
แฟรนไชส์อย่างแท้จริง ทั้งนี้หลักสูตร Certified Franchise Executive (CFE) ถูกออกแบบโดยผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ทางด้านแฟรนไชส์มานาน ปัจจุบันผู้ที่ได้ CFE ยังถูกสร้างให้อยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านแฟรนไชส์ในระดับสากลอีกด้วย ซึ่งเหมาะกับเจ้าของ
 
ธุรกิจ ผู้นำธุรกิจในแวดวงแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับอาวุโส รวมถึงที่ปรึกษา และ Supplier ที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ ที่ต้องการพัฒนาตนเองและพัฒนาธุรกิจให้มีความสามารถทางการแข่งขันที่สูง ขึ้น นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้มีศักยภาพ ในการแข่งขันในตลาดแฟรนไชส์ต่างประเทศต่อไป
 
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชน์สากล ยังได้เปิดศูนย์แฟรนไชส์ ฮอตไลน์ 24 ชั่วโมง เป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างนักธุรกิจแฟรนไชส์กับภาครัฐ เพื่อให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ แก่สมาชิกแฟรนไชส์ที่ประสบปัญหา โดยจะช่วยประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน อาทิ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า , กรมส่งเสริมการส่งออก ,กรมทรัพย์สินทางปัญญา และ สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย เป็นต้น สมาชิกแฟรนไชส์ที่ประสบปัญหาสามารถโทรศัพท์แจ้งปัญหาหรือขอคำแนะนำได้ที่ ศูนย์แฟรนไชส์ ฮอตไลน์ หมายเลข 089-662-7711 ตลอด 24 ชั่วโมง 
 
 
 
ตัวเลขร้องทุกข์ระบบเครือข่ายพุ่ง "IRF" เปิดสายด่วน Hot Line Franchise 
 
ตัวเลขผู้ร้องทุกข์แฟรนไชส์พุ่ง และเข้าข่ายฉ่อโกงอีกเพียบ ศูนย์ IRF ม.ศรีปทุม รุดเปิดสายด่วนร้องทุกข์ Hot Line Franchise แก้ปัญหาเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นพร้อมป้องกันปัญหาสำหรับรายใหม่ที่เข้าสู่ธุรกิจ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเพิ่มบทบาทเก็บงานวิจัยเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา 
 
พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์ IRF ได้จัดตั้ง Hot Line Franchise หรือสายด่วนร้องทุกข์แฟรนไชส์ โดยจะเปิดให้บริการในเวลาราชการตามหมายเลข 089 – 662-7711 ขึ้น 
 
เพื่อเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องทุกข์ที่เกิดจากการเข้ามาลงทุนในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งการร้องทุกข์ดังกล่าวจะเป็นการร้องทุกข์ที่เกิดขึ้นของ 2 ฝ่ายคือทั้งแฟรนไชซีและแฟรนไชซอร์ 
ปัจจุบันยอมรับว่าคดีร้องเรียนที่เกิดจากความเสียหายในธุรกิจ ระบบแฟรนไชส์มีเพิ่มมากขึ้นดังที่เป็นข่าวดังปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือการร้องทุกข์ผ่านสถานีตำรวจทั่วไปที่ไม่เป็นข่าวก็มาก แต่ไม่มีศูนย์กลางที่จะรับเรื่องหรือรวบรวมข้อมูล 
 
 
เพื่อหาทางแก้ไขหรือป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ทำให้ศูนย์ IRF ที่เป็นสถาบันการศึกษาได้เล็งถึงบทบาทในการเป็นตัวกลางประสานเรื่องที่เกิดขึ้น 
ขณะเดียวกันยังเป็นศูนย์ประสานหน่วยงาน ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทางศูนย์จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลของผู้ที่ได้รับผลกระทบร้องเรียน เข้ามาเพื่อจัดเก็บข้อมูลเป็นหลักฐานในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 
 
เพราะกฎหมายไม่สามารถทำอะไรได้มาก ศูนย์แห่งนี้ก็จะเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยอีกทางหนึ่ง "สายด่วนแฟรนไชส์จะเป็นสื่อกลางเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบ เข้ามาร้องทุกข์และมีโอกาสในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น มีศูนย์กลางในการร้องเรียนนอกจากนี้แฟรนไชซีได้รู้ข้อมูลว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้นในธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งสามารถโทรสอบถามข้อมูลได้" 
 
 
พีระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามี 4 ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้เกิดการร้องเรียนกันเกิดขึ้น อันดับแรกคือ 1. ระบบแฟรนไชส์ล้มเหลว ทำให้แฟรนไชซีถูกลอยแพซึ่งพบว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากถึง 30% ตามมาด้วย 2. การทำธุรกิจผิดปกติหรือผู้ประกอบการไม่มีความรู้อย่าง MLM บางรายซึ่งอาจเกิดจากความไม่ตั้งใจโกง 
และ 3. ตั้งใจทำธุรกิจบังหน้าเพื่อโกง ส่วนสุดท้าย 4. เกิดจากการขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ระหว่างแฟรนไชซีและแฟรนไชซอร์ เช่น การบังคับซื้อ ขายสินค้าโดยที่แฟรนไชซีเกิดความไม่พอใจ 
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลต่อความเสียหายในระบบแฟรนไชส์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ศูนย์ IRF ได้ทำการวิจัยกับแฟรนไชซอร์ปรากฏว่ามีข้อมูลที่ส่งเข้ามาดีมากไม่เกิดปัญหา แต่กลับมีแฟรนไชซีร้องทุกข์เกิดขึ้น เมื่อจำนวนมากขึ้นก็ไม่มีการรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งจำนวนรายที่ได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่มีข้อมูลที่แท้จริง
 
พีระพงษ์ กล่าวต่อไปถึงบทบาทของศูนย์ในอนาคตว่า สายด่วนแฟรนไชส์จะทำการศึกษาข้อมูล ทำงานร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลและวิธีการแก้ไข หากพบว่าความรู้ของแฟรนไชซอร์หรือแฟรนไชซี ยังไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์มากพออาจต้องมีการเทรนนิ่งความรู้กันใหม่ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการทำธุรกิจที่จะตามมา ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน
 
 
 
ซึ่งได้ฉายภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบแฟรนไชส์ เช่น The Mask ธุรกิจขายอุปกรณ์ไฮเทคโนโลยี มีผู้ร้องเรียนมากกว่า 100 รายสูญเสียเงินทุนลงรายละ 8 แสนบาท ซึ่งรวมกันเป็นมูลค่ามาก มีการฉ่อโกงเงินลงทุน เรื่องอยู่ระหว่างการฟ้องร้องตามสัญญา หรือกรณีล่าสุดก๋วยเตี๋ยวบางกอก ที่ปรากฏเป็นข่าวหน้าในหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก 
ทั้งนี้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้สายด่วนร้องทุกข์จะทำการจัดเก็บข้อมูลรับฟังปัญหา ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อหากมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เปรียบเป็นด่านแรกในการเข้ามาปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันสังคมมีความต้องการมากขึ้นเพราะปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่เข้าข่ายฉ่อโกง 
 
สายด่วนร้องทุกข์จะเป็นส่วนหนึ่งให้กับสังคมในการร้องเรียน เรื่องที่จะเกิดขึ้นหรือเมื่อเกิดปัญหาแล้วสามารถมีทางแก้ไขได้ 
 
"ที่ผ่านมาผู้ได้รับความเดือดร้อนไม่มีการจัดเก็บข้อมูล ก็เหมือนเนื้อร้ายที่ไม่มีใครเข้าไปดูแล 
 
ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะปลุกปั้นธุรกิจให้เติบโต จึงต้องมีหน่วยรับเรื่องร้องทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยจะขยายการรับรู้ไปยังประชาชนหรือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเข้ามาทำธุรกิจ ในระบบแฟรนไชส์แจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)อีกด้วย" พรีพงษ์กล่าว 
 
 
ที่มา : ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และผู้จัดการรายสัปดาห์ 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,834
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,705
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,184
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
638
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
617
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด